เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 สัปปายสูตร การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะ และ ทิฐิ 1384
 

พระสูตรเดียวกัน เปรียบเทียบ ฉบับหลวง กั บ๕เล่มจากพระโอษฐ์

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐
สัปปายสูตร ๑
สัปปายสูตร ๒


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๗
สัปปายสูตรที่ ๑
สัปปายสูตรที่ ๒
สัปปายสูตรที่ ๓
สัปปายสูตรที่ ๔


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
P1383 : เอกภาวะ นานาภาวะ สรรพภาวะ ในนิพพาน ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง (อริยสัจจ์ และปฏิจจสมุปบาท๕ เล่มจากพระโอษฐ์)

P1528 : การเพิกถอนซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง (พระสูตรชุดเต็ม) ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๐

สัปปายสูตรที่ ๑

         [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะ และทิฐิ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้
ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งจักษุ ... ในจักษุ ...แต่จักษุ ... ว่าจักษุของเรา
ย่อมไม่สำคัญรูป ... ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ...
ย่อมไม่สำคัญ ซึ่งจักษุสัมผัส ...
ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ... ในเวทนานั้น ...
แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้สำคัญว่าเป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเป็นอื่นออกไป  จากที่สำคัญนั้น คือ สัตว์ในภพ ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลก  ย่อมเพลิดเพลิน เฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ

ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ... ในใจ ...แต่ใจ ... ว่า ใจของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่ง ธรรมารมณ์ ... ในธรรมารมณ์ ... แต่ธรรมารมณ์ ...ว่า ธรรมารมณ์ของเรา

ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ... ในมโนวิญญาณ ... แต่มโน วิญญาณ ... ว่า มโนวิญญาณของเรา

ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... แต่มโนสัมผัส ... ว่ามโนสัมผัส ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย... ในเวทนานั้น...  แต่เวทนานั้น ... ว่า เวทนานั้นเป็น ของเรา ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้นย่อมไม่สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ... ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ... แต่ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ... ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะ เป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอัน เป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความ สำคัญสิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะและทิฐิ

จบสูตรที่ ๙



สัปปายสูตรที่ ๒

         [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นที่สบายแก่การ เพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฐิแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การ  เพิกถอน ซึ่งความสำคัญ สิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหามาน ะและทิฐิเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุ ทั้งหลาย กราบทูล ว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตาม เห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ ที่จะตามเห็นสิ่ง นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

         พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ  หน่าย ทั้งใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนาทุกข เวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์...ทั้งในมโนวิญญาณ... ทั้งในมโน สัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย แก่การเพิกถอนซึ่ง ความสำคัญ สิ่งทั้งปวง ด้วยตัณหา มานะและทิฐิ ฯ

จบสูตรที่ ๑๐

จบสัพพวรรคที่ ๓



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๗

สัปปายสูตรที่ ๑

         [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดง ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน  แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็น อุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลาย ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนาหรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ

         ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สัปปายสูตรที่ ๒

         [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ จักษุสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ

         ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์  มโนวิญญาณ เป็นทุกข์มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอัน เป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๓

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สัปปายสูตรที่ ๓


         [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตาจักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ฯลฯ

         ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณ เป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา  หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา อันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๔

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สัปปายสูตรที่ ๔


         [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทา อันเป็นอุปการะแก่นิพพาน แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะ แก่นิพพานนั้นเป็นไฉน

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน
จักษุเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. รูป... จักษุวิญญาณ... จักษุสัมผัส... แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา  หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น สิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... แม้สุขเวทนา  ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะ ตาม เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในใจ แม้ใน ธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ




 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์