เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ปฏิปทาสูตรที่ ๔ (มรณาสติ) ปัจจัยแห่งความตายมีมากหนอ 1397
 

(โดยย่อ)

ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ
1.งูพึงกัดเราก็ได้
2.แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้
3.ตะขาบพึงกัดเรา ก็ได้
4.เราพึงพลาด ล้มลงก็ได้
5.อาหารที่เรา บริโภคแล้ว ไม่ย่อยเสียก็ได้ 
6.ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะ ของเราพึงกำเริบก็ได้
7. ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้
8.มนุษย์ทั้งหลาย พึงเบียดเบียนเราก็ได้
9 พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้

ภิกษุนั้น พึงกระทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ ท้อถอย สติและ สัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรม อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือน คนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือ ศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓

ปฏิปทาสูตรที่ ๔ (มรณาสติ)

           [๑๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักก่อด้วยอิฐชื่อ นาทิกะ ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลายมรณสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด 

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันสิ้นไป กลางคืนเวียนมาย่อม พิจารณาดังนี้ว่า

ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ
คือ
งูพึงกัดเราก็ได้
แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้
ตะขาบพึงกัดเรา ก็ได้
เพราะเหตุนั้น เราพึงทำกาลกิริยา(พิจารณาความตาย) อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา

เราพึงพลาด ล้มลงก็ได้
อาหารที่เรา บริโภคแล้ว ไม่ย่อยเสียก็ได้ 
ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะ ของเราพึงกำเริบก็ได้
ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้
มนุษย์ทั้งหลาย พึงเบียดเบียนเราก็ได้
พวก อมนุษย์ พึงเบียดเบียนเราก็ได้
เพราะเหตุนั้นเรา พึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้น พึงมีแก่เรา 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันเรายังละ ไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุ พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็น บาปอกุศล อันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็น อันตราย แก่เรา ผู้ทำกาละในกลางคืน มีอยู่ 

ภิกษุนั้น พึงกระทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรม อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือน คนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุ พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันเรายังละไม่ได้ ที่จะเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้มีปีติ และปราโมทย์หมั่นศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนสิ้นไป กลางวันเวียนมาถึง ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรา มีมากหนอ คือ

งูพึงกัดเราก็ได้
แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้
ตะขาบพึงกัดเราก็ได้
เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้น พึงมีแก่เรา

เราพึงพลาดล้มลงก็ได้
อาหารที่เราบริโภคแล้ว ไม่ย่อยเสียก็ได้ 
ดีของเราพึงซ่าน ก็ได้
เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้
ลมมีพิษดังศาตราของเรา พึงกำเริบ ก็ได้ 
มนุษย์ทั้งหลาย พึงเบียดเบียนเราก็ได้
พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้
เพราะเหตุนั้น เราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันเรา ยังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึง ทำอันตรายแก่เราผู้ทำกาละ ในกลางวัน มีอยู่ 

ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความ ไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนบุคคล มีผ้าถูกไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ

จบสูตรที่ ๔






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์