เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  พระเทวทัต (ตอนที่ ๘) ปกาสนียกรรม การประกาศเรื่องที่ควรให้สาธารณชนทราบ 992
 
  เรื่องพระเทวทัต
  (ความย่อ

ปกาสนียกรรม
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลง ปกาสนียกรรม* ในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง
* ปกาสนียกรรม แปลว่า การประกาศเรื่องที่ควรให้สาธารณชนทราบ

เป็นพระวินัยของสงฆ์ เพื่อประกาศ ความประพฤติของสงฆ์ ด้วยกาย วาจา ใจ เป็นการประจาน ความผิดต่อสาธารณะชน ว่าเป็นการกระทำ(ความผิด) ของบุคคลคนเดียว ไม่เกี่ยวหมู่สงฆ์อื่น

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


เรื่องพระเทวทัต ชุดที่ 8
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒


ปกาสนียกรรม (พระวินัย)

           [๓๖๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ    ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลง ปกาสนียกรรม* ในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ  อย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง
* ปกาสนียกรรม แปลว่า การประกาศเรื่องที่ควรให้สาธารณชนทราบ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้

           ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจา ว่าดังนี้:

กรรมวาจาทำปกาสนียกรรม

           ท่านเจ้าข้า ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัต เองนี้เป็นญัตติ

           ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมใน กรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต ทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น เฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น

           พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูดปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ อันสงฆ์กระทำแล้ว แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้  ด้วยอย่างนี้ ฯ

           [๓๖๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกร   สารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์

           ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวชมพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอนุภาพมาก ข้าพระพุทธเจ้า จะประกาศ พระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า

           พ. ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวชมเทวทัตในกรุงราชคฤห์แล้ว เท่าที่เป็นจริงว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอนุภาพมาก

           ส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

           พ. ดูกรสารีบุตร เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์เท่าที่เป็นจริง เหมือน อย่างนั้นแล

           ท่านพระสารีบุตร ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ฯ

           [๓๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติสารีบุตรเพื่อประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของ พระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ อย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง ฯ

วิธีสมมติ
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้
           พึงขอร้องสารีบุตรก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ  ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:

กรรมวาจาสมมติ


           ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์   ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่านพระสารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตใน กรุงราชคฤห์ว่า ปกติของ พระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ

           ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระ  สารีบุตรเพื่อประกาศ พระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีก อย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์  เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การสมมติท่านพระ สารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต   

ก่อนเป็นอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธพระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัต เอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน  ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

           ท่านพระสารีบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อประกาศพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้ เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต ทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้ ฯ

           [๓๖๕] ก็ท่านพระสารีบุตรได้รับสมมติแล้ว จึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤหพร้อมกับ ภิกษุมากรูป แล้วได้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง

           ประชาชนในกรุงราชคฤห์นั้นพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไร้ปัญญา ต่างกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนริษยา ย่อม เกียดกันลาภสักการะของพระเทวทัต

           ส่วนประชาชนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีปัญญาดี กล่าวอย่างนี้ ว่าเรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประกาศ พระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์ ฯ

Next 9   

 

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์