เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ"มหาโควินทพราหมณ์" ตอนที่ 2 1639
 
  P1638 P1639 P1640 P1641  
มหาโควินทพราหมณ์  
  (ย่อ)
มหาโควินทสูตร
ตอนที่ 2

พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ มหาโควินทพราหมณ์ ทรงเล่าให้คนธรรพเทพบุตร นามว่า ปัญจสิขะ (คนธรรพ์) ได้ฟัง

(1) พระเจ้าทิสัมบดีแต่งตั้งตำแหน่ง โควินท์พราหมณ์ หลังจากพราหมณ์ผู้เป็นบิดาทำกาละ
พระเจ้าทิสัมบดี มีโอรส ๘ พระองค์ คือ ๑ เรณู ๒โชติปาล และกษัตริย์อื่นอีก ๖ พระองค์
เมื่อโควินทพราหมณ์ ซึ่งเป็นบิดาของโพธิสัตว์ และเป็นพราหมณ์ในราชสำนักของพระเจ้าทิสัมบดี ทำกาละ เรณูราชโอรส(ของพระเจ้าทิสัมบดี) ได้กราบทูลพระบิดาว่าบุตรของ ผู้สืบเชื้อสายของ โควินทพราหมณ์ยังมีอยู่ เขาฉลาดกว่า ทั้งสามารถกว่าบิดา(ผู้ทำกาละ) บิดาของเขาสั่งสอนอรรถ เหล่าใด แม้อรรถเหล่านั้น โชติปาลมาณพ (โพธิสัตว์) ก็สั่งสอนได้เหมือนกัน

พระเจ้าทิสัมบดี จึงให้ท่านโชติปาลมาณพเข้าไปเฝ้า.. ขอท่านจงสั่งสอนเรา เราจักแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งแทนบิดา จักอภิเษกในตำแหน่ง "โควินทพราหมณ์โชติปาลมาณพ"
(หมายเหตุ โควินท์พราหมณ์ คือตำแหน่งปุโรหิตของพระราชาในสมัยนั้น)

(2) โควินท์เข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ ทูลว่าพระเจ้าทิสัมบดีแก่เฒ่า สมควรอภิเษกให้"เรณู"เป็นพระราชา
(3) กษัตริย์ทั้ง ๖ เข้าเฝ้าเรณูราชโอรส
(4) พระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคต เรณูราชโอรสได้รับอภิเษกเป็นพระราชา
(5) พระเจ้าเรณู รับสั่งให้โควินท์พราหมณ์ แบ่งมหาปฐพีออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆกัน
      ทันตปุรนคร
      1.เป็นมหานครของ แคว้น กาลิงคะโปตนนคร
      2.เป็นมหานครของ แคว้น อัสสกะมาหิสสตินคร
      3.เป็นมหานครของ แคว้น อวันตีโรรุกนคร
      4.เป็นมหานครของ แคว้น โสจิระมิถิลานคร
      5.เป็นมหานครแห่ง แคว้น วิเทหะ
      6.จัมปานคร สร้างใน แคว้น อังคะ
      7.พาราณสีนคร เป็นมหานครแห่ง แคว้น กาสี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันต หน้าที่ ๑๙๙-๒๒๖

พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพราหมณ์ชื่อ"มหาโควินทพราหมณ์"
(มหาโควินทสูตร ๑๙)


(1)

(พระเจ้าทิสัมบดีแต่งตั้ง ตำแหน่งโควินท์พราหมณ์ (พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน) หลังจากโควินท์พราหมณ์ผู้เป็นบิดาทำกาละ)

      ดูกรท่านผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระราชาทรงพระนามว่า ทิสัมบดี พราหมณ์ นามว่า โควินทะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าทิสัมบดีพระกุมาร พระนาม ว่า เรณู เป็นโอรสของพระเจ้าทิสัมบดีมาณพ มีนามว่า โชติปาละ เป็นบุตรของ โควินทพราหมณ์ คน ๘ คนเหล่านี้คือ พระราชโอรสพระนามว่า เรณู ๑ โชติปาล มาณพ ๑ และกษัตริย์อื่นอีก ๖ พระองค์ เป็นสหายกันดังนี้

       ครั้งนั้น โดยวันคืนล่วงไปๆ โควินทพราหมณ์ได้ทำกาละ เมื่อโควินทพราหมณ์ กระทำกาละแล้ว พระเจ้าทิสัมบดี ทรงพระรำพันว่า สมัยใด เรามอบราชกิจทั้งปวง ไว้ในโควินทพราหมณ์แล้ว สะพรั่งพร้อม ด้วยเบญจกามคุณ บำเรออยู่ สมัยนั้น โควินทพราหมณ์ ถึงอนิจจกรรม เสียแล้ว

      เมื่อท้าวเธอดำรัสอย่างนี้แล้ว เรณูราชโอรสได้กราบทูลพระเจ้าทิสัมบดีว่า ขอเดชะ เมื่อท่าน โควินทพราหมณ์ ถึงอนิจจกรรมแล้ว พระองค์อย่าทรงกรรแสง นักเลย โชติปาลมาณพ บุตรของโควินทพราหมณ์ยังมีอยู่ เขาฉลาดกว่า ทั้ง สามารถกว่าบิดา บิดาของเขาสั่งสอนอรรถเหล่าใด แม้อรรถเหล่านั้น โชติปาลมาณพ ก็สั่งสอน ได้เหมือนกัน อย่างนั้นหรือ พ่อกุมาร อย่างนั้นขอเดชะ

      ลำดับนั้น พระเจ้าทิสัมบดี จึงตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า มานี่เถิดบุรุษ ผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหา โชติปาลมาณพ ถึงที่อยู่ แล้วจงบอกกะโชติปาลมาณ พอย่างนี้ว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน โชติปาลมาณพเถิด พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่ง ให้ท่านโชติปาลมาณพเข้าไปเฝ้า พระเจ้าทิสัมบดี ทรงมีพระราชประสงค์จะ ทอดพระเนตร ท่านโชติปาลมาณพ

      บุรุษนั้นทูลรับคำพระเจ้าทิสัมบดีแล้ว เข้าไปหาโชติปาลมาณพถึงที่อยู่แล้ว ได้กล่าวว่า ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านโชติปาลมาณพเถิด พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่ง ให้ท่านโชติปาลมาณพเข้าไปเฝ้า ทรงมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตร ท่าน โชติปาลมาณพ โชติปาลมาณพรับคำบุรุษนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดี ถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัย กับพระเจ้าทิสัมบดี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พระเจ้าทิสัมบดีจึงตรัสว่า ขอท่านโชติปาลมาณพ จงสั่งสอนเรา อย่าบอกคืน ในการสั่งสอนเราเลย เราจักแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แทนบิดาจักอภิเษกในตำแหน่ง โควินทพราหมณ์ โชติปาลมาณพทูลรับสนองพระเจ้า ทิสัมบดีว่าอย่างนั้น ขอเดชะ

      ครั้งนั้น พระเจ้าทิสัมบดี ทรงอภิเษกโชติปาลมาณพ ไว้ในตำแหน่งโควินท พราหมณ์*ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนบิดา โชติปาลมาณพผู้อันพระเจ้า ทิสัมบดี ทรงอภิเษก ในตำแหน่ง โควินทพราหมณ์ ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน บิดาแล้ว ก็สั่งสอนอรรถที่บิดาของเขาสั่งสอน ไม่สั่งสอนอรรถที่บิดาของเขา ไม่สั่งสอน ย่อมจัดแจงการงานที่บิดาของเขาจัด ไม่จัดแจงการงาน ที่บิดาของเขา ไม่จัด มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า
*โควินทพราหมหณ์ คือตำแหน่งปุโรหิตในสมัยนั้น

      ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านโควินทพราหมณ์ หนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านมหาโควินทพราหมณ์ หนอ ดูกรท่านผู้เจริญ โดยปริยายนี้ นามสมญาว่า มหาโควินท์ นั่นแล จึงเกิดมีแก่โชติปาลมาณพ

(2)
(โควินท์เข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ ทูลว่าพระเจ้าทิสัมบดีแก่เฒ่า ใครจะรู้ชีวิต สมควรอภิเษกให้ เรณูราชโอรสเป็นพระราชา)

            [๒๒๐] ดูกรท่านผู้เจริญ ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ ถึงที่ประทับแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีทรงพระชรา แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ใครจะรู้ชีวิต ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ พึงอภิเษก เรณูราชโอรส เป็นพระราชา ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงมาไปเฝ้า เรณูราชโอรสกันเถิด แล้วจงทูลอย่างนี้ว่า

       ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นสหายที่รักที่เจริญใจ โปรดปรานของท่าน เรณู ท่านมีสุข อย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็มีสุขอย่างนั้น ท่านมีทุกข์อย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็มีทุกข์อย่างนั้น ข้าแต่ท่าน พระเจ้าทิสัมบดีทรงพระชราแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยแล้ว ใครจะรู้ชีวิต ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

       เมื่อพระเจ้าทิสัมบดี เสด็จสวรรคตแล้ว พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการพึงอภิเษก ท่านเรณูให้ เป็นพระราชา ถ้าท่านเรณูพึงได้ราชสมบัติ ขอจงแบ่งราชสมบัติให้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย

(3)
(กษัตริย์ทั้ง ๖ เข้าเฝ้าเรณูราชโอรส)

      กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น รับคำมหาโควินทพราหมณ์ แล้วเข้าไปเฝ้าเรณู ราชโอรส ถึงที่ประทับ แล้วทูลว่าข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นสหายที่รักที่เจริญใจ โปรดปรานของท่านเรณู ท่านมีสุขอย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลายก็มีสุขอย่างนั้น ท่านมีทุกข์อย่างใด ข้าพเจ้าทั้งหลาย ก็มีทุกข์อย่างนั้น

       ดูกรท่านผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีทรงพระชราแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล ผ่านวัยแล้ว ใครจะรู้ชีวิต ข้อนี้เป็นฐานะจะมีได้ เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ พึงอภิเษกท่านเรณูเป็นพระราชา ถ้าท่านเรณูได้ ราชสมบัติ ขอจงแบ่งราชสมบัติให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย

       เรณูราชโอรสตรัสว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของเราใครอื่น จักพึงมี ความสุข นอกจากท่านทั้งหลาย ถ้าข้าพเจ้าจักได้ราชสมบัติ จักแบ่งให้ท่าน ทั้งหลาย

(4)
(พระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคต เรณูราชโอรสได้รับอภิเษกเป็นพระราชา)

      ดูกรท่านผู้เจริญ ครั้งนั้น เมื่อวันคืนล่วงไปๆ พระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคต ครั้น พระเจ้าทิสัมบดี เสด็จสวรรคตแล้ว อำมาตย์ผู้สำเร็จราชการทั้งหลาย อภิเษกเรณู ราชโอรสเป็นราชา เรณูได้อภิเษกเป็นพระราชาแล้ว สะพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ บำรุงบำเรออยู่

       ครั้งนั้น มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้นถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย พระเจ้าทิสัมบดี เสด็จสวรรคตแล้ว เรณูได้อภิเษก เป็นพระราชา สะพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณบำรุงบำเรออยู่ ก็ใครหนอจะรู้ว่า กามารมณ์ทั้งหลายเป็นเหตุให้มัวเมา ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงมาไปเฝ้าพระเจ้าเรณู กันเถิด แล้วจงทูลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้าทิสัมบดี เสด็จสวรรคตแล้ว ท่านเรณูได้รับ อภิเษก เป็นพระราชาแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดำรัสนั้นได้อยู่หรือ

      กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น รับคำมหาโควินทพราหมณ์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณู ถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว ท่านเรณูได้รับอภิเษก เป็นพระราชาแล้ว ยังทรงระลึกถึงพระดำรัสนั้นได้อยู่หรือ

      พระเจ้าเรณูตรัสตอบว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรายังระลึกถึงคำนั้นได้อยู่

      ก. ใครหนอจะสามารถแบ่งมหาปฐพีนี้ที่ยาวไปทางทิศอุดร และทักษิณออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เป็นดุจทางเกวียน

      ร. ใครอื่นจะสามารถ นอกจากท่านมหาโควินทพราหมณ์

      ครั้งนั้น พระเจ้าเรณู ตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจงมา จงเข้าไปหา มหาโควินทพราหมณ์ ถึงที่อยู่ แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าเรณูรับสั่งหาท่าน

      บุรุษนั้นรับสนองพระราชดำรัสของพระเจ้าเรณูแล้ว เข้าไปหามหาโควินท พราหมณ์ ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้าเรณูรับสั่งหาท่าน

(5)
(พระเจ้าเรณูรับสั่งให้โควินท์พราหมณ์ แบ่งมหาปฐพีออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆกัน)

      มหาโควินทพราหมณ์รับคำของบุรุษนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณูถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ พระเจ้าเรณู ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเจ้าเรณู ได้ตรัสว่า ท่านโควินท์ท่านจงแบ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางทิศอุดรและทิศทักษิณ ออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กันให้เป็นดุจทางเกวียน

      มหาโควินทพราหมณ์ รับสนองพระราชดำรัสของพระเจ้าเรณูแล้ว แบ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางทิศอุดร(ทิศเหนือ) และทิศทักษิณ(ทิศใต้) ออกเป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เป็นดุจทางเกวียน ตั้งเนื้อที่ทั้งหมดให้เป็นดุจทางเกวียน ได้ยินว่า ในเนื้อที่เหล่านั้น ชนบทของ พระเจ้าเรณู อยู่ท่ามกลาง

            [๒๒๑] ทันตปุรนคร เป็นมหานครของแคว้นกาลิงคะโปตนนคร เป็นมหานครของแคว้น อัสสกะมาหิสสตินคร เป็นมหานครของแคว้นอวันตีโรรุกนคร เป็นมหานครของแคว้นโสจิระมิถิลานคร เป็นมหานครแห่งแคว้นวิเทหะ จัมปานครสร้างในแคว้น อังคะ พาราณสีนคร เป็นมหานครแห่งแคว้นกาสี พระนครเหล่านี้ ท่านโควินทพราหมณ์ สร้าง

            [๒๒๒] ครั้งนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ทรงดีพระทัยมีความดำริบริบูรณ์ ด้วยลาภ ของตนๆ ว่า สิ่งใดที่เราทั้งหลายอยากได้ หวัง ประสงค์ปรารถนายิ่ง เราทั้งหลายก็ได้สิ่งนั้นแล้วหนอ

            [๒๒๓] กษัตริย์เหล่านั้น ทรงพระนามว่า
๑) สัตตภูพระองค์
๒) พรหมทัตพระองค์
๓) เวสสภูพระองค์
๔) ภรตพระองค์
๕) เรณูพระองค์
๖) ธตรถ ๒ พระองค์

รวมพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระราชภาระ ๗ พระองค์ ในกาลนั้น

จบภาณวารที่หนึ่ง (จบหมวดที่1)

อ่านต่อตอนที่ 3 > P1640

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์