เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ"มหาโควินทพราหมณ์" ตอนที่ 3 1640
 
  P1638 P1639 P1640 P1641  
มหาโควินทพราหมณ์  
  (ย่อ)
มหาโควินทสูตร ตอนที่ 3
พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ มหาโควินทพราหมณ์ ทรงเล่าให้คนธรรพเทพบุตร นามว่า ปัญจสิขะ (คนธรรพ์) ได้ฟัง

(1) มหาโควินทพราหมณ์ประสงค์จะหลีกเร้นตลอด ๔ เดือน
มหาโควินทพราหมณ์ สอนพระราชาผู้กษัตริย์ ๗ พระองค์ ด้วยราชกิจ แลบอกมนต์กะพราหมณ์ และเหล่าข้าราชบริพาร ต่อมาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณู เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ พราหมณ์มหาศาล ๗ คน เหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ และภรรยา ๔๐ คน เพื่อแจ้งความประสงค์ว่า จะหลีกเร้น ๔ เดือน ตามคำกล่าวของพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้เป็นอาจารย์ว่า ผู้ใดหลีกเร้น เพ่งกรุณาฌาน ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนากับพรหมได้

(2) สนังกุมารพรหม หายจากพรหมโลกมาปรากฏต่อหน้ามหาโควินทพราหมณ์

(3) โควินทพราหมณ์สอบถาม การได้เกิดในพรหมโลก กับ สนังกุมารพรหม
- ละความยึดถือว่าเป็นของเรา มีจิตน้อมไปในกรุณา เว้นจากเมถุน ย่อมถึงพรหมโลกได้
- ละความยึดถือว่าเป็นของเรา ละโภคสมบัติ ละเครือญาติ ปลงผมและหนวด ออกบวชเป็นบรรพชิต
- อยู่โดดเดี่ยว เสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง
- มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปสู่ทิศทั้ง ๔ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน
- มีใจประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ (ยิ่งใหญ่)ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท

(4) สัตว์หมู่ไหนมีกลิ่นร้ายต้องไปอบาย ไม่อาจไปพรหมโลกได้
- ความโกรธ พูดเท็จ การโกง ความประทุษร้ายมิตร ความเป็นคนตระหนี่ ความเย่อหยิ่ง ความริษยา
- ความมักได้ ความลังเล การเบียดเบียน ความโลภ ความคิด ประทุษร้าย ความเมา ความหลง
- สัตว์ผู้ประกอบในกิเลส เหล่านี้ จัดว่าไม่หมดกลิ่นร้ายจึงต้องไปอบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว

(5) มหาโควินทพราหมณ์ ตัดสินใจจะออกบวชเป็นบรรพชิต

(6) โควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณู ขอลาออกจากปุโรหิตเพื่อไปบวช

(7)
พระเจ้าเรณูทัดทาน พร้อมเสนอข้อแลกเปลี่ยน
  - ถ้าท่านต้องการกามทั้งหลาย เราจะให้ท่านบริบูรณ์
  - ผู้ใดเบียดเบียนท่าน เราผู้เป็นเจ้าแผ่นดินจะห้ามผู้นั้น

(8)
พระเจ้าเรณุยอมเชื่อฟังมหาโควินท์พราหมณ์
 - ถ้าท่านโควินท์จะออกจากบวชเป็นบรรพชิต แม้เรา (เรณู) ก็จักบวชด้วย
 - คติของท่าน คตินั้นจักเป็นของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย (คติในที่นี้คือปรารถนาเป็นเทวดาพรหม)

(9) โควินท์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ แต่ถูกเกลี้ยกล่อมด้วยทรัพย์ และสตรี
- ท่านต้องการทรัพย์เท่าใด พวกข้าพเจ้าทั้งหลายจะให้นำมาเท่านั้น
(ขอเดชะ อย่าเลย ทรัพย์ของข้าฯ มีเพียงพอเหมือนทรัพย์ของพระองค์ทั้งหลาย)
- ในอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีหญิงมากมาย ท่านต้องการหญิงเท่าใด พวกเราจะให้นำมาเท่านั้น
(ขอเดชะ อย่าเลย ภรรยาของข้าพระพุทธเจ้า มีถึง ๔๐ คน ข้าฯ จักละภรรยาเหล่านั้นทั้งหมด)
-ก. ถ้าท่านบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักบวช คติใดของท่าน ก็จะเป็นคติของเราด้วย
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันต หน้าที่ ๑๙๙-๒๒๖

พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ"มหาโควินทพราหมณ์"
(มหาโควินทสูตร ๑๙)

(1)
มหาโควินทพราหมณ์ประสงค์จะหลีกเร้นตลอด ๔ เดือน

            [๒๒๔] ครั้งนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น เสด็จเข้าไปหามหาโควินท พราหมณ์ ถึงที่อยู่ แล้วตรัสว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ขอท่านโควินทพราหมณ์ จงเป็นสหาย ที่รัก ที่เจริญใจ โปรดปรานของข้าพเจ้าทั้งหลาย ดังท่านโควินท์เป็นสหายที่รัก ที่เจริญใจ โปรดปราน ของพระเจ้าเรณูเถิด ขอจงสั่งสอนข้าพเจ้าทั้งหลายอย่าบอกคืน ในการสั่งสอนข้าพเจ้าทั้งหลายเลย มหาโควินทพราหมณ์ รับสนองพระดำรัสของ กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้วว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ จึงสอนพระราชาผู้กษัตริย์ ๗ พระองค์ ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ที่ตนพึง สั่งสอนด้วยราชกิจ แลบอกมนต์กะพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และเหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐

      ครั้งนั้น สมัยต่อมา กิตติศัพท์อันงามของมหาโควินทพราหมณ์ ขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนาปราศรัยปรึกษากับพรหม ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความดำริว่า กิตติศัพท์อันงามของเรา ขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหม ก็เราไม่ได้ เห็นพรหม ไม่ได้สนทนา ปราศรัยปรึกษากับพรหม แต่เราได้สดับความข้อนี้มา ต่อพราหมณ์ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออก เร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ถ้ากระนั้น เราพึงหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝนเถิด

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณูถึงที่ประทับ แล้วกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของข้าพระพุทธเจ้าขจรไป อย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับ พรหมได้ ก็ข้าพระพุทธเจ้ามิได้เห็นพรหม มิได้สนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหม แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และ ปาจารย์ พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึง เข้าไปหา ข้าพระพุทธเจ้า นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว พรเจ้าเรณูรับสั่งว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์ ย่อมสำคัญ กาลอันควรในบัดนี้เถิด

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ นั้น แล้วกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของข้าพระพุทธเจ้า ขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ก็ข้าพระพุทธเจ้ามิได้เห็นพรหม มิได้สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับ พรหม แต่ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับความข้อนี้มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ ตลอด๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนา จะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึง เข้าไปหาข้าพระพุทธเจ้า นอกจากคนนำอาหาร ไปให้คนเดียว กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ นั้น ตรัสว่า ท่านโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาล อันควรในบัดนี้เถิด

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และ เหล่าข้าราชบริพาร ๗๐๐ ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย กิตติศัพท์อันงาม ของข้าพเจ้าขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหม อาจสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ก็ข้าพเจ้ามิได้เห็นพรหม มิได้สนทนา ปราศรัย ปรึกษากับพรหม แต่ว่า ข้าพเจ้าได้สดับความข้อนี้ มาต่อพราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และ ปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌาน อยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน ผู้นั้น ย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนาปราศรัย ปรึกษากับ พรหมได้ ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จงทำการสาธยายมนต์ ตามที่สดับมาแล้ว ตามที่ เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร และจงบอกมนต์ให้แก่กันและกัน ข้าพเจ้าปรารถนาจะหลีก ออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาข้าพเจ้า นอกจากคน นำอาหารไปให้คนเดียว พราหมณ์มหาศาล และเหล่าข้าราชบริพาร เหล่านั้น กล่าวว่า ท่านโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาภรรยา ๔๐ คน ผู้เสมอกันที่อยู่ แล้ว กล่าวว่า ดูกรนางผู้เจริญทั้งหลาย กิตติศัพท์อันงามของฉัน ขจรไปอย่างนี้ว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหม อาจสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหม ได้ก็ฉัน มิได้เห็นพรหม มิได้สนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหม แต่ว่า ฉันได้สดับความข้อนี้ มาต่อ พราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และ ปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝนผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหมได้ ฉันปรารถนาจะหลีกออกเร้น เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาฉัน นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว ภรรยา เหล่านั้น กล่าวว่า ท่านโควินทพราหมณ์ย่อมสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ จึงให้สร้างสัณฐาคารใหม่โดยทิศบูรพา แห่งนคร แล้วหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝนใครๆ ไม่เข้าไปหา นอกจากคนนำอาหารไปให้คนเดียว ครั้งนั้น พอล่วง ๔ เดือน ในวันนั้นเอง มหาโควินทพราหมณ์ มีความระอา ความท้อใจว่า ก็เราได้สดับ ความข้อนี้มาต่อ พราหมณ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์พูดกันว่า ผู้ใดหลีกออกเร้นอยู่ เพ่งกรุณาฌานอยู่ตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ผู้นั้นย่อมเห็นพรหม ย่อมสนทนา ปราศรัย ปรึกษากับ พรหมได้ แต่เราก็มิได้เห็นพรหม มิได้สนทนาปราศรัย ปรึกษากับพรหม
----------------------------------------------------------------------------------------------

(2)

(สนังกุมารพรหม หายจากพรหมโลกมาปรากฏต่อหน้ามหาโควินทพราหมณ )

      ครั้งนั้น สนังกุมารพรหม ทราบความปริวิตกแห่งใจ ของมหาโควินทพราหมณ์ ด้วยใจแล้ว จึงหายไปในพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้ามหาโควินทพราหมณ์ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขน ที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้นครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ มีความกลัว หวาดเสียว ขนลุกชูชัน เพราะเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ กลัว หวาดเสียว ขนลุกชูชันได้กล่าวกะ สนังกุมารพรหม ด้วยคาถาว่า

            [๒๒๕] ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครเล่า มีวรรณมียศ มีสิริ ข้าพเจ้าไม่รู้จัก จึงถามท่าน ไฉนข้าพเจ้า จะพึงรู้จักท่านได้

      ส. เทวดาทั้งปวงรู้จักเราว่า กุมารเก่าในพรหมโลก เทวดาทั้งปวงรู้จักเรา ดูกร โควินท์ ท่านจงรู้จักเรา อย่างนี้

      ม. อาสนะ น้ำ น้ำมันทาเท้า น้ำผึ้งเคี่ยวไฟ ข้าพเจ้าเชื้อเชิญท่านด้วยของควรค่า ขอท่านจงรับของ ควรค่า ของข้าพเจ้าเถิด

      ส. ดูกรโควินท์ เราย่อมรับของควรค่าของท่าน ที่ท่านพูดถึงนั้น ท่านผู้ที่เราให้ โอกาสแล้ว จงถามความที่ท่านปรารถนาเถิด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และสุขในภพหน้า
----------------------------------------------------------------------------------------------

(3)
(โควินทพราหมณ์ถาม การได้มาเกิดในพรหมโลก กับสนังกุมารพรหม)

            [๒๒๖] ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความดำริว่า เรามีโอกาสอัน สนังกุมารพรหม ให้แล้ว เราจะพึงถาม ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หรือ สัมปรายิกัตถ ประโยชน์ กะ สนังกุมารพรหม ดีหนอ ลำดับนั้น มหาโควินทพราหมณ์มีความดำริว่า เราเป็นผู้ฉลาดใน ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ แม้ชนเหล่าอื่นก็ถาม ทิฏฐธัมมิกัตถ ประโยชน์ กะเรา ดังนั้น เราพึงถามสัมปรายิกัตถประโยชน์ กะ สนังกุมารพรหมเถิด

      ลำดับนั้น มหาโควินทพราหมณ์ได้กล่าวกะสนังกุมารพรหมด้วยคาถาว่า

            [๒๒๗] ข้าพเจ้ามีความสงสัย จึงขอถามสนังกุมารพรหม ผู้ไม่มีความสงสัย ในปัญหาของคนอื่น สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร ศึกษาในอะไร จึงจะถึงพรหมโลก อันไม่ตาย

      ส. ดูกรพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถือว่าเป็นของเรา ในสัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็น มนุษย์แล้ว อยู่โดดเดี่ยว น้อมไปในกรุณาไม่มีกลิ่นร้าย เว้นจากเมถุน สัตว์ตั้งอยู่ใน ธรรมนี้และศึกษาอยู่ในธรรมนี้ ย่อมถึงพรหมโลกอันไม่ตายได้ (เทวดาพรหมพรากแล้วจากกาม)

            [๒๒๘] ม. ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า ละความยึดถือว่าเป็นของเรา คน บางคน ในโลกนี้ ละกอง โภคสมบัติ น้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น บรรพชิต ดังนี้ ชื่อว่า ละความยึดถือว่า เป็นของเรา ข้าพเจ้าทราบต่อท่านดังนี้

      ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า อยู่โดดเดี่ยว คนบางคนในโลกนี้ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง หลีกออกเร้น อยู่ ดังนี้ ชื่อว่า อยู่โดดเดี่ยว ข้าพเจ้าทราบ ต่อท่านดังนี้

      ข้าพเจ้าทราบต่อท่านว่า น้อมไปในกรุณา คนบางคนในโลกนี้มีใจสหรคต ด้วย กรุณา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ด้วยประการ ฉะนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในที่ทุกสถาน มีใจสหรคตด้วยกรุณา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาทแผ่ไปทั่วโลก โดยประการทั้งปวง ดังนี้อยู่ ดังนี้ ชื่อว่า น้อมไปในกรุณา ข้าพเจ้าทราบต่อท่านดังนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบ คนมีกลิ่นร้าย ต่อท่านซึ่งพูดถึงอยู่
----------------------------------------------------------------------------------------------

(4)
(สัตว์หมู่ไหนต้องไปอบาย ไม่อาจไปพรหมโลกได้)

            [๒๒๙] ม. ข้าแต่พรหม ในสัตว์ทั้งหลาย คนเหล่าไหนมีกลิ่นร้าย ข้าพเจ้า ไม่ทราบ คนกลิ่นร้ายเหล่านี้ ท่านนักปราชญ์ขอจงบอก ณ ที่นี้เถิด หมู่สัตว์อันอะไร ร้อยแล้ว ย่อมเหม็นเน่าคลุ้งไปต้องไปอบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว

      ส. ความโกรธ การพูดเท็จ การโกง ความประทุษร้ายมิตรความเป็นคน ตระหนี่ ความเย่อหยิ่ง ความริษยา ความมักได้ ความลังเล การเบียดเบียนผู้อื่น ความโลภ ความคิด ประทุษร้าย ความเมา และความหลง สัตว์ผู้ประกอบในกิเลส เหล่านี้ จัดว่าไม่หมดกลิ่นร้ายต้องไปอบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว

(5)
(มหาโควินทพราหมณ์ ตัดสินใจจะออกบวชเป็นบรรพชิต)

            [๒๓๐] ม. ข้าพเจ้าเพิ่งทราบกลิ่นร้าย ต่อท่านซึ่งพูดถึงอยู่กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้ง่ายเลย ข้าพเจ้าจะออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต

      ส. ท่านโควินท์ ย่อมรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด
----------------------------------------------------------------------------------------------

(6)
(โควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณู ขอลาออกจากปุโรหิตเพื่อไปบวช)

      ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณูถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า บัดนี้ ขอพระองค์ จงแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ที่จักแนะนำราชกิจต่อพระองค์เถิด ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะออกจากเรือน บวช เป็นบรรพชิต ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับ กลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

            [๒๓๑] ม. ข้าพระพุทธเจ้าขอเชิญพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่าเรณู

            [๒๓๑] ม. ข้าพระพุทธเจ้าขอเชิญพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่าเรณู ขอพระองค์ทรงรับรู้ ด้วยราชกิจ เถิด ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นปุโรหิต
----------------------------------------------------------------------------------------------

(7)
(พระเจ้าเรณูทัดทาน พร้อมเสนอข้อแลกเปลี่ยน)

      เร. ถ้าท่านพร่องด้วยกามทั้งหลาย เราจะให้ท่านบริบูรณ์ อนึ่งผู้ใดเบียดเบียนท่าน เราผู้เป็นเจ้าแผ่นดินจะห้ามผู้นั้น ท่านเป็นบิดา ข้าพเจ้าเป็นบุตร ดูกรท่านโควินท์ ขอท่านอย่าสละเราเสียเลย
      ม. ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความบกพร่องด้วยกาม ไม่มีใครเบียดเบียนข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำของท่านผู้ไม่ใช่มนุษย์เหตุนั้น จึงไม่ยินดีในเรือน

      เร. ท่านผู้ไม่ใช่มนุษย์ (หมายถึงสนังกุมารพรหม) มีวรรณอย่างไร ได้กล่าวข้อความ อะไรกะท่าน ซึ่งท่านฟังแล้วจะละเรือนของเรา พวกเราและชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นเล่า
      ม. เมื่อข้าพระพุทธเจ้า อยู่โดดเดี่ยวเมื่อก่อนประสงค์จะเส้นสรวง ไฟสุมด้วย ใบหญ้าคา ลุกโพลงแล้ว ขณะนั้น สนังกุมารพรหมมาจากพรหมโลก ปรากฏแก่ ข้าพระพุทธเจ้า พรหมนั้นพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าฟัง ปัญหานั้นแล้ว จึงไม่ยินดีในเรือน
----------------------------------------------------------------------------------------------

(8)
(พระเจ้าเรณุยอมประพฤติตามและเชื่อฟังมหาโควินท์พราหมณ์ทุกประการ)

      เร. ดูกรท่านโควินท์ ท่านพูดคำใดข้าพเจ้าเชื่อคำนั้นต่อท่าน ท่านฟังคำของท่าน
ผู้ไม่ใช่มนุษย์แล้ว จะประพฤติโดยประการอื่น อย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายนั้น จักประพฤติตามท่าน ท่านโควินท์ ท่านเป็นครู ของเราทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์ ไม่มีฝ้า ปราศจากราคี งาม ฉันใด ข้าพเจ้าทั้งหลายจักเชื่อฟัง ประพฤติอยู่ใน คำสั่งสอน ของท่านโควินท์ฉันนั้น

            [๒๓๒] เร. ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้เรา ทั้งหลาย ก็จัก ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต อนึ่งคติ อันใดของท่าน คตินั้นจักเป็น ของข้าพเจ้า ทั้งหลายด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------------

(9)
(โควินทพราหมณ์เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ เพื่อกราบทูลออกบวช)

      ครั้งนั้น มหาโควินท์พราหมณ์ เข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ถึงที่ประทับแล้ว กราบทูลว่า บัดนี้ขอพระองค์ทั้งหลายจงแสวงหาปุโรหิตคนอื่น ที่จักแนะนำราชกิจ ต่อพระองค์ ทั้งหลายเถิด ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนา จะออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้า ได้สดับกลิ่นร้าย มาต่อพรหม ผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้าย เหล่านั้น อันบุคคลผู้ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่าย เลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
----------------------------------------------------------------------------------------------

(10)
(กษัตริย์ทั้ง ๖ เกลี้ยกล่อมด้วยทรัพย์ และสตรี แต่ถูกปฏิเสธ)

       ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นหลีกเลี่ยงไป ณ ข้างหนึ่งแล้ว คิดร่วมกัน อย่างนี้ว่า ธรรมดา พราหมณ์เหล่านี้มักโลภทรัพย์ ถ้ากระไรเราทั้งหลาย จะพึง เกลี้ยกล่อม มหาโควินทพราหมณ์ ด้วยทรัพย์ แล้วเข้าไปหา มหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีทรัพย์เพียงพอ ท่านต้องการทรัพย์ประมาณ เท่าใด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะให้นำมาเท่านั้น

       ม. ขอเดชะ อย่าเลย ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้านี้มีเพียงพอ เหมือนทรัพย์ ของพระองค์ ทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าจักละทรัพย์ทั้งปวง ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับ กลิ่นร้ายมาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้าย เหล่านั้นอันบุคคล ผู้ครองเรือน ไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้าจึงจักออก จากเรือน บวชเป็นบรรพชิต

       ลำดับนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์หลีกไป ณ ข้างหนึ่ง แล้วคิดร่วมกัน อย่างนี้ว่า ธรรมดา พราหมณ์ เหล่านี้ มักโลภด้วยหญิง ถ้ากระไรเราทั้งหลายจะพึง เกลี้ยกล่อม มหาโควินทพราหมณ์ด้วยหญิง แล้วจึงเข้าไปหา มหาโควินทพราหมณ์ ตรัสอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ นี้ มีหญิงมากมาย ท่านต้องการ หญิงเท่าใด ข้าพเจ้าทั้งหลายจะให้นำมาเท่านั้น

       ม. ขอเดชะ อย่าเลย ภรรยาของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคนเสมอกันมีถึง ๔๐ คน ข้าพระพุทธเจ้า จักละภรรยาเหล่านั้นทั้งหมด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับกลิ่นร้าย มาต่อพรหมผู้พูดถึงอยู่ กลิ่นร้ายเหล่านั้น อันบุคคล ผู้ครองเรือนไม่พึงย่ำยีได้โดยง่ายเลย ข้าพระพุทธเจ้า จึงจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต

       ก. ถ้าท่านโควินท์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต อนึ่ง คติอันใดของท่าน คตินั้นจักเป็นของ ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย

อ่านต่อตอนที่ 4 > P1641

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์