เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปัญจราชสูตร...ยอดสุดแห่งความพอใจ นั่นแหละ เป็นยอดใน เบญจกามคุณ 838
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประมุข เกิดถ้อยคำโต้เถียงกันขึ้นว่า
อะไรหนอ เป็นยอดแห่ง กามทั้งหลาย ฯ
       บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
       บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า เสียงทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
       บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
       บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รสทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
       บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า โผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ยอดสุดแห่งความพอใจ นั่นแหละ เป็นยอดใน เบญจกามคุณ

 
 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค หน้าที่ ๑๐๑

ปัญจราชสูตร

                [๓๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประมุข  ผู้เอิบอิ่มเพรียบพร้อม ได้รับบำเรออยู่ด้วย เบญจพิธกามคุณ เกิดถ้อยคำโต้เถียงกันขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นยอดแห่ง กามทั้งหลาย ฯ

     ในพระราชาเหล่านั้น
บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า เสียงทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รสทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ
บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า โผฏฐัพพะทั้งหลาย เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ฯ

เพราะเหตุที่พระราชาเหล่านั้น ไม่อาจทรงยังกันและกันให้เข้าพระทัยได้ จึงพระเจ้า ปเสนทิโกศล ได้ตรัสกะพระราชาเหล่านั้นว่า มาเถิดท่านสหายทั้งหลาย เราจักเข้าไป เฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจักทูลถามความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่เราทั้งหลายอย่างใด เราทั้งหลาย พึงจำคำ พยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้นเถิด ฯ

     พระราชาเหล่านั้น ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ฯ

                [๓๖๐] ครั้งนั้น พระราชา ๕ พระองค์เหล่านั้น มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นประมุข เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ....

                [๓๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ยอดสุดแห่งความพอใจ นั่นแหละ อาตมภาพกล่าวว่าเป็นยอดในเบญจกามคุณ ดูกรมหาบพิตร รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้นไม่เป็นที่พอใจ ของคน บางคน เขา ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่นจากรูปเหล่านั้น จะยิ่งกว่า หรือ  ประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา ดูกรมหาบพิตร เสียงเหล่าใด ...

ดูกรมหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด ... ดูกรมหาบพิตร รสเหล่าใด ... ดูกรมหาบพิตร โผฏฐัพพะ เหล่าใด เป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจ ของคน  บางคน เขาดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด โผฏฐัพพะอื่น จากโผฏฐัพพะเหล่านั้น จะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา โผฏฐัพพะ เหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา ฯ

                [๓๖๒] ก็สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ฯ
ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่  พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่งย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต   เหตุอย่างหนึ่งย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจันทนังคลิกะ ขอเหตุนั้นจงแจ่มแจ้งเถิด ฯ

     ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังมีกลิ่นหอมอยู่ฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ดุจดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉะนั้น ฯ

                [๓๖๓] ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์เหล่านั้น ทรงให้จันทนังคลิก อุบาสกห่มด้วยผ้า ๕ ผืน (คือพระราชทานผ้าห่ม ๕ ผืน) ฯ

     ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงห่มด้วย ผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์