เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มหาปทานสูตร เรื่องราวของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเมื่อ 91 กัปที่แล้ว 1760
  ตอนที่ 1
1760
ตอนที่ 2
1761
ตอนที่ 3
1762
พุทธประวัติพระพุทธเจ้า
พระนามว่า วิปัสสี
  ๑. มหาปทานสูตร (๑๔)
(เรื่องราวของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเมื่อ 91 กัปที่แล้ว)
  (หัวเรื่องตอนที่1)
  1) พระโพธิสัตว์วิปัสสีจุติจากชั้นดุสิตเสด็จลงสู่พระครรภ์ของมารดา
  2) เทวบุตร ๔ องค์ เข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔
  3) พระมารดาดำรงตนอยู่ในศีล ๕
  4) พระมารดาไม่กำหนัดในกามคุณของบุรุษ
  5) พระมารดาได้รับการปรนเปรอในกามคุณ ๕
  6) พระมารดาย่อมไม่อาพาธใดๆ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ในครรภ์
  7) โพธิสัตว์ในครรภ์เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม
  8) โพธิสัตว์มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
  9) พระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาทิวงคตเข้าถึงชั้นดุสิต
  10) พระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนถ้วน จึงประสูติ
  11) พระมารดายืนคลอด ต่างกับหญิงอื่น
  12) เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์ เทวดารับก่อนมนุษย์รับทีหลัง
  13) เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับพระโพธิสัตว์ แล้ววางต่อหน้าพระมารดา
  14) พระโพธิสัตว์คลอดง่าย ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ และโลหิต
  15) พระโพธิสัตว์เหมือนแก้วมณีที่วางบนผ้ากาสิกพัสตร์
  16) มีท่อธาร(น้ำ)จากอากาศสองท่อ ท่อเย็นและท่อร้อน เพื่อการคลอด
  17) พระโพธิสัตววิปัสสีเสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว เทวดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จ
  18) เมื่อเสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เกิดแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ
  19) พระเจ้าพันธุมารับสั่งให้พราหมณ์ผู้รู้นิมิตตรวจดูพระราชกุมาร
  20) ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
  21) คำทำนายถ้าเป็นจักรพรรดิจะเป็นผู้ทรงธรรม ถ้าออกบวชจะได้เป็นพระอรหันต์
  22) พระวิปัสสีราชกุมารได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี
  23) สร้างปราสาท ๓ หลัง (ปราสาท ๓ ฤดู)
   
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑-๕๙

๑. มหาปทานสูตร (๑๔)

1) พระโพธิสัตว์วิปัสสีจุติจากชั้นดุสิตเสด็จลงสู่พระครรภ์ของมารดา

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี จุติจาก ชั้นดุสิตแล้ว มีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา ข้อนี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต เสด็จลงสู่ พระครรภ์ของพระมารดา เมื่อนั้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่ง ไม่มีประมาณ ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุด โลก มิได้ถูกอะไรปกปิดไว้ ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ ที่พระจันทร์ และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองชนิดนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพ ของเทวดา ทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้น ก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงนั้นว่า พ่อเฮ้ย ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ ก็มีอยู่เหมือนกัน ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดา ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

2) เทวบุตร ๔ องค์ เข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่พระครรภ์ พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔ โดยตั้งใจว่าใครๆ คือ มนุษย์ หรืออมนุษย์ก็ตาม อย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์ นั้นได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

3) พระมารดาดำรงตนอยู่ในศีล ๕

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่พระครรภ์ ของ พระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์โดยปรกติทรงศีล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจาก การลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ข้อนี้เป็น ธรรมดาในเรื่องนี้

4) พระมารดาไม่กำหนัดในกามคุณของบุรุษ

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่เกิดมานัส ซึ่งเกี่ยวด้วย กามคุณ ในบุรุษทั้งหลาย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมเป็นหญิงที่บุรุษใดๆ ซึ่งมีจิตกำหนัด แล้ว จะล่วงเกินไม่ได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

5) พระมารดาได้รับการปรนเปรอในกามคุณ ๕

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่พระครรภ์ ของ พระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ ๕ พระนาง เพียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วย กามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

6) พระมารดาย่อมไม่อาพาธใดๆ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ในครรภ์

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่พระครรภ์ ของพระมารดา อาพาธใดๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดา ของ พระโพธิสัตว์ย่อมทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกา ยและพระมารดา ของ พระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตร เห็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเสด็จอยู่ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

7) โพธิสัตว์ในครรภ์เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่าง เจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดงขาว หรือนวล ร้อย อยู่ในนั้น บุรุษผู้มีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นี้นั้นวางไว้ในมือ แล้ว พิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์ นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่าง เจียระไน ดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง ขาว หรือ นวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น แม้ฉันใด

8) โพธิสัตว์มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จลงสู่พระครรภ์ ของ พระมารดา อาพาธใดๆย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดา ของพระโพธิสัตว์ทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกาย และพระมารดาของ พระโพธิสัตว์ ย่อมทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จอยู่ ณ ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะน้อยใหญ่ ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้



9)
พระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาทิวงคตเข้าถึงชั้นดุสิต

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระมารดา ของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตเสด็จเข้าถึงชั้นดุสิต ข้อนี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

10) พระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนถ้วน จึงประสูติ

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่นๆ บริหารครรภ์ ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด พระมารดาของพระโพธิสัตว์ หาเหมือนอย่างนั้นไม่ พระมารดา ของพระโพธิสัตว์บริหาร พระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนถ้วน จึงประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

11) พระมารดายืนคลอด ต่างกับหญิงอื่น

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่ประสูติ เหมือน หญิงอื่นๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ประทับยืน ประสูติพระโพธิสัตว์ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

12) เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์ เทวดารับก่อนมนุษย์รับทีหลัง

[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จออกจาก พระครรภ์ พระมารดา พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง ข้อนี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

13) เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับพระโพธิสัตว์ แล้ววางต่อหน้าพระมารดา

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จออกจาก พระครรภ์ พระมารดา และยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับ พระโพธิสัตว์นั้น แล้ววางไว้ เบื้องหน้าพระมารดา กราบทูลว่า ขอจงมีพระทัยยินดีเถิด พระเทวี พระโอรสของพระองค์ ที่เกิด มีศักดิ์ใหญ่ นี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

14) พระโพธิสัตว์คลอดง่าย ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ และโลหิต

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จออกจาก พระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง

15) พระโพธิสัตว์เหมือนแก้วมณีที่วางบนผ้ากาสิกพัสตร์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคล วางลงไว้ ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทำ ผ้ากาสิกพัสตร์ ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์ แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์ พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดาย ทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องข้อนี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

16) มีท่อธาร(น้ำ)จากอากาศสองท่อ ท่อเย็นและท่อร้อน เพื่อการคลอด

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จออกจาก พระครรภ์ พระมารดา ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร เย็นธารหนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สำหรับกระทำอุทกกิจ แก่พระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

17) พระโพธิสัตววิปัสสีเสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว เทวดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จ

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้วได้ครู่หนึ่งประทับ ยืน ด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้านทิศอุดร เสด็จดำเนินไป เจ็ดก้าว และ เมื่อฝูงเทพดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จอยู่ ทรงเหลียวแล ดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลกเรา เป็นผู้ประเสริฐ แห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดา ในเรื่องนี้

18) เมื่อเสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เกิดแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จออกจาก พระครรภ์ พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏ ล่วงเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดโลกมิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองชนิดนั้นแสงสว่าง อันยิ่ง ไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่ เหล่านั้น ก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่างนั้นว่าพ่อเฮ้ย ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิด ในนี้ ก็มีอยู่ เหมือนกัน และหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทื้อนสะท้าน ทั้งแสงสว่าง อันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้

19) พระเจ้าพันธุมารับสั่งให้พราหมณ์ผู้รู้นิมิตตรวจดูพระราชกุมาร

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้ว แลพวกอำมาตย์ ได้กราบทูล แด่พระเจ้าพันธุมา ว่า ขอเดชะ พระราชโอรสของพระองค์ประสูติแล้ว ขอพระองค์จง ทอดพระเนตร พระราชโอรสนั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายพระเจ้าพันธุมา ได้ทอดพระเนตรเห็น พระวิปัสสีราชกุมาร แล้ว รับสั่งเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิต มาแล้วตรัสว่า ขอพวกพราหมณ์ ผู้รู้นิมิตผู้เจริญ จงตรวจดูพระราชกุมารเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตได้เห็น พระวิปัสสีราชกุมารนั้นแล้ว ได้กราบทูล พระเจ้าพันธุมานั้นดังนี้

  บิดาของพระพุทธเจ้าวิปัสสี (ยุคมนุษย์อายุ 80,000 ปี) มีชื่อว่า พันมา
  บิดาของพระพุทธเจ้าโคดม (สิทธัตถะ) มีชื่อว่า สุทโธทนะ

ขอเดชะ ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่ทรงเกิดแล้ว มีศักดิ์ใหญ่ ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ผู้เป็นเจ้าของสกุล อันเป็นที่บังเกิด แห่งพระราชโอรส เห็นปานดังนี้ ขอเดชะ พระองค์ได้ดีแล้วเพราะพระราชกุมารนี้ ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักร มั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้วแก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จ ออกผนวช เป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส อันเปิดแล้วในโลก

20) ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ

ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่าไหน อันเป็นเหตุ ให้มีคติ เป็น สองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชา โดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้วมีพระราชอาณาจักร มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมีสาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส อันเปิดแล้วในโลก

[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็ พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี(เรียบเสมอ) ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้ มีพระบาทประดิษฐาน เป็นอันดีนี้เป็น มหาปุริสลักษณะ ของมหาบุรุษนั้น
๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มีจักรเกิดขึ้นมีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ข้าแต่สมมติเทพ แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ทั้ง ๒ ของ พระราชกุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพันมีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการ ทั้งปวง นี้ก็เป็น มหาปุริสลักษณะ ของมหาบุรุษนั้น
๓. มีส้นพระบาทยาว
๔. มีพระองคุลียาว
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึงพระชาณุทั้งสอง
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประดุจหุ้มด้วยทอง
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ในพระกายได้
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ
๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอกอัญชัญ ขดเป็น กุณฑลทักษิณาวัฏ
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์พระกาย ของพระองค์ เท่ากับวาของพระองค์
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท (ดำคม)
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค
๓๑. มีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งขนง มีสีขาวอ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติเทพ แม้การที่พระราชกุมาร นี้ มีพระเศียร ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น

21) คำทำนายถ้าเป็นจักรพรรดิจะเป็นผู้ทรงธรรม ถ้าออกบวชจะได้เป็นพระอรหันต์ฯ

[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหล่านี้ ซึ่งมีคติ เป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ

ถ้าครองเรือน
จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักร มั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายาแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตร ของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต
ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก

22 พระวิปัสสีราชกุมารได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี

   

[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมาโปรดให้พวกพราหมณ์ ผู้รู้นิมิต นุ่งห่ม ผ้าใหม่ แล้ว เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ ด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกสิ่งภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมา รับสั่งตั้งพี่เลี้ยงนางนม แก่พระวิปัสสีราชกุมาร
หญิงพวกหนึ่ง
ให้เสวยน้ำนม
หญิงพวกหนึ่ง
ให้สรงสนาน
หญิงพวกหนึ่ง
อุ้ม
หญิงพวกหนึ่ง
ใส่สะเอว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราชบุรุษทั้งหลาย ได้กั้นเศวตฉัตร เพื่อพระวิปัสสีราชกุมาร ผู้ประสูติ แล้ว นั้นทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยหวังว่า หนาว ร้อน หญ้าละออง หรือน้ำค้าง อย่าได้ต้องพระองค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมาร ผู้ประสูติมาแล เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของชน เป็นอันมาก ดอกอุบล ดอกประทุม หรือดอกปุณฑริก เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจของชน เป็นอันมาก แม้ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมารก็ได้เป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของชน เป็นอันมาก ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมารนั้น อันบุคคลผลัดเปลี่ยน กัน อุ้มใส่สะเอวอยู่เสมอ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติมาแล เป็นผู้มีพระสุรเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะอ่อนหวาน และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก หมู่นกการวิกบนหิมวันตบรรพต มีสำเนียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน และเป็นที่ตั้งแห่งความปรีเปรม ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีพระสุรเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน เป็นที่ตั้งแห่งความรัก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิพยจักษุอันเกิดแต่กรรมวิบาก อันเป็นเหตุให้เห็นได้ไกลโดยรอบ โยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันและกลางคืน ได้ปรากฏแก่พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติมาแล ไม่กะพริบพระเนตร เพ่งแลดู ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไม่กะพริบเนตรเพ่งแลดูแม้ฉันใด พระวิปัสสี ราชกุมาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่กะพริบพระเนตร เพ่งแลดู

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมญาว่า วิปัสสี ดังนี้แล ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีราชกุมาร ผู้ประสูติ มาแล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมาประทับนั่งในศาลสำหรับพิพากษาคดี ให้ พระวิปัสสีราชกุมาร นั่งบนพระเพลา(นั่งตัก)ไต่สวนคดีอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมาร ประทับนั่งบนพระเพลาของพระชนก ณ ศาลสำหรับพิพากษาคดีนั้น ทรงสอดส่องพิจารณาคดีแล้ว ทรงทราบได้ด้วย พระญาณ พระราชกุมาร สอดส่องพิจารณาคดีแล้ว ย่อมทรงทราบได้ ด้วยพระญาณ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สมญาว่า วิปัสสี ดังนี้แล ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่ พระวิปัสสี ราชกุมาร นั้น โดยยิ่งกว่าประมาณ

23) สร้างปราสาท ๓ หลัง
(ปราสาท ๓ ฤดู)

ลำดับนั้นแล พระเจ้าพันธุมาได้โปรดให้สร้าง ปราสาทสำหรับ พระวิปัสสีราชกุมาร ๓ หลัง คือ
หลังหนึ่งสำหรับประทับใน ฤดูฝน
หลังหนึ่งสำหรับประทับใน ฤดูหนาว
อีกหลังหนึ่งสำหรับประทับใน ฤดูร้อน

โปรดให้บำรุง พระราชกุมารด้วยเบญจกามคุณ ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมาร ได้รับการ บำรุงบำเรอด้วยดนตรี ไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือน ในปราสาทสำหรับประทับ ในฤดูฝน ในบรรดาปราสาททั้ง ๓ หลังนั้น มิได้เสด็จลงสู่ปราสาทชั้นล่างเลย ดังนี้แล

จบภาณวารที่หนึ่ง

อ่านต่อ >





พุทธวจน ออนไลน์ (คัดเฉพาะคำสอนขององค์พระศาสดาล้วนๆ)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์