เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  • รวมเรื่องอินทรีย์ ๕ (Page4/5)
1664
  P1661 P1662 P1663 P1664 P1665
รวมเรื่องอินทรีย์ ๕
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
  รวมเรื่องอินทรีย์ ๕
38 อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกพุทธกาล (อุปาทสูตรที่ ๑)
39 อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกวินัยพระสุคต (อุปาทสูตรที่ ๒)
40 เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละสังโยชน์ (สัญโญชนาสูตร)
41 เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย (อนุสยสูตร)
42 เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ปริญญาสูตร)
43 เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อความสิ้นอาสวะ (อาสวักขยสูตร)
44 เจริญอินทรีย์ ๕ หวังผลได้ ๒ อย่าง (ผลสูตรที่ ๑)
45 เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ (ผลสูตรที่ ๒)
46 ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม (รุกขสูตรที่ ๑)
47 ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๒ (รุกขสูตรที่ ๒)
48 ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓ (รุกขสูตรที่ ๓)
49 ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม (รุกขสูตรที่ ๔)
50 อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕ (คังคาทิเปยยาลที่ ๘)
51 พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร (เรื่องอินทรีย์ ๕)
   
 


38
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔
อุปาทสูตรที่ ๑
อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกพุทธกาล

            [๑๐๖๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคล เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากความอุบัติแห่ง พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหาเกิดไม่ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์

           ดูกรภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากความอุบัติแห่งพระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า หาเกิดไม่



39

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔
อุปาทสูตรที่ ๒
อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกวินัยพระสุคต

            [๑๐๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคล เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคต หาเกิดไม่ อินทรีย์ ๕เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคตหาเกิดไม่.



40
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖
โพธิปักขิยวรรคที่ ๗
สัญโญชนาสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละสังโยชน์

            [๑๐๖๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์.



41
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖

อนุสยสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย

            [๑๐๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย.



42
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖
ปริญญาสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

            [๑๐๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้วย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ.



43
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗
อาสวักขยสูตร
เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อความสิ้นอาสวะ

            [๑๐๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ.

            [๑๐๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ อินทรีย์ ๕เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้น อาสวะ.



44
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗
ผลสูตรที่ ๑
เจริญอินทรีย์ ๕ หวังผลได้ ๒ อย่าง

            [๑๐๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผล ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งคือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่น เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี



45
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๗
ผลสูตรที่ ๒
เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ

            [๑๐๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ

ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชม เวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็น พระอนาคามีผู้ อันตราปรินิพพายี ๑
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.



46
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๘
รุกขสูตรที่ ๑
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

            [๑๐๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้า โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

            [๑๐๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

            [๑๐๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นหว้า โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไป เพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.



47
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๘
รุกขสูตรที่ ๒
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๒

            [๑๐๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดา ชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน.

            [๑๐๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

            [๑๐๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน.



48
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๙
รุกขสูตรที่ ๓
ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓

            [๑๐๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลี โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

            [๑๐๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

            [๑๐๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นจิตตปาฏลี โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านี้ แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.



49
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๙
รุกขสูตรที่ ๔

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

            [๑๐๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี (ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่งปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ฉันนั้นเหมือนกัน.

            [๑๐๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

            [๑๐๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นโกฏสิมพลี โลกกล่าวว่า เป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น



50
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๑
คังคาทิเปยยาลที่ ๘
อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕

            [๑๐๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศ ปราจีนบ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

            [๑๐๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้ แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

            [๑๐๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้ สังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

            [๑๐๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้นพึงขยายความออกไปเหมือนมรรคสังยุต)

            [๑๐๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งลงสู่ทิศ ปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

            [๑๐๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่ง อินทรีย์ ๕อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่ นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

            [๑๐๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน? คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

            [๑๐๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุดมีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล (อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต)



51
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘๒
เรื่องอินทรีย์ ๕
พระมหาโกฏฐิกะ ถามพระสารีบุตร

            [๕๐๐] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไร รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านั้น?

     สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัย อันเป็น โคจร ของกันและกันเมื่ออินทรีย์ ๕ เหล่านี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็น โคจร ของกันและกันมีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัยอันเป็นโคจร แห่งอินทรีย์เหล่านั้น.

            [๕๐๑] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นี้ อาศัยอะไรตั้งอยู่?

     สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้นั้น คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่.

     ก. อายุ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
     สา. อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่.

     ก. ไออุ่น อาศัยอะไรตั้งอยู่?
     สา. ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่.

     ก. ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของพระสารีบุตร ผู้มีอายุในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุอาศัยไออุ่น ตั้งอยู่และว่าไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่ แต่ผมจะพึงเห็นความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร?

     สา. ถ้าเช่นนั้น ผมจักทำอุปมาแก่คุณ เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบ ความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่าง อาศัยเปลวปรากฎอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฎอยู่ฉันใด อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน

     ก. อายุสังขาร (อายุ ชีวิตินทรีย์) กับเวทนียธรรม (เวทนา) เป็นอันเสมอกัน หรือว่า อายุ สังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง?

สา. อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่ใช่อันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขารกับเวทนียธรรม เป็นอันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญา เวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึง ปรากฎ แต่เพราะอายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง ฉะนั้น การออกจากสมาบัติ ของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงปรากฎอยู่.

            [๕๐๒] ก. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา?

     สา. ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา.

     ก. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกัน อย่างไร?

     สา. สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป มีอายุ หมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ มีกายสังขารวจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่น ยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส สัตว์ผู้ตายทำกาละไปกับภิกษุผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกัน ฉะนี้

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์