เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง (พระสูตรชุดเต็ม) ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร 1528
  (ย่อ)

(1) สัพพสูตร ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์

(2) ปหานสูตรที่ ๑ ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ..เวทนาทั้งหลายเป็นสิ่งที่ควรละ..มโนสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ เวทนาที่เกิดจากมโน สัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

(3) ปหานสูตรที่ ๒ ธรรมเพื่อ รู้ยิ่ง รอบรู้ แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นไฉน..จักษุ รูป จักษุวิญญาณจักษุ สัมผัส เวทนาที่เกิดจากจักษุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย

(4) ปริชานสูตรที่ ๑ ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

(5) ปริชานสูตรที่ ๒ สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

(6) อาทิตตปริยายสูตร ก็สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส (ภิกษุ 1000 รูป สดับแล้วจิตหลุดพ้นจากอาสวะ)

(7) อันธภูตสูตร ก็สิ่งทั้งปวง ที่เป็นสิ่งมืดมน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะ ชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส (หลังได้สดับภิกษุเหล่านั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ)

(8) สารูปสูตร ก็ข้อปฏิบัติ อันสมควรแก่ การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ เป็นไฉน ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญ ว่า จักษุของเรา

(9) สัปปายสูตรที่ ๑ ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่ การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิเป็นไฉน ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งจักษุ ในจักษุ แต่จักษุ ว่าจักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป

(10) สัปปายสูตรที่ ๒ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่ การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ..ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

P1384 : สัปปายสูตร การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และ ทิฐิ
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐)


P1383 : เอกภาวะ นานาภาวะ สรรพภาวะ ในนิพพาน ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง (อริยสัจจากพระโอษฐ์)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕

สัพพวรรคที่ ๓


(1)
สัพพสูตร
(ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์)

              [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง
จักษุ กับ รูป
หู กับ เสียง
จมูก กับ กลิ่น
ลิ้น กับ รส
กาย กับ โผฏฐัพพะ
ใจ กับ ธรรมารมณ์

อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จัก บัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ดุจเทพเจ้าแต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะข้อนั้น ไม่ใช่วิสัย

จบสูตรที่ ๑




(2)

ปหานสูตรที่ ๑
(ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่ง ที่ควรละ..เวทนาทั้งหลายเป็นสิ่งที่ควรละ..มโนสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ เวทนาที่เกิด จาก มโนสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ควรละ)

              [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม แก่เธอทั้งหลาย เพื่อละ สิ่งทั้งปวงนั้นเสีย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ
แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง

จบสูตรที่ ๒




(3)

ปหานสูตรที่ ๒
(ธรรมเพื่อ รู้ยิ่ง รอบรู้ แล้วละ สิ่งทั้งปวง เป็นไฉน..จักษุ รูป จักษุวิญญาณจักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดจากจักษุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้ แล้วละเสีย)

              [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม แก่เธอทั้งหลาย เพื่อรู้ยิ่งรอบรู้ แล้วละสิ่งทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละเสีย ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นไฉน จักษุ รูป จักษุวิญญาณจักษุสัมผัส เป็นสิ่ง ที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย ฯลฯ

         ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง

จบสูตรที่ ๓




(4)

ปริชานสูตรที่ ๑

(ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ )

              [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือจักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ฯลฯ ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯกาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯมโนสัมผัส ฯลฯ

         แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัดยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ ไม่ควร เพื่อความสิ้นทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้ ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

              [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ได้ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ

         แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัส เป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่ง ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

จบสูตรที่ ๔




(5)

ปริชานสูตรที่ ๒
(สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ )

              [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุรูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย จักษุ วิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังคลายกำหนัดไม่ได้ ยังละไม่ได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวง นี้แลเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

              [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ละได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงคืออะไร ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ วิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

จบสูตรที่ ๕




(6)

อาทิตตปริยายสูตร
(ก็สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ )

              [๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุ วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อนแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะ อะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะโทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ

         ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะ มโนสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นของ ร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และ อุปายาส

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

         ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชม ยินดี ภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นดังนี้แล

จบสูตรที่ ๖




(7)

อันธภูตสูตร

(ก็สิ่งทั้งปวง ที่เป็นสิ่งมืดมน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะ ชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส)


              [๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวง ที่เป็นสิ่งมืดมน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่ง มืดมน มืดมน เพราะอะไร เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและ อุปายาส

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ

         ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย

         เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชม ยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเหล่านั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล

จบสูตรที่ ๗




(8)

สารูปสูตร
(ก็ข้อปฏิบัติ อันสมควรแก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วย ตัณหา มานะ และ ทิฐิ เป็นไฉน ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญ ในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่าจักษุของเรา )

              [๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติ อันสมควรแก่ การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติ อันสมควรแก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วย ตัณหา มานะ และ ทิฐิ เป็นไฉน

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญ ในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่าจักษุของเรา

         ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูป ... ในรูป ...แต่รูป ... ว่า รูปของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่ง จักษุ วิญญาณ ... ในจักษุวิญญาณ ... แต่จักษุวิญญาณ ... ว่า จักษุวิญญาณ ของเรา

        ย่อมไม่สำคัญจักษุสัมผัส ... ในจักษุสัมผัส ... แต่จักษุสัมผัส ... ว่า จักษุสัมผัส ของเรา

         ย่อมไม่สำคัญสุขเวทนา ทุก
ขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะ จักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็น ของเรา ฯลฯ

        ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ...ในใจ ... แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่ง ธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ...แต่ธรรมารมณ์ ... ว่า ธรรมารมณ์ของเรา

        ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ... ในมโนวิญญาณ ... แต่มโนวิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณ ของเรา

        ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัส ของเรา

        ย่อมไม่สำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัส เป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้น เป็นของเรา

        ย่อมไม่สำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ... ในสิ่งทั้งปวง ... แต่สิ่งทั้งปวง ... ว่า สิ่งทั้งปวง เป็นของเราบุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

        เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้ เฉพาะตน ทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติ ที่สมควรแก่การเพิกถอนซึ่งความ สำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ

จบสูตรที่ ๘




(9)

สัปปายสูตรที่ ๑

(ก็ข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งจักษุ ..ในจักษุ ..แต่จักษุ ..ว่าจักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป )

              [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่ง ความสำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุ ... ในจักษุ ... แต่จักษุ ... ว่าจักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ... ย่อมไม่สำคัญซึ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ... แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญเป็นแดน ให้สำคัญ เป็นเหตุให้สำคัญว่า เป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเป็นอื่นออกไปจากที่สำคัญนั้น คือ สัตว์ในภพก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลกย่อมเพลิดเพลิน เฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ... แต่ใจ ... ว่าใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ... ว่าธรรมารมณ์ ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ... ในมโนวิญญาณ ... แต่มโนวิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ...แต่มโนสัมผัส ... ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย... ในเวทนานั้น...แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ...

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ... ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ... แต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ... ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะ เป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ดังนี้ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะและทิฐิ

จบสูตรที่ ๙




(10)

สัปปายสูตรที่ ๒
(ข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ..ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า)

              [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะและทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะและทิฐิเป็นไฉน

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า


พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ

         ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์... ทั้งในมโนวิญญาณ... ทั้งในมโน สัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบาย แก่การเพิกถอนซึ่ง ความสำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และทิฐิ

จบสูตรที่ ๑๐

จบสัพพวรรคที่ ๓

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์