เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 เอกภาวะ นานาภาวะ สรรพภาวะ ในนิพพาน ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง 1383
 

(โดยย่อ)

เอกภาวะ นานาภาวะ สรรพภาวะ
ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน ในนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน นิพพานเป็นของเรา จึงไม่เพลิดเพลินซึ่งนิพพาน


ที่มา
(1) อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๓๗๘
    - เรื่อง ความสำคัญผิดเป็นเหตุให้เกิดนันทิ (อุปาทาน)

(2) อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๕๑๐
    - เรื่องปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง

(3) อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๕๕๑
    - เรื่อง ปุถุชน คือ ผู้ยึดถือเต็มที่
    - เรื่อง พระเสขะ คือ ผู้กำลังจะไม่ยึดถือ
    - เรื่อง ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักนิพพาน
    - เรื่อง พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน
    - เรื่อง พระอเสขะ คือ ผู้ที่หมดความยึดถือทุกสิ่ง
    - เรื่อง พระอเสขะ คือ ผู้ที่ไม่ยึดถือแม้ในนิพพาน

(4) อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๖๔๕
    - เรื่อง ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (อุปาทาน)

(5) ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวด ๗ หน้าที่ ๔๑๐
    - เรื่อง ปฏิจจสมุปบาทอาการหนึ่ง (นันทิให้เกิดทุกข์)        ถ้าเห็นแล้วทำให้หยุดความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
P1384 : สัปปายสูตร การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และ ทิฐิ
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐)

P1528 : การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง (พระสูตรชุดเต็ม) ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


(1)
เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และนิพพาน

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๓๗๘
ความสำคัญผิดเป็นเหตุให้เกิดนันทิ (อุปาทาน)

        ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้  บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ  ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด ในธรรม ของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ สัปบุรุษ. บุถุชนนั้น ย่อมรู้สึกซึ่งดิน โดยความเป็นดิน

   ครั้นรู้สึกซึ่งดิน โดยความเป็นดินแล้ว ย่อมสำคัญมั่นหมายซึ่งดิน  ย่อมสำคัญ มั่นหมาย ในดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นดิน  ย่อมสำคัญมั่นหมายว่าดิน ของเรา  ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน.  ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?  ข้อนั้นเรากล่าวว่า  เพราะความไม่ กำหนดรอบรู้ซึ่งดิน.

        (ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก  ๒๓  อย่าง  คือ  น้ำ ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม  อาภัสสรพรหม  สุภกิณหพรหม  เวหัปผลพรหม  อภิภู  อากาสานัญจายตนะ  วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก ลิ้น  ผิวกาย  สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว  เอกภาวะ  นานาภาวะ  สิ่งทั้งปวง  และ นิพพาน  แต่ละอย่าง ๆ


(2)

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๕๑๐
ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง
(ปรินิพพานเฉพาะตน ผลแห่งการถอนความมั่นหมายในธรรมทั้งปวง โดยความหมาย สี่สถาน)


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง” แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังจงทำในใจให้ดี เราจักกล่าวปฏิปทาอันสมควรแก่การ เพิกถอนความ มั่นหมายทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :-
ไม่มั่นหมาย ซึ่งจักษุ 
ไม่มั่นหมาย ในจักษุ
ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นจักษุ
ไม่มั่นหมาย จักษุว่าของเรา 
ไม่มั่นหมาย ซึ่งรูปทั้งหลาย 
ไม่มั่นหมาย ในรูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นรูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย รูปทั้งหลายว่า ของเรา

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย ใน จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็นจักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมายจักขุวิญญาณ ว่าของเรา 

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมาย ใน จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมายโดย ความเป็นจักขุสัมผัส ไม่มั่น หมายจักขุสัมผัสว่าของเรา 

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง เวทนา ไม่มั่นหมาย ใน เวทนา ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นเวทนา ไม่มั่นหมายเวทนา ว่าของเรา ซึ่งเป็น เวทนาอันเกิดจากจักขุ-สัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม

(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ ข้อความในกรณีแห่งหมวดจักษุข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น)

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง (ปรารถนาตรงนั้น) สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย ใน (สิ่งที่เป็นอยู่) สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย โดย (อยู่กับสิ่งนั้นแล้วพอใจคุณสมบัติสิ่งนั้น) ความเป็นสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา 

ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลกเมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว 
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
ดังนี้

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมาย ทั้งปวงนั้น”

(ในสูตรถัดไป เมื่อได้ตรัสข้อความอย่างเดียวกันกับในสูตรข้างบนนี้ ครบทั้งหก อายตนะ แล้ว ซึ่งในตอนท้าย แห่งอายตนะ หมวดหนึ่งๆนั้น ได้ตรัสข้อความเพิ่มเติม ต่อไปอีก ดังข้อความข้างล่างนี้ และได้ทรงเรียกชื่อ ปฏิปทานี้เสียใหม่ว่า “ปฏิปทา เป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนเสีย ซึ่งความมั่นหมายสิ่งทั้งปวง”)

ภิกษุ ท. ! ก็ภิกษุย่อมมั่นหมาย ซึ่ง สิ่งใด มั่นหมาย ใน สิ่งใดมั่นหมาย โดย ความเป็น สิ่งใด มั่นหมาย สิ่งใด ว่าของเราสิ่งที่เขามั่นหมายนั้นย่อมเป็น โดยประการอื่นจาก ที่เขามั่นหมายนั้น สัตว์โลกผู้ข้องอยู่ในภพเพลิดเพลิน อยู่ในภพนั่นแหละ จักเป็นผู้มีความเป นโดยประการอื่น

(ข้อความต่อไปนี้ได้ตรัสหลังจากตรัสข้อความในหมวดที่หก คือหมวดมนายตนะ จบแล้ว) ภิกษุ ท.! ขันธ์ธาตุอายตนะ มีอยู่มีประมาณเท่าใด  ภิกษุย่อมไม่มั่น หมายแม้ ซึ่งขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมายแม้ในขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมาย แม้โดย ความเป็นขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมายขันธ์ธาตุอายตนะ นั้น ว่าของเรา 

ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่ สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพาน เฉพาะตนนั่นเทียว, เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจ ที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้วกิจอื่นที่จะต้อง ทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมายสิ่งทั้งปวงนั้น” (คำว่า ถอนความมั่นหมายโดยความหมายสี่สถาน นั้น คือ 
๑. ไม่มั่นหมาย ซึ่งสิ่งนั้น
๒. ไม่มั่นหมาย ในสิ่งนั้น
๓. ไม่มั่นหมาย โดยเป็นสิ่งนั้น 
๔. ไม่มั่นหมาย สิ่งนั้นว่าของเรา ดังนี้


(3)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๕๕๑
นิทเทศ ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหา (มี ๑๐๖ เรื่อง)

ปุถุชน คือ ผู้ยึดถือเต็มที่

        ภิกษุ ท. !  ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า  ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยเจ้า  ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า  ไม่ได้เห็น หมู่สัตบุรุษ  ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ. 

ย่อมเข้าใจ  ดิน น้ำ ไฟ ลม  โดยความเป็น  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม   
เมื่อเข้าใจ ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว 
ย่อมหมายมั่น ดิน น้ำ ไฟ ลม   
ย่อมหมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม   
ย่อมหมายมั่น โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม 
ย่อมหมายมั่น ว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา ดังนี้   
เขาย่อมเพลิดเพลิน ยิ่ง ต่อ ดิน น้ำ ไฟ ลม. 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 
เราขอตอบว่า “เพราะว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ปุถุชน นั้น ยังไม่ได้รู้รอบ” ดังนี้แล.
- ม. ม. ๑๒/๑/๒.

(สิ่งที่ปุถุชนไม่รู้จักแล้วหมายมั่นเพลิดเพลินนั้น  ยังตรัสไว้ต่อไปอีกในสูตรนี้ คือ ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ สิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว  สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และนิพพาน).

พระเสขะ คือ ผู้กำลังจะไม่ยึดถือ

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุใด  แม้ยังเป็น  พระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรค ยังปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นที่เกษมจากโยคะ  ไม่มีอื่น ยิ่งกว่า  อยู่  ภิกษุ แม้นั้นย่อม  รู้ชัดแจ้ง  ซึ่งดิน  น้ำ ไฟ ลม  โดยความเป็นดิน  น้ำ  ไฟ  ลม เมื่อรู้ชัดแจ้ง  ซึ่ง  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  โดยสักแต่ว่าเป็น ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  แล้ว  เป็นผู้จะไม่หมายมั่น๑  ซึ่ง  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  จะไม่หมายมั่น  ใน  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม จะไม่หมายมั่น  โดยความเป็นดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  จะไม่หมายมั่นว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา  ดังนี้  จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่ง  ซึ่งดิน  น้ำ  ไฟ  ลม 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 
เราขอตอบว่า “เพราะว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้นจะต้องได้รู้รอบ”  ดังนี้แล.
- มู. ม. ๑๒/๖/๒.

ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักนิพพาน

        ภิกษุ ท. !  ปุถุชนในโลกนี้  ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง  ไม่ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า  ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า  ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า  ไม่ได้เห็น หมู่ สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของ สัตบุรุษ  ย่อม  เข้าใจ นิพพาน  โดยความเป็น  นิพพาน เมื่อเข้าใจนิพพานโดยความเป็น นิพพาน แล้ว  ย่อมหมายมั่น ซึ่งนิพพาน  ย่อมหมายมั่นในนิพพาน  ย่อมหมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน  ย่อมหมายมั่นว่า  นิพพานเป็นของเรา  ดังนี้. เขาย่อม เพลิดเพลิน ยิ่ง ต่อนิพพาน. 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 
เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้นยัง ไม่ได้รู้รอบ” ดังนี้แล.
---------------------------------------------------------------------------------------------------
๑.  ที่ว่า  “จะไม่หมายมั่น”  ในที่นี่นั้นให้เข้าใจว่า  หมายมั่นก็ไม่ใช่  ไม่หมายมั่นเสีย เลย ก็ไม่ใช่ยังอยู่ในระหว่าง ๆ  ในบาลีจึงใช้คำว่า ‘มามญฺญี’ แทนที่จะใช้คำ ว่า มญฺญี หรือ มมญฺญี เป็นลักษณะของพระเสขะ ซึ่งอยู่ในระหว่างปุถุชน  กับ พระอเสขะ.  สำหรับวัตถุ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ  ก็ได้ตรัสไว้เต็มจำนวนเหมือน ที่กล่าวไว้ในหัวข้อ อันว่าด้วย ปุถุชนข้างบนนั่นเอง.
---------------------------------------------------------------------------------------------------
- มู. ม. ๑๒/๕/๒.

พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุใด แม้ยังเป็น  พระเสขะ  ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรค ยังปรารถนา พระนิพพานอันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า อยู่  ภิกษุแม้นั้น ย่อม  รู้ชัดแจ้ง  ซึ่งนิพพาน  โดยความเป็นนิพพาน  เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพานโดย สักแต่ว่า  เป็นนิพพานแล้ว  ย่อมเป็นผู้  จะไม่หมายมั่น ซึ่งนิพพาน   จะไม่หมายมั่น  ในนิพพาน จะไม่หมายมั่น  โดยความเป็นนิพพาน   จะไม่หมายมั่นว่า นิพพาน เป็นของเราดังนี้ จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่งซึ่งนิพพาน. 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 
เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพาน เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้น จะต้องได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.
- มู. ม. ๑๒/๖/๓.

พระอเสขะ คือ ผู้ที่หมดความยึดถือทุกสิ่ง

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุใด  เป็น  พระอรหันต์  ผู้สิ้นอาสวะแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว  มีภาระอันปลงลงแล้ว  มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุ ถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ  ภิกษุแม้นั้น  ก็ย่อม  รู้ชัดแจ้ง  ซึ่ง  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  โดยความเป็น  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่ง  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม โดยสักแต่ว่า เป็น  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  แล้ว ย่อม ไม่เป็นผู้หมายมั่น ซึ่ง  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม    ไม่หมายมั่นใน  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม ไม่หมายมั่น โดยความเป็น ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ไม่หมายมั่นว่า  ดิน  น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา  ดังนี้ จึง ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินยิ่งซึ่ง  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม. 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 
เราขอตอบว่า “เพราะว่าดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้ อรหันต์ขีณาสพนั้น ได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล.
- มู. ม. ๑๒/๖/๔.

(ในสูตรนี้ได้ตรัส สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ นอกไปจากดินน้ำไฟลมอีก  คือ ภูตสัตว์  เทพ  ปชาบดี  พรหม  อาภัสสรพรหม  สุภกิณหพรหม  เวหัปผลพรหม  อภิภู  อากาสา นัญจายตนะ  ฯลฯ  เนวสัญญานาสัญญายตนะ  สิ่งที่เห็นแล้ว-ฟังแล้ว-รู้สึก-รู้แจ้งแล้ว  เอกภาวะ  นานาภาวะ  สิ่งทั้งปวง  และนิพพาน).

พระอเสขะ คือ ผู้ที่ไม่ยึดถือแม้ในนิพพาน

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้วอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจ ที่ต้องทำสำเร็จแล้ว  มีภาระอันปลงลงแล้ว  มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุถึงแล้ว  มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว  เพราะรู้โดยชอบ 

ภิกษุแม้นั้น  ก็ย่อม รู้ชัดแจ้ง  ซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน  โดยสักแต่ว่า  เป็นนิพพานแล้ว ย่อม
- ไม่เป็นผู้หมายมั่น  ซึ่งนิพพาน 
- ไม่หมายมั่น  ในนิพพาน 
- ไม่หมายมั่น โดยความเป็น นิพพาน 
- ไม่หมายมั่นว่า นิพพานเป็นของเร ดังนี้  
จึงไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน  ซึ่งนิพพาน 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 
เราขอตอบว่า “เพราะว่านิพพาน เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ ขีณาสพนั้นได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล.
- มู. ม. ๑๒/๗/๔.


(4)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๑ หน้าที่ ๖๔๕
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (อุปาทาน)

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุใด  เป็นพระอรหันต์  มีอาสวะสิ้นแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ  
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่ง ซึ่งดินโดยความเป็นดิน
ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว
- ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ)
- ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ)
- ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ)
- ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ)
- ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
 
ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.

(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ น้ำ ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ จายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียง ที่ได้ยิน แล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก ลิ้น ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และ สิ่งทั้งปวง  แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำ อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่งนิพพาน ซึ่งจะได้บรรยาย ด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้)

        ภิกษุ ท. !  ภิกษุใด  เป็นพระอรหันต์  มีอาสวะสิ้นแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของ ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่ง ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน  ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความ เป็นนิพพานแล้ว.
ย่อม  ไม่สำคัญมั่นหมาย  ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ)
ย่อม  ไม่สำคัญมั่นหมาย  ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ)
ย่อม  ไม่สำคัญมั่นหมาย  โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ)
ย่อม  ไม่สำคัญมั่นหมาย  ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ)
ย่อม  ไม่เพลินอย่างยิ่ง  ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ)
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?  ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้น กำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.


(5)
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หมวด ๗ หน้าที่ ๔๑๐
ว่าด้วย โทษของการไม่รู้และอานิสงส์ของการรู้ปฏิจจสมุปบาท


ปฏิจจสมุปบาทอาการหนึ่ง (นันทิให้เกิดทุกข์)ถ้าเห็นแล้วทำให้หยุดความมั่นหมายในสิ่งทั้งปวง

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ในโลกนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ พระอริยเจ้า

(๑) ย่อมรู้สึกซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้สึกซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อม สำคัญ มั่นหมายซึ่งดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายในดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความ เป็นดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายว่า ดินของเรา ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดย รอบแล้ว.

(๒)ย่อมรู้สึกซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ...ฯลฯ...    ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง ลม ...ฯลฯ...ฯลฯ...    ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง ภูตสัตว์ทั้งหลาย ...ฯลฯ...ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เทพทั้งหลาย ...ฯลฯ...ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ...ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.

.......................................................................................................
๑.  การละ...ฯลฯ...ไว้อย่างนี้ หมายความว่า ให้เติมข้อความให้เต็ม เช่นเดียวกับข้อบน, ทุกข้อไป: เพื่อประหยัดการอ่านและหน้ากระดาษ
.......................................................................................................

(๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง อาภัสสรพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สุภกิณหพรหมทั้งหลาย...ฯลฯ..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เวหัปผลพรหมทั้งหลาย..ฯลฯ..ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง อภิภู...ฯลฯ...ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๑๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากาสานัญจายตนะ..ฯลฯ..ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๕) ย่อมรู้สึกซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ...ฯลฯ..ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๑๖) ย่อมรู้สึกซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ..ฯลฯ..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๗) ย่อมรู้สึกซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๑๘) ย่อมรู้สึกซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว..ฯลฯ..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.
(๑๙) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย)...ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๐) ย่อมรู้สึกซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ).ฯลฯ.ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๑) ย่อมรู้สึกซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ)...ฯลฯ..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๒) ย่อมรู้สึกซึ่ง นานาภาวะ(นานตฺตํ)...ฯลฯ..ฯลฯ..ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๓) ย่อมรู้สึกซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ) ...ฯลฯ..ฯลฯ.. ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
(๒๔) ย่อมรู้สึกซึ่ง นิพพาน โดยความเป็นนิพพาน

ครั้นรู้สึกซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมสำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน ย่อม สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ย่อมสำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ย่อมสำคัญ มั่นหมายว่า นิพพานของเรา ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว.

(เครื่องกำหนดภูมิของปุถุชน เป็นปฐมนัย จบแล้ว)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนว่า ภิกษุใด ยังเป็นเสขะอยู่ มีความประสงค์แห่งใจ (อรหัตตผล) อันตนยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ภิกษุนั้น

(๑) ย่อม จะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดิน โดยความ เป็นดินแล้ว ย่อม จะไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งดิน ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็นดิน ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายว่า ดินของเรา ย่อมจะไม่ เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?  ข้อนั้น เรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ลม ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๕) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ภูตสัตว์ ทั้งหลาย ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๖) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เทพ ทั้งหลาย ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๗) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๘) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง พรหม ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๙) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อาภัสสรพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๐) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สุภกิณ๎หพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ
(๑๑) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เวหัปผลพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ
(๑๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อภิภู ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
(๑๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดย รอบ
………....................................................................……………………………………………………..
 ๑. ข้อที่ (๑)เรื่องดิน และข้อที่ (๒๔)เรื่องนิพพานมีข้อความเต็มรูปเรื่องอย่างไร ในข้อที่ (๒) ถึงข้อที่ (๒๓) ซึ่งละไว้ด้วย...ฯลฯ...นั้น พึงเพิ่มข้อความให้เต็ม อย่างเดียวกัน.
……………………………………………….............................................................……………..


(๑๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๑๕) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๑๖) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๑๗) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๑๘) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได ้โดยรอบ.
(๑๙) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย) ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๒๐) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ) ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๒๑) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ) ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๒๒) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ) ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้ โดยรอบ.
(๒๓) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ) ...ฯลฯ... พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ.
(๒๔) ย่อมจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไป ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน ย่อมจะ ไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็น นิพพาน ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมายว่านิพพานของเรา ย่อมจะไม่เพลิน อย่างยิ่งซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ.

(เครื่องกำหนดภูมิ ของเสขบุคคล เป็นทุติยนัย จบแล้ว)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ฝ่ายภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้วอยู่จบ พรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตน อันตามบรรลุถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุแม้นั้น

(๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายในดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย โดย ความเป็นดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่าดินของเรา ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่พระขีณาสพนั้น ได้รู้โดยรอบแล้ว ...และเพราะ ว่า ความเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความ สิ้นไปแห่ง ราคะ ...ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความ สิ้นไป แห่งโทสะ ...ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความ สิ้นไป แห่งโมหะ.
(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง น้ำ ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ไฟ ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.

......................................................................................................................................
๑. ข้อที่ (๑) เรื่องดิน และข้อที่ (๒๔) มีข้อความเต็มรูปเรื่องอย่างไร ในข้อที่ (๒) ถึงข้อที่ (๒๓) ซึ่งละไว้ด้วย...ฯลฯ... นั้น พึงเพิ่มข้อความให้เต็ม อย่างเดียวกัน.
......................................................................................................................................

(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ลม ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ภูตสัตว์ ทั้งหลาย...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เทพ ทั้งหลาย ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง ปชาบดี ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง พรหม ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อาภัสสรพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สุภกิณ๎หพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เวหัปผลพรหม ทั้งหลาย ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อภิภู ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อากาสานัญจายตนะ ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง วิญญาณัญจายตนะ ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง อากิญจัญญายตนะ ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง รูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เสียงที่ได้ฟังแล้ว ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย) ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ) ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง เอกภาวะ (เอกตฺตํ) ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง นานาภาวะ (นานตฺตํ) ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง สรรพภาวะ (สพฺพํ) ...ฯลฯ... เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ.
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่ง นิพพาน โดยความเป็นนิพพาน

ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่ง นิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายในนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายโดย ความ เป็นนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่านิพพานของเรา ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? 

ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่พระขีณาสพนั้น ได้รู้โดยรอบแล้ว ...และ เพราะว่า ความเป็นผู้ราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความสิ้นไป แห่งราคะ ...ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะความ สิ้นไปแห่งโทสะ ...ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้วย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น เพราะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.

(เครื่องกำหนดภูมิ ของอเสขบุคคล เป็นตติย-ฉัฏฐนัย จบแล้ว)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  แม้ ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็- (๑) ย่อมรู้ชัดแจ้ง ซึ่งดิน โดยความเป็นดิน ครั้งรู้ชัดแจ้งซึ่งดิน โดยความเป็นดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญ มั่นหมายซึ่งดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายในดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็น ดิน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายว่าดินของเรา ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้โดยรอบแล้ว ...  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  และข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่งปฏิจจ สมุปบาท ข้อนี้) ว่า นันทิ เป็นมูลแห่งความทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ ชรามรณะ ย่อมมี แก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ตถาคตจึงชื่อว่าผู้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ทั้งหลาย เพราะความสำรอกไม่เหลือ เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความสลัดทิ้ง เพราะความสลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งน้ำ ...ฯลฯ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งไฟ ...ฯลฯ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งลม ...ฯลฯ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งภูตสัตว์ทั้งหลาย ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเทพทั้งหลาย ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งปชาบดี ...ฯลฯ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งพรหม ...ฯลฯ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
……………………………………................................................................……………………………..
๑.  ข้อที่ (๑) เรื่องดิน และข้อที่ (๒๔) เรื่องนิพพาน มีข้อความเต็มรูปเรื่องอย่างไร ในข้อที่ (๒) ถึงข้อที่(๒๓) ซึ่งละไว้ด้วย...ฯลฯ...นั้น พึงเพิ่มข้อความให้เต็ม อย่างเดียวกัน.
……………………………………................................................................……………………………..
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอาภัสสรพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการ ทั้งปวง ดังนี้.
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสุภกิณ๎หพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเวหัปผลพรหมทั้งหลาย ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอภิภู ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากาสานัญจายตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งวิญญาณัญจายตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากิญจัญญายตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งรูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเสียงที่ได้ฟังแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย) ...ฯลฯ... สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว (ทางมโนวิญญาณ) ...ฯลฯ... สลัดคืนโดย ประการทั้งปวง ดังนี้.
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเอกภาวะ (เอกตฺตํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนานาภาวะ (นานตฺตํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสรรพภาวะ (สพฺพํ) ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายซึ่งนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่น หมาย ในนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ย่อมไม่สำคัญมั่น หมายว่านิพพานของเรา ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?  ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้โดยรอบแล้ว ..

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! และข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่งปฏิจจ สมุปบาท ข้อนี้) ว่า นันทิ เป็นมูลแห่งความทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ ชรามรณะ ย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ตถาคตจึงชื่อว่าผู้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย เพราะความสำรอกไม่เหลือ เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความสลัดทิ้ง เพราะความสลัดคืนโดยประการทั้งปวง ดังนี้.

 (เครื่องกำหนดภูมิ ของพระศาสดา เป็นสัตตม-อัฏฐมนัย จบแล้ว)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        หมายเหตุผู้รวบรวม  ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความตามที่กล่าว มาแล้ว ทั้งหมดข้างบนนี้ มีความเป็นปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา อยู่ในส่วนลึก ต้องพิจารณาอย่างสุขุมจึงจะมองเห็น.

สิ่งแรกที่สุดก็คือ ธรรมทั้ง ๒๔ ประการ อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ของปุถุชน ดังที่กล่าวไว้ในสูตรนี้นั้น ยกพระนิพพานเสียอย่างเดียวแล้ว ย่อมกล่าวได้ว่าล้วนแต่ เป็น ปฏิจจสมุปปันนธรรม โดยตรง. สำหรับนิพพานนั้น ถ้าหมายถึง ทุกขนิโรธ ก็ยังคงอยู่ในขอบเขตแห่งอิทัปปัจจยตา หรือว่าเป็นปฏิจจสมุปบาทส่วนนิโรธวาระ อยู่นั้นเอง.

        ผู้รวบรวมมีเจตนานำเอาสูตรนี้มาแสดงไว้ในที่นี้ ด้วยความมุ่งหมายในการ ที่จะให้ผู้ศึกษาทุกท่าน พิจารณากันอย่างลึกซึ้งเช่นนี้ อันจะมีผลทำให้เห็นความ ลึกซึ้งของสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท สืบต่อไปข้างหน้า.

ส่วนข้อความที่ตรัสไว้โดยเปิดเผยถึงลักษณะ แห่งปฏิจจสมุปบาทในสูตรนี้ ก็ได้แก่ ข้อความตอนท้ายที่ตรัสว่า “นันทิ เป็นมูลแห่งความทุกข์ เพราะมีภพ จึงมีชาติ” นั่นเอง.

แม้จะกล่าวแต่โดยชื่อว่านันทิ ก็ย่อมหมายถึงอวิชชา ด้วย เพราะนันทิมาจากอวิชชา ปราศจากอวิชชาแล้ว นันทิหรืออุปาทานก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ นันทิหรืออุปาทานนั้น ย่อมทำให้มีภพ ซึ่งจะต้องมีชาติชรามรณะตามมา โดยไม่มีที่สงสัย.

ด้วยเหตุนี้เอง การนำเอาอาการของ ปฏิจจสมุปบาทมากล่าว แม้เพียงอาการเดียว ก็ย่อมเป็นการกล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท ทุกอาการอยู่ในตัว โดยพฤตินัยหรือ โดย อัตโนมัติ ดังนั้น การรู้แจ้ง ปฏิจจสมุปบาท เพียงอาการเดียว แม้โดยปริยายว่า “นันทิ เป็นมูลแห่งทุกข์” เท่านั้น ก็อาจจะสกัดกั้นเสียซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุปาทาน ในธรรม ทั้งหลาย ๒๔ ประการ

ดังที่กล่าวแล้วในสูตรนี้ได้ ตามสมควรแก่ความเป็นปุถุชน ความเป็นพระเสขะ ความเป็นพระอเสขะ และความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่สุด ขอให้พิจารณา ดูให้ดี ๆ ให้เห็นว่า ความลับแห่งความเป็นปฏิจจสมุปบาท ย่อมซ่อนอยู่ในกระแส ธรรม ทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม และธรรมเป็นที่ดับแห่งรูปและนาม ทั้งสองนั้น.


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์