พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๖๖ (เรื่องอนาถบิณฑกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก) [๒๔๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น อารมณ์ว่า พรุ่งนี้เรา จะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ข่าวว่า เธอลุกขึ้น ในกลางคืนถึงสามครั้งเข้าใจว่า สว่างแล้ว จึงได้เดินไปโดยทาง อันจะไปประตูป่าสีตวัน พวก อมนุษย์ เปิดประตูให้ ขณะเมื่อเดิน ออกจากพระนคร แสงสว่างได้หายไป ความมืดปรากฏ แทน ความกลัว ความ หวาดเสียว ความขนพอง สยองเกล้า ได้บังเกิดแล้ว เธอได้คิดกลับจาก ที่นั้น…. ------------------------------------------------------------------------------------------ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๔๕ (เรื่องหมอชีวก โกมารภัจจ์) ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิดกับ อมนุษย์ เดินทางได้ วันละ ๖๐ โยชน์ จึงพระเจ้าปัชโชตดำรัสสั่งกากะมหาดเล็กว่า พ่อนาย กากะ เจ้าจงไปเชิญ หมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่า หมอเหล่านี้แลมีมารยามาก เจ้าอย่ารับวัตถุอะไรๆ ของเขา…. ------------------------------------------------------------------------------------------ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ปฏิปทาสูตรที่ ๔ (มรณาสติ) P1397 ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเรา ก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงทำกาลกิริยา(พิจารณาความตาย) อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาด ล้มลงก็ได้ อาหารที่เรา บริโภคแล้ว ไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะ ของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลาย พึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวก อมนุษย์ พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเรา พึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้น พึงมีแก่เรา ------------------------------------------------------------------------------------------ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๙ (มหาปทานสูตร) P336 [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ ลงสู่พระครรภ์ พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔ โดยตั้งใจว่า ใครๆ คือ มนุษย์ หรือ อมนุษย์ ก็ตามอย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์นั้น ได้ ข้อนี้เป็น ธรรมดา ในเรื่องนี้ ฯ.... ------------------------------------------------------------------------------------------ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้าที่ ๒๕๓ (ปายาสิราชัญญสูตร) P1341 .................พักเกวียนที่ตำบลที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ที่เจ็ด ก็มิได้เห็นหญ้า ฟืน หรือน้ำ ได้เห็นแต่หมู่เกวียนที่ได้ถึงความวอดวายเท่านั้น ได้เห็นแต่กระดูกของ มนุษย์ และปศุสัตว์ที่อยู่ในหมู่เกวียนนั้นเท่านั้น พวกนั้นถูก อมนุษย์ คือยักษ์กินแล้ว ลำดับนั้น นายกองเกวียนเรียกพวกเกวียนมาบอกว่า นี้คือหมู่เกวียนนั้นได้ถึงแก่ ความวอดวายแล้ว ------------------------------------------------------------------------------------------ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๑๕๐ P837 ....ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระญาณอันฉลาด แม้ พวกอมนุษย์ ก็ถวาย บังคม พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมาอย่างนั้น เนืองๆฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคม พระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ------------------------------------------------------------------------------------------ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๑๕๔ P745 (ลักขณสูตร คำทำนายมหาปุริสลัษณะ ๓๒) ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นี้ไม่พึงได้สักการะหรือเคารพ ในบ้าน หรือในนิคม ไม่พึงได้ เหย้าเรือนหรือที่อยู่ ในราชธานีซึ่งมีนามว่าอาฬกมันทา ไม่พึงได้เข้าสู่ ที่ประชุมของพวกยักษ์ อนึ่ง พวกอมนุษย์ทั้งหลายจะไม่พึงทำอาวาหะวิวาหะกับมัน พึงบริภาษมัน ด้วยคำบริภาษ อย่างเหยียดหยามเต็มที่พึงคว่ำบาตรเปล่าบนศีรษะมัน หรือพึงทุบศีรษะของมันให้แตกออก ๗ เสี่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ มีอยู่บ้าง ที่ พวกอมนุษย์ ที่ดุร้าย หยาบช้า กล้าแข็ง มันย่อมไม่เชื่อถือถ้อยคำของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถือถ้อยคำของราชบุรุษผู้ใหญ่แห่ง ท้าวมหาราช