เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

3) เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน 1553
  P1551 P1552 P1553 P1554 P1555
ว่าด้วยเรื่อง มาคัณฑิยะ
 
เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน

1. ผู้บริโภคกาม
- เหมือนคนเป็นโรคเรื้อนที่เต็มไปด้วยหนอน (กิมิชาติ)
- เหมือนถูกบุรุษ 2 คนจับแขนคนละข้าง ฉุดเข้าไปในหลุมถ่านเพลิง
- ไฟคือผัสสะเป็นทุกข์ แต่บุรุษกลับหลงผิดว่าคิดว่า ผัสสะนั้น เป็นสุข
- ผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความกำหนัดย่อมเจริญ


2. ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
มาคัณฑิยปริพาชก เอาฝ่ามือลูบตัว กล่าวว่าข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้มีความสุข ไม่มีโรคอะไร ความไม่มี โรคนั้น คืออันนี้ นิพพานนั้น คืออันนี้ ..พ.ตรัสว่า เป็นนิพพานของคนตาบอด (อ่านพระสูตรถัดไป)
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

3)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๒๑๓

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน

#1
ผู้บริโภคกาม
- เหมือนคนเป็นโรคเรื้อน
ที่เต็มไปด้วยหนอน (กิมิชาติ)
- เหมือนถูกบุรุษ 2 คนจับแขนคนละข้าง ฉุดเข้าไปในหลุมถ่านเพลิง
- ไฟคือผัสสะเป็นทุกข์ แต่บุรุษกลับหลงผิดว่าคิดว่า ผัสสะนั้น เป็นสุข
- ผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความกำหนัดย่อมเจริญ

            [๒๘๓] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว อันสุกอัน กิมิชาติบ่อนอยู่* เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุม ถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัด ให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น พึงทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้ว จึงหายจาก โรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพมีอำนาจในตนเอง จะไปไหน ได้ตามความพอใจ
* (กิมิชาติ ปลว่าหนอน บ่อน แปลว่า ชุมนุม)

            บุรุษนั้นได้เห็นบุรุษโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผล อยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง

           ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงทะเยอทะยาน ต่อบุรุษโรคเรื้อนคนโน้นต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกลับเสพยาบ้าง หรือหนอ?

            ไม่อย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่ควรทำด้วยยา ก็ต้องมี เมื่อไม่มีโรค กิจที่ควรทำด้วยยาก็ไม่ต้องมี

            ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่ม เพรียบพร้อม ด้วยกามคุณห้า บำเรอตนอยู่ด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู ...ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... ด้วยรส อันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้ง ด้วยกาย ที่สัตว์ ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

            สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไป แห่งกาม ทั้งหลาย ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบ ในภายในอยู่

            เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่น ผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดี อยู่ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจาก อกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลย ความสุข อันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรม อันเลว ไม่ยินดีในธรรม อันเลว นั้นเลย

            [๒๘๔] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ ญาติ สาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัด ทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหาย จากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจในตนเองจะไปไหนได้ ตามความพอใจ. บุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษนั้น ที่แขน คนละข้าง ฉุดเข้าไป ในหลุมถ่านเพลิง. ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้น จะต้องดิ้นรน ไปอย่างนี้ๆ บ้างซิหนอ?

            เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟโน้นมีสัมผัส เป็นทุกข์ มีความร้อน ยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก

            ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อน ยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้น หรือแม้เมื่อก่อนไฟนั้น ก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก?

            ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บมีอินทรีย์ อันโรคกำจัดเสียแล้วโน้น กลับได้ความสำคัญผิด ในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้น แลว่าเป็นสุขไป

            ดูกรมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มีสัมผัส เป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาลกามทั้งหลาย ก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้น เพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์อันโทษ กำจัดแล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า เป็นสุขไป

            [๒๘๕] ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนโรคบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ดูกรมาคัณฑิยะ บุรุษโรคเรื้อนคนโน้นมีตัวเป็นแผล มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บย่างกาย ให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง ด้วยประการใดๆ ปากแผลเหล่านั้น ของบุรุษโรคเรื้อนนั้นเองยิ่ง เป็นของไม่สะอาดขึ้น มีกลิ่นเหม็นขึ้น และเน่าขึ้นด้วยประการนั้นๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือปากแผลทั้งหลาย มีการเกาแผลเป็นเหตุเท่านั้น ฉันใด

            ดูกรมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ในกาม ถูกกามตัณหา เคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม เผาอยู่ เสพกามอยู่ ดูกรมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ในกาม อันกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะกามเผาลนอยู่ เสพกาม อยู่ด้วยประการใดๆ กามตัณหาย่อมเจริญ แก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้น ก็ถูกความเร่าร้อนที่เกิด เพราะปรารภกามเผาอยู่ ด้วยประการนั้นๆ และจะมีความเป็น ของน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะอาศัยกามคุณ ทั้งห้าเท่านั้น

            [๒๘๖] ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านได้เห็น หรือได้ฟังบ้าง หรือว่าพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้า ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจาก ความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่?

            ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม

            ดีละมาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังมาว่า พระราชา หรือ มหาอำมาตย์ ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อมบำเรอตนอยู่ ด้วยกามคุณห้า ยังละตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทา ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายใน อยู่แล้วหรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่

            ดูกรมาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปราศจาก ความระหาย มีจิตรสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่

            สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย เป็นเครื่องออกไป แห่งกามนั่นเทียว ตามความเป็นจริง แล้วละกามตัณหา บรรเทา ความเร่าร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่



#2
(ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.. มาคัณฑิยปริพาชก เอาฝ่ามือลูบตัว กล่าวว่า ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุขอะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า ความไม่มีโรคนั้น คืออันนี้ นิพพานนั้น คืออันนี้ )

            [๒๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลาย อันให้ถึง อมตธรรม ทางมีองค์แปด เป็นทางอันเกษม

            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชก ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อที่ท่าน พระโคดมตรัสดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มา ต่อปริพาชก ทั้งหลายแต่ก่อน ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ ย่อมสมกัน

            ดูกรมาคัณฑิยะ ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้เป็นอาจารย์ และ ปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น ความไม่มีโรคนั้น เป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน?

           เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชก เอาฝ่ามือลูบตัว ของตัวเอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้น คืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุขอะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์