เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  • รวมเรื่องอินทรีย์ ๕ (Page1/5)
1661
  P1661 P1662 P1663 P1664 P1665
รวมเรื่องอินทรีย์ ๕
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
  รวมเรื่องอินทรีย์ ๕
1 อินทรีย์ ๕ (สุทธิกสูตร)
2 รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน (โสตาสูตรที่ ๑)
3 รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน (โสตาสูตรที่ ๒)
4 รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์ (อรหันตสูตรที่ ๑)
5 รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์ (อรหันตสูตรที่ ๒)
6 ผู้ไม่รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ ไม่นับว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์ (สมณพราหมณสูตรที่ ๑)
7 ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์ (สมณพราหมณสูตรที่ ๒)
8 ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ (ทัฏฐัพพสูตร)
9 ความหมายของอินทรีย์ ๕ (วิภังคสูตรที่ ๑)
10 ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕ (วิภังคสูตรที่ ๒)
11 ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ (สุทธกสูตร)
12 รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน (โสตาปันนสูตร)
13 รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์ (อรหันตสูตร)
14 รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์ (สมณพราหมณสูตรที่ ๑)
15 รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์ (สมณพราหมณสูตรที่ ๒)
16 ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕ (วิภังคสูตรที่ ๑)
17 ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข (วิภังคสูตรที่ ๒)
18 ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓ (วิภังคสูตรที่ ๓)
19 อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา (อรหันตสูตร)
   
 


1

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๑
อินทริยสังยุต / สุทธิกวรรคที่ ๑

สุทธิกสูตร
อินทรีย์ ๕

            [๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ

๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



2

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๑
โสตาสูตรที่ ๑
รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน

            [๘๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง(ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามเป็นจริง

เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.



3

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๑
โสตาสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน

            [๘๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? ฯลฯ

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามเป็นจริง

เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่าเป็นพระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.



4

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๒
อรหันตสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

            [๘๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น

เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้วสิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.



5

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๒
อรหันตสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

            [๘๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น

เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า พระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จ แล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.



6

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๒
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
ผู้ไม่รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ ไม่นับว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์

            [๘๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ก็สมณะหรือ พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ ในพวกพราหมณ์ เพราะท่าน เหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความ เป็นสมณะ หรือของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๘๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



7
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๓
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์

            [๘๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด ซึ่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ

ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่า เป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่าน เหล่านั้น ยังไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๘๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะห รือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทา ให้ถึงความดับ แห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะ ในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์เพราะท่านเหล่านั้นกระทำ ให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



8

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๔
ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ

            [๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            [๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.

            [๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.

            [๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมนี้.

            [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ (ฌานทั้ง๔)พึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมนี้.

            [๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรมนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



9

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๔
วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕

            [๘๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            [๘๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์

            [๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคงไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์

            [๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่ กระทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์

            [๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย นี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

            [๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย นี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญ าเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล



10
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๕
วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕

            [๘๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

            [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์

            [๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่ง อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่บังเกิดขึ้นเพื่อละอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ที่ยังไม่บังเกิดขึ้นเพื่อความถึงพร้อม เพื่อความ ไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญเพื่อความบริบูรณ์แห่ง กุศลธรรม ที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

            [๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจ ที่กระทำและคำพูดแม้นานได้ อริยสาวกนั้น ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์

            [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย นี้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโทมนัสโสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

            [๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัย นี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบ สุทธิกวรรคที่ ๑



11
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘
สุขินทริยวรรคที่ ๔
สุทธกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

            [๙๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สุขินทรีย์ ๑
ทุกขินทรีย์ ๑
โสมนัสสินทรีย์ ๑
โทมนัสสินทรีย์ ๑
อุเปกขินทรีย์ ๑


อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



12
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘
โสตาปันนสูตร
รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน


            [๙๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษและอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง อริยสาวก นี้ เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็น เบื้องหน้า.



13
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๘
อรหันตสูตร
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

            [๙๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เป็นผู้ หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ.



14
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๙
สมณพราหมณสูตรที่ ๑
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์

            [๙๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้ แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา อันยิ่ง เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๙๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัด ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่ สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์ ของความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



15
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๙
สมณพราหมณสูตรที่ ๒
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์

            [๙๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด ซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึง ความดับแห่งสุขินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์ ... โสมนัสสินทรีย์ ... โทมนัสสินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่ง อุเปกขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

            [๙๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัด ซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึง ความดับแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์ ... โทมนัสสินทรีย์ ... อุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และปฏิปทา ที่จะให้ถึงความดับ แห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็น สมณะ ในหมู่สมณะ และ ว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของ ความเป็นสมณะ และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.



16
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๓๐
วิภังคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕

            [๙๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

            [๙๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

            [๙๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

            [๙๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

            [๙๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ อันใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์

             ดูกรภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



17
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๑
วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข

            [๙๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน?
ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์.

            [๙๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน?
ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์.

            [๙๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน?
ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่าโสมนัสสินทรีย์.

            [๙๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน?
ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่าโทมนัสสินทรีย์.

            [๙๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน?
เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

            [๙๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัส สินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา.

            [๙๓๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา.

            [๙๓๙] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.



18
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๒

วิภังคสูตรที่ ๓
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓

            [๙๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.

            [๙๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน?
ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์.

            [๙๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน?
ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์.

            [๙๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน?
ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่าโสมนัสสินทรีย์.

            [๙๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน?
ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่าโทมนัสสินทรีย์.

            [๙๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน?
เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

            [๙๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์ และ โสมนัสสินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา.

            [๙๔๗] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และ โทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.

            [๙๔๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุข เวทนา อินทรีย์มี ๕ ประการนี้ เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓ เป็น ๓ แล้ว ขยายออกเป็น ๕ ก็ได้ โดยปริยาย ด้วยประการดังนี้แล.

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์