เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ"มหาโควินทพราหมณ์" ตอนที่ 1 1641
 
  P1638 P1639 P1640 P1641  
มหาโควินทพราหมณ์  
  (ย่อ)
มหาโควินทสูตร ตอนที่ 4
พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ มหาโควินทพราหมณ์ ทรงเล่าให้คนธรรพเทพบุตร นามว่า ปัญจสิขะ (คนธรรพ์) ได้ฟัง

(1) กษัตริย์ทั้ง ๖ ต่อรองเรื่องเวลาให้ขออยู่ไปก่อน
ก.ขอท่านมหาโควินท์จงรออยู่สัก ๗ ปีก่อน พอล่วง ๗ ปี ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักบวชเป็นบรรพชิต
   ม.ขอเดชะ ๗ ปี ช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ อยู่ได้ถึง ๗ ปี
ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่สัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี... ๒ ปี ... ๑ ปี
   ม. ขอเดชะ ๑ ปีช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์อยู่ได้ถึง ๑ ปี
ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่ ๗ เดือนก่อน พอล่วง ๗ เดือนแล้ว
   ม. ขอเดชะ ๗ เดือนช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ได้ถึง ๗ เดือน
ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน จงรอสัก ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน ครึ่งเดือน
   ม. ขอเดชะ ครึ่งเดือนช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ ได้ถึงครึ่งเดือน
ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่สัก ๗ วัน
   ม. ขอเดชะ ๗ วัน ไม่นาน ข้าพระพุทธเจ้าจักรอพระองค์ทั้งหลาย ๗ วัน
(สุดท้ายโควินท์พราหมณ์รอกษัตริย์ทั้ง ๖ เพื่อบวชพร้อมกัน)

(2) เข้าหาพราหมณ์ ๗ คน และข้าราชบริพาร ๗๐๐
ท่านทั้งหลายจงแสวงหาอาจารย์อื่น ซึ่งจักสอนมนต์ แก่ท่านทั้งหลายเถิด เราปรารถนาจะบวช
   พ.บรรพชิตมีศักดิ์น้อยมีลาภน้อย อย่าบวชเลย พราหมณ์มีศักดิ์มาก มีลาภมาก..
   
ที่สุดพราหมณ์ทั้ง ๗ ขอบวชตาม

(3) เข้าหาภรรยา ๔๐ คน
เธอคนใดปรารถนาจะไปยังสกุลญาติของตน ก็จงไป หรือปรารถนา จะแสวงหาสามีอื่น ก็จงแสวงหา
...ที่สุด ภรรยาทั้งหมดขอบวชตามด้วย

(4) ครบ ๗ วัน มหาโควินทพราหมณ์ ปลงผมและหนวด บวชเป็นบรรพชิต
จากนั้นกษัตริย์ทั้ง ๗ พราหม์มหาศาล ๗ คน ข้าราชบริพาร ๗๐๐ ภรรยา ๔๐ เจ้าหลายพัน พราหมณ์หลายพัน คฤหบดีหลายพัน นางสนมหลายพัน บวชตาม

(5) โควินท์พราหมณเจริญพรหมวิหาร ๔ เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปทุกทิศ ทั่วโลก
-มีใจสหรคตด้วยเมตตา(มีใจประกอบพร้อม) ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน
-มีใจสหรคตด้วย เมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก
-มีใจสหรคตด้วย กรุณา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก
-มีใจสหรคตด้วย มุทิตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก
-มีใจสหรคตด้วย อุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่ และแสดงหนทางแห่งความเป็นสหายกับพรหม ในพรหมโลก แก่สาวกทั้งหลาย

(6) โควินท์พราหมณ์ เข้าถึงพรหมโลก
- สาวกที่รู้คำสอนทั่วถึง เมื่อกายแตกเข้าถึงพรหมโลก(พรหมกายิกา อาภัสระ สุภกิญหะ เวหับพละ)
- พวกที่รู้ไม่ทั่วถึงเข้าถึงเทวดากามภพ เป็นสหายเทวดาชั้นปรนิม นิมมาน ดุสิต ยามา ดาวดึงส์ จาตุ
- ต่ำกว่านั้นเข้าถึงคนธรรพ์

(7) พรหมจรรย์โควินท์พราหมณ์ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงได้ไปเกิดในพรหมโลก
- ดูกรปัญจสิขะ(คนธรรพ์) เรายังระลึกได้อยู่ว่าพรหมจรรย์นั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ ย่อมเป็นไปเพียงเพื่อบังเกิดในพรหมโลก

(8) พรหมจรรย์ของตถคต เป็นไปเพื่อนิพพาน คือมรรคมีองค์แปด
- ดูกรปัญจสิขะ ส่วนพรหมจรรย์ของเรานี้(ตถาคต)ย่อมเป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ นิโรธะ อุปสมะ(สงบ) อภิญญาสัมโพธะ(ความรู้ยิ่ง) นิพพานะ
- พรหมจรรย์เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เป็นไฉน คืออัฏฐังคิกมรรค (มรรค ๘) นี้เอง

(9) สาวกตถาคตย่อมรู้แจ้งตามกำลังอินทรีย์
-สาวกตถาคตรู้คำสอนทั่วถึง ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ (อรหันต์)
-บางพวกเป็น โอปปาติกสัตว์ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๕ ปรินิพพาน ในภพนั้น (อนาคามี)
-บางพวกเป็น สกทาคามี สิ้นสังโยชน์ ๓ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียว
-บางพวกเป็น พระโสดาบัน สิ้นสังโยชน์ ๓ มีความไม่ตกต่ำ เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันต หน้าที่ ๑๙๙-๒๒๖


พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ"มหาโควินทพราหมณ์"
(มหาโควินทสูตร ๑๙)

(1)
(กษัตริย์ทั้ง ๖ ต่อรองเรื่องเวลาให้ขออยู่ไปก่อนจาก 7 ปี จนเหลือ 7 วัน)

           [๒๓๔] ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านมหาโควินท์จงรออยู่สัก ๗ ปีก่อน พอล่วง ๗ ปี แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่งคติอันใด ของท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย

       ม. ขอเดชะ ๗ ปี ช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ อยู่ได้ถึง ๗ ปี ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพ อันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วยปัญญา พึงทำ กุศล พึงประพฤติ พรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มีด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับกลิ่นร้ายมา ต่อพรหม ผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคล ผู้ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต
       ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่สัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี... ๒ ปี ... ๑ ปี พอล่วง ๑ ปีแล้ว แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใด ของท่าน คตินั้น จักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย

       ม. ขอเดชะ ๑ ปีช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์อยู่ได้ถึง ๑ ปี ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพ อันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วยปัญญา พึงทำ กุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มี ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับ กลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยี ได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้า จึงจักออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
       ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่ ๗ เดือนก่อน พอล่วง ๗ เดือนแล้ว แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย

       ม. ขอเดชะ ๗ เดือนช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ได้ถึง ๗เดือน ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพอันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วยปัญญา พึงทำ กุศล พึงประพฤติ พรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มีด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับกลิ่นร้าย มาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้นอันบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต        ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์ จงรออยู่สัก ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พอล่วงครึ่งเดือน แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักออกเรือนบวช เป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของ ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย

       ม. ขอเดชะ ครึ่งเดือนช้านัก ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจรอพระองค์ ได้ถึงครึ่ง เดือน ใครจะรู้ชีวิต สัมปรายภพอันบุคคลต้องไป อันบัณฑิตควรกำหนดด้วยปัญญา พึงทำ กุศล พึงประพฤติ พรหมจรรย์ สัตว์เกิดมาแล้วที่จะไม่ตายไม่มี ด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับกลิ่นร้ายมา ต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคล ผู้อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต        ก. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านโควินท์จงรออยู่สัก ๗ วัน พอให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย สั่งสอนบุตร และพี่น้องชาย ของตนๆ ในราชกิจเสียก่อน พอล่วง ๗ วัน แม้ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใด ของท่านคตินั้น จักเป็น ของข้าพเจ้า ทั้งหลายด้วย

       ม. ขอเดชะ ๗ วัน ไม่นาน ข้าพระพุทธเจ้าจักรอพระองค์ทั้งหลาย ๗ วัน
(สุดท้ายโควินท์พราหมณ์รอกษัตริย์ทั้ง ๖ เพื่อบวชพร้อมกัน)
----------------------------------------------------------------------------------------------

(2)
(เข้าหาพราหมณ์ ๗ คน และข้าราชบริพาร ๗๐๐ แจ้งการออกบวช)

       ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และเหล่า ข้าราชบริพาร ๗๐๐ ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า บัดนี้ท่านทั้งหลาย จงแสวงหา อาจารย์อื่น ซึ่งจักสอนมนต์ แก่ท่านทั้งหลายเถิด เราปรารถนาจะออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าเราได้สดับ กลิ่นร้าย มาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้ อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย เราจึงจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต

       พราหมณ์และเหล่าข้าราชบริพารเหล่านั้น กล่าวว่า ท่านโควินท์อย่า ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตเลย บรรพชิตมีศักดิ์น้อย มีลาภน้อย ความเป็น พราหมณ์ มีศักดิ์มาก มีลาภมาก

       ม. ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนี้ว่า บรรพชา มีศักดิ์น้อย มีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์มาก มีลาภมาก

       ดูกรท่านทั้งหลาย ใครอื่นจะมีศักดิ์มาก มีลาภมากกว่าเรา บัดนี้เราเป็นเหมือน พระราชาของพระราชาสามัญทั้งหลาย เป็นดังพรหม ของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นดุจ เทวดา ของคฤหบดีทั้งหลาย เราจักละสิ่งทั้งปวงนั้น ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่าเรา ได้สดับกลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้ อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย เราจึงจักออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต

      พ. ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จัก ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้า ทั้งหลายด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------------

(3)
(เข้าหาภรรยา ๔๐ คน ภรรยาทั้งหมดขอบวชตามด้วย)

       ครั้งนั้น มหาโควินท์พราหมณ์ เข้าไปหาภรรยา ๔๐ คน ผู้เสมอกัน ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า เธอคนใด ปรารถนาจะไปยังสกุลญาติของตน ก็จงไป หรือปรารถนา จะแสวงหาสามีอื่น ก็จงแสวงหา ฉันปรารถนาจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยว่า ฉันได้สดับกลิ่นร้าย มาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ฉันจักออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต

       ภ. ท่านนั่นแล เป็นญาติของดิฉันทั้งหลาย ผู้ต้องการญาติ เป็นสามีของดิฉัน ทั้งหลาย ผู้ต้องการสามี ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ดิฉัน ทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่านคตินั้นจักเป็น ของ ดิฉันทั้งหลายด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------------

(4)
(ครบ ๗ วัน มหาโควินทพราหมณ์ ปลงผมและหนวด บวชเป็นบรรพชิต)
จากนั้นกษัตริย์ทั้ง ๗ พราหม์มหาศาล ๗ คน ข้าราชบริพาร ๗๐๐ ภรรยา ๔๐ เจ้าหลายพัน พราหมณ์หลายพัน คฤหบดีหลายพัน นางสนมหลายพัน บวชตาม

       ครั้งนั้น พอล่วง ๗ วันนั้นไป มหาโควินทพราหมณ์ ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต และเมื่อมหาโควินทพราหมณ์ บวชแล้ว พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษก ๗ พระองค์ พราหมณ์มหาศาล ๗ คนเหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ คน ภรรยา ๔๐ คน เจ้าหลายพัน พราหมณ์หลายพัน คฤหบดีหลายพัน และนางสนมหลายพัน ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตตาม มหาโควินทพราหมณ์

      ข่าวว่า มหาโควินทพราหมณ์ แวดล้อมด้วยบริษัทนั้นเที่ยวจาริกไปในบ้าน นิคม และราชธานี ทั้งหลาย สมัยนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปยังบ้านหรือนิคมใด ในบ้านและนิคมนั้น ท่านเป็นดังพระราชา ของพระราชาทั้งหลายเป็นดังพรหม ของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นดังเทวดา ของคฤหบดีทั้งหลาย

       สมัยนั้น มนุษย์เหล่าใดพลาดพลั้งหรือล้ม มนุษย์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ขอนอบน้อม แด่ท่านมหาโควินทพราหมณ์ ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์ มหาโควินทพราหมณ์

(5)
(เจริญพรหมวิหาร ๔ เมตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปทุกทิศ ทั่วโลก)

      มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน

      มีใจสหรคตด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่

      มีใจสหรคตด้วยกรุณา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่

      มีใจสหรคตด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวงอยู่

      มีใจสหรคตด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปทั่วโลกโดยประการทั้งปวงอยู่ และแสดงหนทางแห่งความ เป็นสหายกับพรหม ในพรหมโลก แก่สาวกทั้งหลาย
----------------------------------------------------------------------------------------------

(6)

(สาวกของโควินท์พราหมณ์ ที่รู้คำสอนทั่วถึง เมื่อกายแตกเข้าถึงพรหมโลก พวกที่รู้ไม่ทั่วถึงเข้าถึงเทวดาชั้นกามภพ ต่ำกว่านั้นเข้าถึงคนธรรพ์)

       สมัยนั้น บรรดาสาวกของมหาโควินทพราหมณ์ ซึ่งรู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะ กายแตก เข้าถึงสุคติ พรหมโลก

       ผู้ที่ไม่รู้คำสั่งสอนทั่ว ทั้งหมด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา ชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดา ชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา ชั้นยามา
บางพวกเข้าถึง ความเป็นสหายของ เทวดา ชั้นดาวดึงส์
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดา ชั้นจาตุมหาราชิก

      ผู้ที่บำเพ็ญกายต่ำกว่าเขาทั้งหมด ก็ยังกายคนธรรพ์ ให้บริบูรณ์ได้ ด้วยประการฉะนี้แล บรรพชา ของกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เปล่าไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร

       ป. พระผู้มีพระภาคยังทรงระลึกถึงข้อนั้นได้อยู่หรือ
----------------------------------------------------------------------------------------------

(7)
(พรหมจรรย์โควินท์พราหมณ์ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานจึงได้ไปเกิดในพรหมโลก)

       ภ. ดูกรปัญจสิขะ(คนธรรพ์) เรายังระลึกได้อยู่ สมัยนั้น เราเป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดง พรหมจรรย์นั้นว่า เป็นหนทางแห่งความเป็น สหายของพรหมในพรหมโลก แก่สาวกทั้งหลาย ปัญจสิขะ แต่ว่าพรหมจรรย์นั้น ไม่เป็นไปเพื่อ นิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ ย่อมเป็นไปเพียงเพื่อบังเกิดในพรหมโลก
----------------------------------------------------------------------------------------------

(8)
(พรหมจรรย์ของตถคต เป็นไปเพื่อนิพพาน คือมรรคมีองค์แปด)

       ดูกรปัญจสิขะ ส่วนพรหมจรรย์ของเรานี้(สมัยนี้) ย่อมเป็นไปเพื่อนิพพิทาโดย ส่วนเดียว เพื่อวิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญาสัมโพธะ นิพพานะ พรหมจรรย์เป็นไป เพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะนิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ นั้นเป็นไฉน คืออัฏฐังคิกมรรค เป็นอริยะนี้เอง คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

      ดูกรปัญจสิขะพรหมจรรย์ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อนิพพิทา โดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ นิโรธะอุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ นิพพานะ
----------------------------------------------------------------------------------------------

(9)
(ก็สาวกของตถาคตรู้คำสอนทั่วถึงทั้งหมดย่อมสิ้นอาสวะ ผู้ไม่รู้คำสอนทั้งหมด บางพวกเป็นอนาคามี เป็นสกทาคามี เป็นโสดาบัน)

       ดูกรปัญจสิขะ ก็บรรดาสาวกของเรา ที่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด ย่อมทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

บรรดาสาวก ผู้ไม่รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด
   บางพวกเป็น โอปปาติกสัตว์ เพราะสิ้น โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่กลับมา จากโลกนั้นเป็นธรรมดาก็มี (อนาคามี)
  บางพวกเป็นพระสกทาคามี เพราะสิ้น สังโยชน์ ๓ อย่าง เพราะราคะ โทสะและโมหะ เบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทำ ที่สุดทุกข์ได้ก็มี
  บางพวกเป็น พระโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า ก็มี

       ดูกรปัญจสิขะ ด้วยประการฉะนี้แล บรรพชาของกุลบุตรเหล่านี้ทั้งหมดเทียว ไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร

       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ปัญจสิขะคันธรรพบุตร ยินดี ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ฉะนี้แล

จบมหาโควินทสูตร ที่ ๖

ย้อนกลับไป ตอนที่1 > P1638

 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์