เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  พระเทวทัต (ตอนที่ ๒) พระพุทธเจ้าตำหนิสงฆ์ ที่ประพฤติตามพระเทวทัตต์ 986
 
  เรื่องพระเทวทัต
  (ความโดยย่อ)

พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน ภิกษุที่ประพฤติตามรพระเทวทัต ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจ ของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ประพฤติตาม พูดสนับสนุน พระเทวทัต ผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์เล่าการกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น

นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นเป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใส ของชุมชนยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ทรงบัญญัติ สิกขาบทวิภังค์ เรื่องการทำลายสงฆ์ ให้ภิกษุตำหนิภิกษุด้วยกัน
ภิกษุเหล่าใดเห็นอยู่ ภิกษุเหล่าใดได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ควรว่ากล่าวภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น ว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมก็หาไม่ ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัย ก็หาไม่
   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


เรื่องพระเทวทัต ชุดที่ 2

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗๑๗ -สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๑



เรื่องภิกษุผู้ประพฤติตามพระเทวทัตต์

          [๖๐๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระเทวทัตต์ ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า พระเทวทัตต์พูดไม่ถูกธรรม พูดไม่ถูกวินัย ไฉน พระเทวทัตต์ จึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้าม ในพุทธจักรเล่า.

          เมื่อภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ* พระกฏโมรกะติสสกะ พระขัณฑเทวี. บุตร และพระสมุททัตต์ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้พูดอย่างนั้น พระ-เทวทัตต์ พูดถูกธรรม พูดถูกวินัย ก็พระเทวทัตต์กล่าว คล้อยตามความพอใจ และความเห็นชอบของพวกเรา พระเทวทัตต์ทราบความพอใจ และความเห็นชอบของพวกเราจึงกล่าว คำนั้นย่อมควรแม้แก่พวกเรา.
*โกกาลิกะภิกษุ ผู้อยู่ฝ่ายพระเทวทัต ติเตียน พระโมค และพระสารีบุตร ต่อหน้าพระศาสดา ได้ไปเกิดใน ปทุมนรก

          บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้ ประพฤติตาม พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์ ผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า มีพวกภิกษุประพฤติตาม ผู้พูดสนับสนุนเทวทัตต์ ผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุ โมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ประพฤติตาม พูดสนับสนุนพระเทวทัตต์ ผู้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์เล่าการกระทำของ ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นเป็นไปเพื่อความไม่ เลื่อมใส ของชุมชนยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

          ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพวกภิกษุผู้ประพฤติตาม ผู้พูดสนับสนุน พระเทวทัตต์ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคน มักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใสการ ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควร แก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑

สิกขาบทวิภังค์

          [๖๐๑] บทว่า อนึ่ง ... ของภิกษุนั้นแล คือภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น.
บทว่า มีภิกษุทั้งหลาย คือมีภิกษุเหล่าอื่น
บทว่า ผู้ประพฤติตาม ความว่า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เห็นอย่างไร ชอบอย่างไร พอใจอย่างไร แม้ภิกษุเหล่านั้นก็เห็นอย่างนั้น ชอบอย่างนั้น พอใจอย่างนั้น.
บทว่า ผู้พูดเข้ากัน คือผู้ดำรงอยู่ในพวกในฝ่ายของภิกษุนั้น.

คำว่า ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง
ความว่า มีภิกษุ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง
ภิกษุเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวคำอะไรๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย แลภิกษุนั่นกล่าวคล้อยตาม ความพอใจและความเห็นชอบของพวกข้าพเจ้า เธอทราบความพอใจและความ เห็นชอบของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั้น ย่อมควรแม้แก่พวกข้าพเจ้า.

          [๖๐๒] บทว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้แก่ภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้น.

          บทว่า อันภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุเหล่าอื่น อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดเห็นอยู่ ภิกษุเหล่าใดได้ยินอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ควรว่ากล่าวภิกษุผู้ประพฤติตามเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าได้กล่าว อย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมก็หาไม่ ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัย ก็หาไม่

ความทำลายสงฆ์อย่าได้ชอบใจ แม้แก่พวกท่าน ขอใจของพวกท่านจงพร้อมเพรียง ด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันปรองดองกัน  ไม่วิวาทกันมีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงกล่าว แม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุเหล่านั้นสละ เสียได้ สละได้อย่างนี้นั่น เป็นการดี หากภิกษุเหล่านั้นไม่สละเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว ไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลาย พึงคุมตัวมาแม้สู่ ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงว่ากล่าวว่าพวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นกล่าวถูกธรรมก็หาไม่ ภิกษุนั่น กล่าวถูกวินัยก็หาไม่ ความทำลายสงฆ์อย่าได้ พอใจแม้แก่พวกท่าน

ขอใจของพวกท่านจงพร้อมเพรียง ด้วยสงฆ์ เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก พึงกล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงกล่าวแม้ครั้งที่สาม หากภิกษุเหล่านั้นสละเสียได้ สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากภิกษุเหล่านั้น ไม่สละเสียต้องอาบัติทุกกฏ.

Next 3   


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์