เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 คนธรรพ์ รวมพระสูตรเรื่อง คนธรรพ์ 837
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

1.คนธรรพ์ เป็นสัตว์ อาศัยในมหาสมุทร ร่วมกับปลาใหญ่ชนิดต่างๆ รวมทั้ง อสูร และนาค
2. คนธรรพ์ และสัตว์ชนิดอื่น มีลำตัวใหญ่มาก 100 โยชน์ - 500 โยชน์ (8,000 กม.)


1. เทวดาชั้นพรหม ลงมานั่งบัลลังค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาประชุม
2. เทวดาชั้นดาวดึงส์ ถ้านับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และมีศีลบริบูรณ์ หลังกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงเทวดาชั้นกามภพแต่ละชั้น ตามกำลังอินทรีย์
3. ส่วนเทวดาชั้นดาวดึงส์ ที่ทำตัวเลวกว่าคนอื่น จะได้ไปเกิด ในหมู่เทพคนธรรพ์

1.สาวกของพราหมณ์ ที่รู้ทั่วถึงของคำสอนตถาคตหลังกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติชั้นพรหม
2.ส่วนผู้ที่รู้คำสอนไม่ทั่วถึง ย่อมเข้าถึงเทวดาชั้นกามภพ ตามกำลังอินทรีย์ของแต่ละคน

 

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๘๓

1
คนธรรพ์ เป็นสัตว์ อาศัยในมหาสมุทร ร่วมกับปลาใหญ่
[๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ๆ สัตว์ใหญ่ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติ มิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ ก็มี สามร้อย โยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี  ห้าร้อยโยชน์ก็มี
โดยย่อ :
1.คนธรรพ์ เป็นสัตว์ อาศัยในมหาสมุทร ร่วมกับปลาใหญ่ชนิดต่างๆ รวมทั้ง อสูร และนาค
2.คนธรรพ์ และสัตว์ชนิดอื่น มีลำตัวใหญ่มาก 100 โยชน์ - 500 โยชน์ (8,000 กม.)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๖๒

2
เทวดาชั้นดาวดึงส์ที่ทำตัวเลว จะได้ไปเกิดในหมู่เทพคนธรรพ์
ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมนิรมิต อัตภาพ ๓๓ อัตภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ของเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ทุกๆบัลลังก์ แล้วเรียก เทวดาชั้นดาวดึงส์ มากล่าวว่าเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ผู้เจริญจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเพียงไร ชนเหล่าใด นับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง นับถือพระธรรมเป็นที่พึ่ง นับถือพระสงฆ์เป็น ที่พึ่ง บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ชนเหล่านั้นเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก
 
  บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี
   บางพวกถึงความเป็น สหายของเทวดาชั้นนิมมานรดี
   บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดุสิต    บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นยามะ    บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์    บางพวกถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นจาตุมหาราช
เหล่าใดยังกายให้บริบูรณ์เลวกว่าเขาหมด
เหล่านั้นย่อมเพิ่มจำนวนหมู่
ทพคนธรรพ์
โดยย่อ :
1. เทวดาชั้นพรหม ลงมานั่งบัลลังค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาประชุม
2. เทวดาชั้นดาวดึงส์ ถ้านับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และมีศีลบริบูรณ์ หลังกายแตกทำลาย ย่อมเข้าถึงเทวดาชั้นกามภพแต่ละชั้น ตามกำลังอินทรีย์
3. ส่วนเทวดาชั้นดาวดึงส์ ที่ทำตัวเลวกว่าคนอื่น จะได้ไปเกิด ในหมู่เทพคนธรรพ์


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๘๙

3
พราหมณ์ที่รู้คำสอนแต่น้อยไปเกิดเป็นคนธรรพ์ ผู้รู้ทั่วถึงไปเกิดเป็นพรหม
สมัยนั้น บรรดาสาวกของ มหาโควินท พราหมณ์ ซึ่ง รู้คำสั่งสอนทั่วทั้งหมด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติพรหมโลก ผู้ที่ไม่รู้คำสั่งสอน ทั่วทั้งหมด เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก
   บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
   บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย  ของเทวดาชั้นนิมมานรดี
   บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาชั้นดุสิตบาง  
   พวกเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นยามา
   บางพวกเข้าถึง ความเป็นสหายของ  เทวดาชั้นดาวดึงส์
   บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายของ เทวดาชั้น จาตุมหาราชิก    ผู้ที่บำเพ็ญกายต่ำกว่าเขาทั้งหมด ก็ยังกาย คนธรรพ์ ให้บริบูรณ์ได้ ด้วยประการฉะนี้แล บรรพชาของกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร

โดยย่อ :
1.สาวกของพราหมณ์ ที่รู้ทั่วถึงของคำสอนตถาคตหลังกายแตก ย่อมเข้าถึง สุคติชั้นพรหม
2.ส่วนผู้ที่รู้คำสอนไม่ทั่วถึง ย่อมเข้าถึงเทวดาชั้นกามภพ ตามกำลังอินทรีย์ของแต่ละคน


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๙๔

4
คนธรรพ์เป็นท้าวมหาเทวราช
[๒๔๓] พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ มาด้วยกัน มีชื่อคือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑  วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑
และ ท้าวเทวราชทั้งหลาย ผู้มีนามว่าปนาทะ ๑ โอปมัญญะ ๑ เทพสารถี มีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คนธรรพ์ ๑  นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสาเทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น
ราชาและคนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น กับเทวราชทั้งหลายยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็น ที่ประชุมของภิกษุอนึ่งเหล่านาค ที่อยู่ในสระ ชื่อนภสะบ้าง อยู่ในเมืองเวสาลีบ้าง พร้อมด้วยนาคบริษัทเหล่าตัจฉกะกัมพลนาค และ อัสสตรนาคก็มา นาคผู้อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ กับญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ใน แม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศ ก็มา เอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่าอันเป็น ที่ประชุมของภิกษุ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๐๓

5
ภิกษุผู้ละไม่ละกามคุณ ๕ ย่อมเช้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ
ในเมืองกบิลพัสดุ์นี้เอง ได้มีศากยธิดานามว่า โคปิกา เป็นคนเลื่อมใส ใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญ ศีลบริบูรณ์ นางคลายจิตในความ เป็นสตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ ถึงความอยู่ร่วมกับ เทวดาชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของข้าพระองค์ พวกเทวดา ในดาวดึงส์นั้น รู้จักเธอ อย่างนี้ว่า โคปกเทวบุตรๆ

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุอื่นสามรูป ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ คนธรรพ์พวกนั้นเพียบพร้อม ไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ มาสู่ที่บำรุงบำเรอ ของข้าพระองค์

โคปกเทวบุตรได้ตักเตือนคนธรรพ์ พวกนั้น ผู้มาสู่ที่ บำรุงบำเรอของข้าพระองค์ว่า

ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เอาหน้าไปไว้ที่ไหน พวกท่านรวบรวมพระธรรมของพระผู้มีพระภาค นั้น ไว้เราเป็นแต่สตรี เลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บำเพ็ญศีลบริบูรณ์ คลายจิตในความเป็นสตรี อบรมจิตในความเป็นบุรุษ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ถึงความอยู่ร่วมกับ เทวดา ชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นบุตรของ ท้าวสักกะจอมเทพ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตรๆ

ส่วนพวกท่าน ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เข้าถึงหมู่ คนธรรพ์อันต่ำ พวกเราได้เห็น สหธรรมิกที่เข้าถึงหมู่คนธรรพ์อันต่ำ นับว่าได้เห็นรูป ที่ไม่น่าดูแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ คนธรรพ์พวกนั้น ถูกโคปกเทวบุตร ตักเตือนแล้ว เทวดาสององค์กลับ ได้สติในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงกายอันเป็น ชั้นพรหมปุโรหิต ส่วนเทวดาองค์หนึ่ง คงตกอยู่ในกามภพ

                [๒๕๓] เราเป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุนามของเรา ได้ปรากฏ ว่าโคปิกาเราเลื่อมใสยิ่งแล้วในพระพุทธเจ้า พระธรรม และมีจิตเลื่อมใส บำรุงพระสงฆ์ เพราะความที่พระธรรมของ พระพุทธเจ้าพระองค์ นั้นแหละเป็นธรรมดี เราได้เป็นบุตร ท้าวสักกะมีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึงชั้นไตรทิพย์ แม้ในที่นี้ พวกเทวดารู้จักเราว่า โคปกเทวบุตรเราได้มาเห็นพวกภิกษุที่เป็นสาวกของ พระโคดม ซึ่งเคยเห็นมาแล้ว

ครั้งที่เรายังเป็นมนุษย์ และบำรุงด้วยข้าวน้ำ สงเคราะห์ ด้วยการล้างเท้า และทาเท้า ให้ในเรือนของตน มาเข้าถึงหมู่ คนธรรพ์ อยู่ในหมู่ คนธรรพ์ ท่านพวกนี้เอาหน้า ไปไว้ไหน จึงไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ธรรม ที่วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตัว อัน พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงดีแล้วแม้เราก็เข้าไปหาพวกท่าน ได้ฟังสุภาษิตของพระอริยะทั้งหลาย เราได้เป็นบุตร ท้าวสักกะ มีอานุภาพมาก มีความรุ่งเรืองใหญ่หลวง เข้าถึงชั้นไตรทิพย์

ส่วนพวกท่าน เข้าไปนั่งใกล้ พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม ยังมาเข้าถึงกายอันต่ำ การอุปบัติของพวกท่าน ไม่สมควร เราได้มาเห็นสหธรรมิก เข้าถึงกายอันต่ำ นับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูแล้ว พวกท่านผู้เข้าถึงหมู่คนธรรพ์ ต้องมาสู่ที่ บำเรอของพวกเทวดา ขอให้ท่านดูความ วิเศษอันนี้ ของเราผู้อยู่  ในเรือนเถิด เราเป็นสตรี วันนี้เป็นเทวบุตร ผู้พร้อมพรั่ง ไปด้วยกามอันเป็นทิพย์

คนธรรพ์พวกนั้น มาพบโคปกเทวบุตร อันโคปกเทวบุตร ผู้สาวกพระโคดมตักเตือน แล้ว ถึงความสลดใจ คิดว่า เอาเถิด พวกเราจะ พากเพียร พยายามพวกเรา จะไม่เป็นคนใช้ของผู้อื่น บรรดาคนธรรพ์ทั้ง ๓ นั้น คนธรรพ์ ๒ คนระลึก ถึง คำสอนพระโคดมแล้ว ปรารภความเพียร คลายจิตในภพนี้ได้เห็นโทษ ในกามแล้ว ตัดกาม  สังโยชน์ และเครื่องผูก คือกามอันเป็นบ่วงของมาร ซึ่งยาก ที่จะล่วงไปได้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เพราะตัดเสียได้ ซึ่งกามคุณอันมีอยประดุจช้าง ตัดบ่วงบาสได้ ฉะนั้นเทวดาทั้งหมด พร้อมทั้งพระอินทร์พร้อมทั้งท้าว ปชาบดี เข้าไป นั่งประชุมกันในสภา ชื่อ สุธรรมา ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า ปราศจากราคะ บำเพ็ญ วิรชธรรม อยู่ ก็หาก้าวล่วงเทวดาพวกนั้นไม่ ท้าววาสพผู้เป็นใหญ่ยิ่งของ พระผู้มีพระภาค อันท้าวสักกะจอมเทพ ทูลถามปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า

ดูกรจอมเทพ พวกเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีความริษยา และความ ตระหนี่ เป็นเครื่อง ผูกพัน ใจไว้อนึ่ง ชนเป็นอันมากเหล่าอื่นนั้น เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มี ความพยาบาท ย่อมปรารถนาว่า ขอพวกเรา จงเป็น ผู้ไม่มีเวรอยู่เถิด ก็และพวกเขามีความ ปรารถนาอยู่ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็น ผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ พระผู้มีพระภาค  อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถาม ปัญหาแล้ว ทรงพยากรณ์ ด้วยประการฉะนี้

[๒๗๑] ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสเรียก ปัญจสิขคันธรรพบุตร มา แล้วตรัสว่า พ่อปัญจสิขะ พ่อเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ด้วยเหตุที่พ่อให้พระผู้มี พระภาค ทรงพอพระหฤทัยก่อน พ่อให้พระองค์ทรงพอ พระหฤทัยก่อนแล้ว  ภายหลังพวกเราจึงได้ไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น เราจักตั้งพ่อ ไว้ในตำแหน่งแทนบิดา พ่อจัก เป็นราชาแห่งคนธรรพ์ และเราจะให้ นางภัททาสุริยวัจฉสาแก่พ่อ เพราะว่า นางนั้น พ่อปรารถนายิ่งนักฯ

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเอาพระหัตถ์ตบปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๔๘

6
คนธรรพ์เป็นทหารของท้าวมหาราชทั้ง ๔
[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขา คิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นท้าวมหาราช ทั้ง ๔ ตั้งการรักษาไว้ ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งพลขันธ์ ไว้ทั้ง ๔ทิศ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนา คนธรรพ์ กองใหญ่ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่ และด้วยเสนานาค กองใหญ่ เมื่อราตรีล่วง ปฐมยามไปแล้ว เปล่งรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขา คิชฌกูฏทั้งสิ้น ให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัย กับ พระผู้มี พระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลี ไปทางที่พระผู้มีพระภาค ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตร แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
(คนธรรพ์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วจะนั่ง ต่างจากพวกเทวดาจะยืน ณ ที่ควร บางพวกลอย ในอากาศ)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๐

7
[๒๑๐] แต่ที่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่า ปุริมทิศ ที่ ท้าวมหาราช ผู้ทรงยศเป็นเจ้า เป็นใหญ่ของ พวกคนธรรพ์ ทรงนามว่า ท้าวธตรฏฐ์ อันพวกคนธรรพ์แวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปราน ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรส ของท้าวเธอ มีมากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีพระนามว่าอินทะ ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าวธตรฏฐ์ และโอรสเหล่านั้นเห็นพระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ปราศจาก ความครั่นคร้าม แต่ที่ไกลว่า ข้าพระพุทธเจ้า ขอนอบน้อม แด่พระองค์ พระอุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อม แด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชน ด้วยพระญาณ อันฉลาด แม้พวก อมนุษย์ ก็ถวายบังคมพระองค์

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้สดับมาอย่างนั้นเนืองๆฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากัน ตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอถวายบังคมพระพุทธเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะชน ทั้งหลายผู้กล่าวส่อเสียด ผู้กัดเนื้อข้างหลัง ทำ ปาณาติบาตลามก เป็นโจร เป็นคนตลบตะแลง ตายแล้วชนทั้งหลาย พากันกล่าวว่า จงนำออกไปโดยทิศใด ฯ

[๒๑๑] แต่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่าทักขิณทิศที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ ของพวก กุมภัณฑ์(ยักษ์) ทรงนามว่า ท้าววิรุฬหะ อันพวกกุมภัณฑ์แวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปราน ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรส ของท้าวเธอ มีมากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์ มีพระนามว่า อินทะ ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าว วิรุฬหะ และโอรสเหล่านั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม แต่ที่ไกลว่า พระบุรุษอาชาไนย

ข้าพระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระองค์ พระบุรุษอุดม ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อม แด่พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชน ด้วยพระญาณ อันฉลาด แม้พวก อมนุษย์ ก็ถวายบังคมพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมา อย่างนั้น เนืองๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวาย บังคมพระชินโคดม หรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ขอถวาย บังคมพระพุทธโคดม ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ พระสุริยาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ อัสดงคตในทิศใด และเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต กลางวัน ก็ดับไป ครั้นพระอาทิตย์ อัสดงคตแล้ว ย่อมเรียกกันว่ากลางคืน แม้น่านน้ำในที่ พระอาทิตย์ อัสดงคตแล้ว เป็นสมุทรลึก มีน้ำแผ่เต็มไปชน ทั้งหลายย่อมรู้จักน่านน้ำนั้น ในที่นั้นอย่างนี้ ว่าสมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๓

8
(ยักษ์ คนธรรพ์ ก็เป็นอมนุษย์)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดผู้หนึ่งจักเรียนการรักษา อันชื่อ ว่า อาฏานาฏิยะ นี้ให้แม่นยำ ให้บริบูรณ์แล้ว ถ้าอมนุษย์เป็นยักษ์ก็ตาม ยักษิณี ก็ตามบุตรยักษ์ก็ตาม ธิดายักษ์ก็ตาม ยักษ์ มหาอำมาตย์ก็ตามยักษ์บริษัท ก็ตาม ยักษ์ ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นคนธรรพ์ก็ตาม นางคนธรรพ์ก็ตาม บุตรคนธรรพ์ ก็ตาม ธิดา คนธรรพ์ก็ตาม คนธรรพ์มหาอำมาตย์ก็ตาม คนธรรพ์บริษัทก็ตาม คนธรรพ์ ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นกุมภัณฑ์ก็ตาม นางกุมภัณฑ์ก็ตามบุตรกุมภัณฑ์ ก็ตามธิดา กุมภัณฑ์ก็ตาม กุมภัณฑ์มหาอำมาตย์ก็ตาม กุมภัณฑ์บริษัทก็ตาม กุมภัณฑ์ ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นนาคก็ตาม นางนาคก็ตาม บุตรนาคก็ตาม ธิดานาคก็ตาม นาคมหาอำมาตย์ก็ตาม นาคบริษัทก็ตาม นาคผู้รับใช้ก็ตาม ซึ่งมีจิตประทุษร้าย พึงเดินตาม ยืนใกล้ นั่งใกล้นอนใกล้ ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ซึ่งกำลังเดิน ยืน นั่ง นอนอยู่

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นยักษ์ก็ตามยักษิณี ก็ตาม บุตรยักษ์ ก็ตาม ธิดายักษ์ก็ตาม ยักษ์มหาอำมาตย์ก็ตาม ยักษ์บริษัทก็ตาม ยักษ์ ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นคนธรรพ์ก็ตาม นางคนธรรพ์ก็ตาม บุตรคนธรรพ์ก็ตาม ธิดา คนธรรพ์ก็ตาม คนธรรพ์ มหาอำมาตย์ก็ตาม คนธรรพ์บริษัทก็ตาม คนธรรพ์ ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นกุมภัณฑ์ ก็ตาม นางกุมภัณฑ์ก็ตาม บุตรกุมภัณฑ์ก็ตาม ธิดากุมภัณฑ์ก็ตาม กุมภัณฑ์มหาอำมาตย์ก็ตาม กุมภัณฑ์บริษัทก็ตาม กุมภัณฑ์ผู้รับใช้ก็ตาม เป็นนาคก็ตาม นางนาคก็ตามบุตรนาคก็ตาม ธิดานาคก็ตามนาคมหาอำมาตย์ก็ตาม นาคบริษัทก็ตาม นาคผู้รับใช้ก็ตาม มีจิตประทุษร้ายพึงเดินตาม ยืนใกล้ นั่งใกล้ นอนใกล้ ภิกษุก็ดี ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดีซึ่งกำลัง เดิน ยืน นั่ง นอนอยู่ อันภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกานั้น พึงยกโทษพึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดีว่า ยักษ์ตนนี้ย่อมจับ ยักษ์ตนนี้ย่อมสิง ยักษ์ตนนี้ย่อมเบียดเบียน ยักษ์ตนนี้ ย่อมบีบคั้น ยักษ์ตนนี้ย่อมทำให้ลำบาก ยักษ์ตนนี้ย่อมทำให้ยาก ยักษ์ตนนี้ย่อมไม่ปล่อย ดังนี้ ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๖


(จากหลักฐานอื่น ยักษ์แบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นสูง ชั้นหลาง ชั้นต่ำ บางพวกเสื่อมใส ตถาคต บางพวก ไม่เลื่อมใส พวกไม่เลื่อมใสเพราะไม่ชอบใจ พระผู้มีพระภาคแสดงธรรม เรื่องศีล5)

(ยักษ์ไม่ชอบประพฤติอยู่ในศีล5 ไม่ได้งดเว้นกาเม ยังเสพสุรา-เมรัย)

9
[๒๑๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในราตรีนี้ท้าวมหาราชทั้ง ๔  ตั้งการรักษาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งพลขันธ์ไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งผู้ตรวจตรา ไว้ทั้ง ๔ ทิศด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่ และด้วยเสนานาค กองใหญ่ เมื่อราตรีล่วงปฐมยามไปแล้ว ได้เปล่งรัศมีงามยิ่งยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเรา ถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนยักษ์เหล่านั้น บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีมาทางที่เราอยู่ แล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศนามและโคตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนิ่งเฉย แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง   แล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นกลางบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี ยักษ์ชั้นต่ำบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคก็มี พระพุทธเจ้าข้า

แต่โดยมากยักษ์ทั้งหลายมิได้เลื่อมใส ต่อพระผู้มีพระภาคเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เพื่องดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่อ งดเว้นจาก อทินนาทาน ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรม เพื่อ งดเว้นจากมุสาวาท ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต มิได้ งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งด เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาท มิได้ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย* อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท ข้อที่พระองค์ ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์ เหล่านั้น ฯ พระพุทธเจ้าข้า ก็พระสาวก ของพระผู้มีพระภาค บางพวก ย่อมเสพราว ไพรในป่า เสนาสนะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้เดิน เข้าออก ควรแก่การทำกรรม อันเร้นลับ ของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวก มักอยู่ในป่านั้น พวกใดมิได้
*(ยักษ์กินเหล้า)


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๒๘๑

(พวกเทวดาซึ่ง นับเนื่อง ในหมู่คนธรรพ์ )
(คนธรรพ์เป็นสหายของเทวดา)

10

[๕๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร สาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะ ภิกษุทั้งหลาย ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง พวกเทวดาซึ่ง นับเนื่อง ในหมู่คนธรรพ์ แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาซึ่งนับเนื่อง ในหมู่ คนธรรพ์เป็นไฉน?

พวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้ มีกลิ่นที่รากก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้ มีกลิ่น ที่แก่นก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้ มีกลิ่นที่กะพี้ก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี สิงอยู่ที่ ต้นไม้มีกลิ่น ที่กะเทาะก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอกก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น ที่กลิ่นก็มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์

ว่าด้วยเหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์

[๕๓๘] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของ พวกเทวดา ซึ่งนับเนื่อง ในหมู่ คนธรรพ์ พระเจ้าข้า?

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้สดับ มาว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ มีอายุยืน มีวรรณะงามมีความสุขมาก. เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา ซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์.

ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์. ดูกรภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์.


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๐๔

11
ปัญจสิขสูตร
(คนธรรพ์ถามพระผู้มีพระภาคว่า อะไรเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวก นิพพานในปัจจุบัน บางพวก ไม่นิพพานในปัจจุบัน ทรงตอบว่า ความปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพัน ธรรมารมณ์นั้น ตัณหาย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน)

[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิขเทพบุตร ผู้เป็นบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่อง ให้สัตว์ บางจำพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจน่ารักชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่นพัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอ เพลิดเพลิน หมกมุ่น  พัวพัน ธรรมารมณ์นั้นอยู่วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้น ย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหา นั้นย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูกรปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๕๒

12
(คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกาย ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ ๓๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ )
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ และสิ่งมีชีวิตใน มหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลาพวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกาย ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัย ของสิ่งที่มีชีวิต ใหญ่ๆ และสิ่ง มีชีวิต ในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐โยชน์ ก็มีอยู่นี้ เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวก อสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้แลธรรมที่น่า อัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้บ้างหรือ ฯ


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๕๒

13

(คนธรรพ์บรรเลงดนตรี )

[๓๖]  ดูกรนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง ประดับประดา ด้วยเครื่อง ก็ล้วนเหลือง เธอถึง จะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงามเหลืองอร่ามเช่นนี้ ก็ยังงาม โดยธรรมชาติ ดูกรนางเทพธิดา ผู้มี เครื่องประดับ ล้วนแต่ทองคำธรรมชาติ แก้วไพฑูรย์ จินดา มีกายาปกคลุมไว้ด้วยร่างแหทองคำเหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้ว สีต่างๆ สายแก้วเหล่านั้น ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ แก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ บางสายก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลาย คล้ายตาแมวบ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดง คล้ายสีเลือด บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วอันสดใสสีตานกพิลาป เครื่องประดับทั้งหมดที่ตัวของ ท่าน นี้ทุกๆ สาย ยามต้องลมพัด มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง พญาหงส์ทอง หรือ เสียงนก การะเวก หรือมิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริยดนตรี ที่พวก คนธรรพ์พากันบรรเลง เป็นคู่ๆ อย่างไพเราะน่าฟังก็ปานกัน อนึ่ง รถของท่านงดงามมาก หลากไปด้วย เนาวรัตน นานาพรรณ อันบุญกรรมจัดสรรมาให้จากธาตุนานาชนิด ดูมูลมองพิจิตรจรัส จำรูญยาม ท่านยืนอยู่เหนือ สุพรรณรถขับไปถึงประเทศใด ที่ตรงนั้นก็สว่างไสว ไปทั่ว ถึงกัน


14
(คนธรรพ์บรรเลงดนตรี )

(คนธรรพ์ นุ่งห่มผ้าแดง และ ผ้าเหลือง อันน่ากำหนัดรักใคร่ มีตากว้างยาว มีดวงตางาม มีสรีระงดงาม หัวเราะ เพราะพริ้ง)
ดังดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลบรรเลงแล้ว เสียงรถเสียง เครื่องประดับทั้งหลาย เสียงบันลือแห่งกลีบม้า เสียงม้าคำรนร้อง และเสียงเทพเจ้าผู้บันเทิง ดังไพเราะ น่าฟัง ดังดนตรีแห่ง คนธรรพ์ในสวนจิตรลดา มีนางเทพอัปสรทั้งหลายยืนอยู่ บนรถ มีดวงตารุ่งเรืองดังตา ลูกเนื้อทราย มีขนตาดก มีหน้ายิ้มแย้มพูดจาอ่อนหวาน มีสรีระปกคลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวพรรณอันละเอียดอ่อน ผู้อันคนธรรพ์เทวดา ผู้เลิศบูชาแล้ว นุ่งห่มผ้าแดง และ ผ้าเหลือง อันน่ากำหนัดรักใคร่ มีตากว้างยาว มีดวงตางาม มีสรีระงดงาม หัวเราะ เพราะพริ้ง เกิดแล้วในตระกูล

นางอัปสรทั้งหลาย ยืนประนมปรากฏอยู่บนรถ สอดสวม กำไลทอง มีร่างส่วนกลาง งดงาม มีลำขา และ ถันอันสมบูรณ์ นิ้วมือกลม หน้างาม น่าดู น่าชม

นางอัปสรบางพวก ยืนประนมมือ อยู่บนรถ มีช้องผมอันงาม ล้วนแต่เป็นสาวรุ่นๆ มีผมอันสอดแซมด้วยแก้ว มาลา ลอนผมเรียบร้อย งดงาม แบ่งออกเท่าๆ กัน นางอัปสร เหล่านั้น มีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่านนางอัปสรทั้งหลาย ยืนประนมมือ ปรากฏบนรถ บางเหล่าสวมพวงมาลัย ปกคลุมไปด้วยดอกประทุมและดอกอุบล ตบแต่งแล้วด้วย มาลา มาลัย ลูบไล้ ด้วยแก่นจันทน์ นางเทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยา เรียบร้อย มีใจยินดีต่อ ท่าน นางเทพ อัปสรทั้งหลายยืนประนมมือ ปรากฏอยู่บนรถ บางพวกสว่างไสวไปทั่ว ทุกทิศ ด้วยเครื่องประดับทั้งหลายที่ประดับแล้วที่คอที่มือ ที่เท้า ที่ศีรษะ ดุจพระอาทิตย์ ส่องแสง อุทัย ในสารทกาล ดอกไม้และเครื่องประดับ ที่แขนทั้งสอง อันกำลังลมพัด พานแล้ว ย่อมเปล่ง


15
(คนธรรพ์ฟ้อนรำ คนธรรพ์ประมาณ ๖ พัน แบ่งเป็น ๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่)

[๒๗๙] พระเจ้าปนาทะมีปราสาททอง กว้างโยชน์กึ่ง สูง ๒๕ โยชน์ มีชั้นพันชั้นร้อยพื้น สล้างสลอนไปด้วยธง แวดล้อมไปด้วยแก้วมณีมีสีเขียวเหลือง ในปราสาทนั้น มี คนธรรพ์ประมาณ ๖ พัน แบ่งเป็น ๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่.


16
(ท้าวสักกะ พรหมเทวดา ผู้เป็นพระราชา ของคนธรรพ์ )

[๑๓๔๘] พญานาคกล่าวอย่างไร พญาครุฑกล่าวอย่างไร ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชา ของคนธรรพ์ ตรัสอย่างไร และพระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐตรัส อย่างไร?’

 [๑๓๔๙] พญานาคกล่าวสรรเสริญขันติ พญาครุฑกล่าวยกย่องการไม่ประหาร ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชา ของคนธรรพ์ ตรัสชมการละความยินดี พระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐ ตรัสสรรเสริญความไม่กังวล.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์    
3waz