เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  พระเทวทัตต์ (ตอนที่ ๑) เรื่องวัตถุ ๕ ประการ 985
 
  เรื่องพระเทวทัต
  (ความโดยย่อ)

วัตถุ ๕ ประการ พระเทวทัต ขอประทานข้อปฏิบัติ ๕ เรื่อง เพื่อเป็นวินัยของสงฆ์
๑. ภิกษุควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ พึงต้องโทษ
๒. ภิกษุควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ พึงต้องโทษ
๓. ภิกษุควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี พึงต้องโทษ
๔. ภิกษุควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง พึงต้องโทษ
๕. ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ พึงต้องโทษ

พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์
ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า
ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน
ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการนิมนต์
ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล
ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี

ดูกรเทวทัตต์เราอนุญาต รุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น  เราอนุญาตปลา และเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ

จากนั้นพระเทวทัตต์เขาไปในกรุงราชคฤห์ เที่ยวโฆษณาให้ประชาชนทราบว่า วัตถุ ๕ ประการที่ทูลขอ เป็นไปเพื่อความสันโดษ มักน้อย ขัดเกลา แต่สมณะโคดมไม่อนุญาต ชาวพระนครพากันตำหนิสมณโคดม ว่า ผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก

ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่างพากัน เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ ทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเล่า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย ข้อห้ามในพุทธจักรเล่า

ทรงบัญญัติ อำนาจแห่งประโยชน์ ๑๐ ประการ (ประโยชน์ของพระธรรมวินัย)
๑.) เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒.) เพื่อความสำราญ แห่งสงฆ์
๓.) เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก
๔.) เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕.) เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖.) เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
๗.) เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘.) เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว
๙.) เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐.) เพื่อถือตามพระวินัย

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


เรื่องพระเทวทัต ชุดที่ 1

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ หน้าที่ ๗๑๐ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐


วัตถุ ๕ ประการ
(พระเทวทัตต์ ทูลขอ ๕ ข้อ ขอให้สมณโคดมบัญญัติเป็นวินัยแต่ทรงปฏิเสธ)

          [๕๙๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตต์ เข้าไปหา พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ กะพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ว่ามาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม

          เมื่อพระเทวทัตต์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวคำนี้ กะพระเทวทัตต์ว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ไฉน เราจักทำ สังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้เล่า

วัตถุ ๕ ประการ

          พระเทวทัตต์กล่าวว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักเข้าเฝ้าพระสมณ โคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญ คุณแห่ง ความมักน้อยความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อยความ สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน พระวโรกาส

๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น

          พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ พวกเราทั้งนั้นจักโฆษณา ให้ชุมชนเชื่อถือด้วย วัตถุ ๕ ประการนี้ อาวุโสทั้งหลาย พวกเราสามารถที่จะกระทำ สังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้ เพราะวัตถุ ๕ ประการนี้แล เพราะคน ทั้งหลาย เลื่อมใสใน ลูขปฏิบัติ (ปฏิบัติเศร้าหมอง เช่นของเก่า คร่ำคร่า แต่สะอาด)

          [๕๙๑] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์พร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณ แห่งความมักน้อย ความสันโดษความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน พระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดี การนิมนต์ โทษพึงถูกต้อง ภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้า บังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้า อาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น

          พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการนิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูกรเทวทัตต์เราอนุญาต รุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น  เราอนุญาตปลา และเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ

          [๕๙๒] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์ร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรง อนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แล้วพร้อมด้วยบริษัท ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาค กระทำประทักษิณหลีกไป ต่อมา เธอพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ โฆษณาให้ประชาชนเชื่อถือด้วยวัตถุ ๕ ประการว่า อาวุโสทั้งหลาย เราเข้าเฝ้า พระสมณ โคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญ คุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน พระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิตภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึง ถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดี การนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้อง ภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควร ฉันปลา และ เนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดม ไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้พวกเรา เท่านั้น สมาทานประพฤติวัตถุ ๕ ประการนี้อยู่

          [๕๙๓] บรรดาประชาชนชาวพระนครราชคฤห์นั้น จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีความรู้ทราม พากันกล่าวนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้กำจัดมีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดม เป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก

          ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่างพากัน เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลาย สงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเล่า

          ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัตต์จึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล นั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเทวทัตต์ว่า ดูกรเทวทัตต์ ข่าวว่า เธอตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร จริงหรือ?

พระเทวทัตต์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า

          ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเสื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

          ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนพระเทวทัตต์ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษ แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคน ไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน เลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑.) เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
๒.) เพื่อความสำราญ แห่งสงฆ์ ๑
๓.) เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ ยาก ๑
๔.) เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
๕.) เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
๖.) เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
๗.) เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
๘.) เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ๑
๙.) เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
๑๐.) เพื่อถือตามพระวินัย ๑



เรื่องวัตถุ ๕ ประการ


[๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวี บุตร พระสมุททัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย  พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม

เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้  แล้วพระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก  พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมอย่างไรได้

พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้ว ทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้ มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายพระพุทธเจ้าข้า

วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษความ ขัดเกลา ความกำจัด  อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือ การอยู่ป่าเป็นวัตรตลอด ชีวิตรูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลาย พึงถือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิตรูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ

ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึง ต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้อง โทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลา และเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้น จักให้ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้

พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภทจักรเภท แก่พระสมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใส ในความ ปฏิบัติเศร้าหมอง ฯ

[๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้าพระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ ที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสมการปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย  

ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยว   บิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูป นั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและ เนื้อ รูปนั้นพึง ต้องโทษ

พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้น จงถือการอยู่ป่า เป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน รูปใดปรารถนา จงถือ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนา จง ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใด ปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาตโคนไม้เป็น เสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ

ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต วัตถุ ๕ ประการ นี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วกลับไป ฯ

พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้าไปเฝ้า  พระสมณโคดมทูลขอวัตถุ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณ แห่งความเป็นผู้มักน้อย ... การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย... การปรารภความเพียร  โดยอเนกปริยาย

ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ... ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อ ตลอด ชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ  ๕ ประการนี้ พระสมณโคดม ไม่ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ ฯ    

[๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความมักมาก

ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่าไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า  ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำ ลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรเทวทัต ข่าวว่า เธอพยายามเพื่อทำลายสงฆ์เพื่อทำลายจักร จริงหรือ

 พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการ ทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันย่อมประสพโทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อม เพรียงกัน ย่อมประสพบุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจ การทำลายสงฆ์เลยเพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ฯ

[๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งอันตรวาสก ถือบาตร  จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยว บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถจักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์

ครั้นท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจาก บิณฑบาตเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่ง เรียบร้อยแล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ ข้าพระพุทธเจ้านุ่งอันตรวาสก ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์  พระเทวทัต พบข้าพระพุทธเจ้า กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหา ข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำ อุโบสถ จักทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มี พระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า  ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานในเวลา  นั้นว่าดังนี้:
[๓๘๘] ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่วคนชั่วทำง่าย แต่อารยชน ทำความชั่วได้ยาก ฯ

ทุติยภาณวาร จบ
Next 2   




 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์