เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

2) พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ 1552
  P1551 P1552 P1553 P1554 P1555
ว่าด้วยเรื่อง มาคัณฑิยะ
 
พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ


1. ตถาคตกำจัดที่มาของความยินดี ความเจริญ อันเนื่องมาจาก อายตนะทั้ง ๖ นั้นได้แล้ว

2. บางคนได้รับการบำเรอด้วยกามทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ต่อมาเขารู้ ความเกิด - ความดับ คุณ-โทษ อุบายเครื่องออกไปพ้น แล้วละตัณหา บรรเทา มีจิต สงบอยู่ภายใน

3) เราเห็นหมู่สัตว์ถูกกามตัณหาเคี้ยวกิน ถูกความเร้าร้อน เพราะกามเผาอยู่ ... ตถาคตไม่ยินดี ในกามนั้นแล้ว ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ยินดีในอธรรมอันเลว

4) เรา ตถาคต สมัยครองเรือน ก็เอิบอิ่ม เพรียบพร้อม ด้วยกามคุณห้า อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัด ต่อมาเรารู้ความเกิด-ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลาย แล้วละ ตัณหา บรรเทา ปรารภกามได้แล้ว

5) เรายินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งสุขของมนุษย์ และสุขอันเป็นทิพย์ จึงไม่ทะเยอ ทะยานยินดีต่อธรรมอันเลว
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

2)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๒๑๑

พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ
#1
ตถาคตกำจัดที่มาของความยินดี(ความเจริญ) อันเนื่องมาจาก อายตนะทั้ง ๖ นั้นได้แล้ว


             ลำดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชก กำลังเดินเที่ยวไปมาแก้เมื่อยอยู่ ได้เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร แล้วได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

            [๒๗๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะมาคัณฑิยปริพาชกผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งว่า

            ดูกรมาคัณฑิยะ
(๑) นัยน์ตา มีรูป เป็นที่มายินดี ...
(๒) หู
มีเสียง เป็นที่มายินดี ...
(๓) จมูก
มีกลิ่น เป็นที่มายินดี ...
(๔) ลิ้น
มีรส เป็นที่มายินดี ...
(๕) กาย
มีโผฏฐัพพะ เป็นที่มายินดี ...
(๖) ใจ
มีธรรมารมณ์ เป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในธรรม อันธรรมให้บันเทิงแล้ว ใจนั่น ตถาคตทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สำรวมแล้วอนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรม เพื่อสำรวมใจนั่น

            ดูกรมาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ความเจริญ นั้น ท่านหมายเอาความข้อนี้ ละซิหนอ (ตถาคตกำจัดที่มาของความยินดี อันเนื่องมาจาก อายตนะทั้ง ๖ นั้นได้แล้ว)

            มา. ท่านพระโคดม ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ความเจริญนี้ ข้าพเจ้าหมายเอาความข้อนี้แหละ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะคำเช่นนี้ ลงกันในสูตรของข้าพเจ้า



#2
(บางคนได้รับการบำเรอด้วยกามทั้งหลาย อันเป้นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ต่อมาเขารู้ ความเกิด - ความดับ คุณ-โทษ อุบายเครื่องออกไปพ้น แล้วละตัณหา บรรเทา มีจิต สงบอยู่ภายใน)

            [๒๘๐] ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับบำเรอ ด้วยรูปทั้งหลาย(๑) อันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ ความเกิด ความดับคุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไป แห่ง รูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในรูปบรรเทา ความเร่าร้อน อันเกิด เพราะปรารภรูป เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ ดูกรมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่า อะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า?

            ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร

            ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ เคยได้รับบำเรอ
ด้วยเสียงทั้งหลาย (๒)
อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสต ...
ด้วยกลิ่นทั้งหลาย(๓) อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ...
ด้วยรสทั้งหลาย (๔)
อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ...
ด้วยโผฏฐัพพะ ทั้งหลาย(๕) อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วย กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

            สมัยต่อมาเขารู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เป็นเครื่องออกไป แห่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย ตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในโผฏฐัพพะ บรรเทา ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะ ปรารภโผฏฐัพพะ เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบ ในภายในอยู่ ดูกรมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไร แก่ท่านผู้นี้เล่า?

            ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร

            [๒๘๑] ดูกรมาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มหนำ เพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า
บำเรอตนด้วยรูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ด้วยเสียง อันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ...
ด้วยกลิ่น อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ...
ด้วยรส อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ...
ด้วยโผฏฐัพพะ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

            ดูกรมาคัณฑิย ปราสาทของเรานั้น ได้มีถึงสามแห่ง คือ
ปราสาทหนึ่ง เป็นที่อยู่ ในฤดูฝน (รู้ความเกิด-ความดับของกาม)
ปราสาทหนึ่ง เป็นที่อยู่ ในฤดูหนาว (รู้คุณ-โทษของกาม)
ปราสาทหนึ่ง เป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
(รู้อุบายเครื่องออกจากกาม)

            เรานั้นให้บำเรอ ด้วยดนตรีล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาท เป็นที่อยู่ ในฤดูฝน ตลอดสี่เดือน ไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกามบรรเทาความเร่าร้อน ที่เกิดเพราะปรารภกาม เป็นผู้ปราศจาก ความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่



#3
(เราเห็นหมู่สัตว์ถูกกามตัณหาเคี้ยวกิน ถูกความเร้าร้อน เพราะกามเผาอยู่ ... ตถาคตไม่ยินดีในกามนั้นแล้ว ไม่ทะเยอทะยาน ไม่ยินดีใน อธรรมอันเลว)

            เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่น ผู้ยังไม่ปราศจาก ความกำหนัดในกาม ถูก กามตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ เรานั้น ย่อมไม่ทะเยอทะยาน ต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศธรรมอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยาน ต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้น

            [๒๘๒] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี เป็นคน มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูป อันพึงจะรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียง อันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ... ด้วยกลิ่นอันจะพึง รู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด

            เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริตมโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ พึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์

(กามอันเป็นทิพยในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ปราณีตกว่ากามของมนุษย์ จึงไม่รู้สึก ทะเยอทะยานในกามคุณทั้ง ๕ เหมือนพวกมนุษย์)

            เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวด ล้อมในนันทวัน เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วย กามคุณห้า อันเป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ ในดาวดึงส์เทวโลก. เทพบุตรนั้นได้เห็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนอยู่

            ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทพบุตรนั้นอันหมู่ นางอัปสร แวดล้อมอยู่ในนันทวัน เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า อันเป็นทิพย์ บำเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยาน ต่อคฤหบดี ต่อบุตรคฤหบดีโน้น หรือต่อกามคุณห้า ของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกาม ของมนุษย์บ้างหรือหนอ?

            ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอันเป็นทิพย์ น่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์



#4
(เรา ตถาคต สมัยครองเรือน ก็เอิบอิ่ม เพรียบพร้อม ด้วยกามคุณห้า อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด ต่อมาเรารู้ความเกิด-ความดับ คุณโทษ และอุบายเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลาย แล้วละตัณหา บรรเทา ปรารภกามได้แล้ว)

            ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่ม เพรียบพร้อม ด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ...ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรส อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

             สมัยต่อมาเรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่อง ออกไป แห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม ได้บรรเทาความ เร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภกามได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบ ในภายในอยู่



#5
(เรายินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งสุขของมนุษย์ และสุขอันเป็นทิพย์ จึงไม่ทะเยอทะยานยินดีต่อธรรมอันเลว)

            เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่น ที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ ทะเยอทะยานต่อสัตว์ เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดี อยู่ด้วย ความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดี ที่ล่วงเลย ความสุขเป็นของทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยาน ต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีใน ธรรมอันเลว นั้นเลย

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์