เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สังฆเภท (แสดงธรรม ไม่ตรงกับคำสอนฯ) สังฆสามัคคี (แสดงธรรมได้ถูกต้อง ตรงกับคำสอน) 731
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

สังฆเภท (แสดงธรรม ไม่ตรง กับคำสอนฯ)
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป
๑. ตถาคตแสดง
อธรรม ว่าเป็นธรรม
๒. แสดงธรรม ว่าเป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่ง
ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๔. แสดงวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๕. แสดงคำอันตถาคต
มิได้ตรัสภาษิตไว้ ว่าตถาคตภาษิตไว้
๖. แสดงคำอันตถาคตตรัสตรัสไว้ ว่าตถาคตมิได้ตรัสไว้
๗. แสดงกรรมอันตถาคต
มิได้ประพฤติมา ว่าตถาคตประพฤติมา
๘. แสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมา ว่าตถาคตมิได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคต
มิได้บัญญัติไว้ ว่าตถาคตบัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าตถาคตมิได้บัญญัติไว้
๑๑. แสดง
อนาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติ ว่าเป็นอนาบัติ
๑๓. แสดง
อาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดง
อาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๗. แสดง
อาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ

.........................................................................................................................................

สังฆสามัคคี (แสดงธรรม ได้ถูกต้อง ตรงกับคำสอน)

๑. แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม
๒. แสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
๔. แสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
๕. แสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า ตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
๖. แสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า ตถาคตตรัสภาษิตไว้
๗. แสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า ตถาคตมิได้ประพฤติมา
๘. แสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า ตถาคตประพฤติมาแล้ว
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้
๑๐.แสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
.........................................................................................................................................

นิคมคาถา
ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย... ตกนรก อยู่ชั่วกัป
ภิกษุผู้ยินดีในการแตกพวก... ย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ภิกษุทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว...ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ

ภิกษุสมานสงฆ์ ที่แตกกันแล้วให้ พร้อมเพรียงกัน ...ย่อมได้บุญอันประเสริฐ
ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป

.........................................................................................................................................

ผู้ทำลายสงฆ์(ลักษณะนี้) ต้องเกิดในอบาย
ภิกษุผู้แสดงธรรมที่ตรงกันข้าม (กระทำสังฆเภท) เป็นการทำลายสงฆ์

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพรางความเห็น อำพราง ความถูกใจอำพรางความชอบใจ
อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
คติ
ดูกรอุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ ไม่ได้
.........................................................................................................................................

ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย
ภิกษุที่ทำลายสงฆ์ แต่แสดงธรรมได้ถูกต้อง
ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่า เป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็นไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพรางความ
ชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่านี้ธรรมนี้ วินัยนี้ สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย
จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
คติ
ดูกรอุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้



 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๘ – หน้า ๑๔๔


สังฆเภท

           [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา
๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

           พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมแยกทำ อุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม

           
ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว


 

สังฆสามัคคี

           [๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า  สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม
๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส ภาษิตไว้
๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมา
๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคต ประพฤติมาแล้ว
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้ บัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

           พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่ แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม
 ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน ฯ

           [๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ



นิคมคาถา

           [๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัปภิกษุผู้ยินดี ในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้วย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ฯ

           [๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ที่ แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้  พร้อมเพรียงกันย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ

นิคมคาถา

           [๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุน ผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษม จากโยคะ

ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว  ย่อมบรรเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป ฯ



ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย

           [๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มี

อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้

อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือ ได้

อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ ไม่ได้ เป็นไฉน

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพรางความเห็น อำพราง ความถูกใจอำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

           ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือ ไม่ได้

           อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่า เป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความ ถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ ใจสลากนี้

ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

           อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรมมีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง ความถูกใจ อำพรางความชอบใจอำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

           ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

           อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรม นั้นว่าเป็นธรรมมีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม ...
... มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีความสงสัยในความแตกกัน ...
... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม ...
... มีความสงสัยในอธรรมนั้นมีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม ...
... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง ความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัยนี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

           ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

           อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ...
ย่อมแสดงสิ่งมิใช่ วินัยว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงวินัยว่า มิใช่วินัย

ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้

ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว
ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาแล้ว

ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้

ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ

ย่อมแสดงอาบัติเบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
ย่อมแสดงอาบัติหนัก ว่าเป็นอาบัติเบา

ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือ ว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้  ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ

มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม

มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม
มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน

มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม  
มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม
มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน

อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศ ให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

           ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้



ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย


          [๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบายไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน

พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า

ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่า เป็นธรรม
ไม่อำพรางความเห็นไม่อำพรางความถูกใจ
ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง
ย่อมประกาศให้จับสลากว่านี้ธรรมนี้ วินัยนี้ สัตถุศาสน์
ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

           ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

           อนึ่ง อุบาลี ภิกษุ
ย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ...
ย่อมแสดงอาบัติชั่ว  หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
มีความเห็นในธรรมนั้น ว่าเป็นธรรม
มีความเห็นใน ความแตกกันว่าเป็นธรรม
ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ
ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง

           ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์