เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

4) ผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด 1554
  P1551 P1552 P1553 P1554 P1555
ว่าด้วยเรื่อง มาคัณฑิยะ
 
ผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด
-เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำ และขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

-บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่า มาลวงบุรุษตาบอดว่าผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่อง สะอาด เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ แสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาด ต่อมาญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัด ให้รักษา ทำให้เห็นได้ อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษ ที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสีย

"บุรุษตาบอดผู้ถูกลวงว่าสวมผ้าขาวเนื้อดี เปรียบเหมือนยังติดใจในกามคุณ๕.. การผ่าตัดจนตาดี เปรียบเหมือนการเห็นแจ้ง"
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

4)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗


เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

            [๒๘๘] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำ และขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูป หมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังต่อคนผู้มีจักษุกล่าวว่า ดูกรผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้. เขาพึงเที่ยวแสวงหา ผ้าขาวผ่อง.

            บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่า มาลวงบุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทิน สะอาด ดังนี้. เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้.

            ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอด แต่กำเนิด นั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจา แสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ หรือว่า เปล่งวาจาแสดงความยินดี ด้วยเชื่อต่อบุคคล ผู้มีจักษุเล่า?

            ท่านพระโคดม บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอาผ้าเทียม อันเปื้อนเขม่า เข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุเท่านั้น.

            ดูกรมาคัณฑิยะ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ได้ว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.

            ดูกรมาคัณฑิยะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัส พระคาถาไว้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งบรรดาทาง ทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม.

            บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ.

            ดูกรมาคัณฑิยะ กายนี้แล เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ ลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มี โรคนั้น คืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้. ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ ความไม่มีโรค อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๘

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

            [๒๘๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดม ย่อมทรงสามารถ เพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

            ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่ได้เห็นรูปดำ และ ขาว ไม่ได้เห็น รูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอ และ ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์.

            มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัด ให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ได้ทำยารักษาเขา เขาอาศัยยานั้นแล้ว ก็เห็นไม่ได้ ทำจักษุ ให้ใสไม่ได้ ดูกรมาคัณฑิยะท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน แพทย์ต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นสักเพียงไรมิใช่หรือ?

            อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

            ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรค นั้น คือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มีโรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพานไม่ได้อันนั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็นความลำบากแก่เรา.

            [๒๙๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดม ย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

            ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำ และขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูป สีชมพู ไม่ได้เห็น ที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์.

            แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทิน สะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียม เปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่าบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด.

            เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ ชำนาญ การผ่าตัด ให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอน ให้อาเจียร ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ ชำระตา ให้ใสได้ เขาย่อม ละความรัก ด้วยสามารถความพอใจ ในผ้าเทียมเปื้อนเขม่า โน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้น โดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก

          อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษ ที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วย ความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด

           ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้น คือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้.

            ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ท่านนั้น ก็จะละความกำหนัด ด้วยสามารถ ความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริ อย่างนี้ว่า

           ดูกรท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ เราเมื่อยึดมั่น ก็ยึดมั่น แต่รูป เท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่น แต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่น แต่สังขารเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณ เท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

            [๒๙๑] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดม ย่อม ทรงสามารถ เพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคนบอด ลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.

            ดูกรมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ท่านจัก ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้โรค ฝี ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็ดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์