เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยปุถุชนผู้ได้สดับ กับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ 1595
  (ย่อ)

(1) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
- ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตน ควรมนสิการ
- ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตน ไม่ควรมนสิการ
- กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญขึ้น

(2) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ .. ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย ในกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
- เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
- เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
- ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ
- ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ …

(3) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ... ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย ในบรรดาทิฏฐิ ๖
 1.ตนของเรามีอยู่
 2.ตนของเราไม่มีอยู่
 3.เราย่อมรู้ชัดตน ด้วยตนเอง
 4.เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตน ด้วยตนเอง
 5.เราย่อมรู้ตน ด้วยสภาพมิใช่ตน
 6.ตนของเรานี้เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรม
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันต หน้า ๑๑ “ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น”)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(4) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ... ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตน ว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูป ในตนบ้าง ตามเห็นตน ในรูปบ้าง …
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันต หน้า ๓๘๘ “วิสาขอุบาสก ถามธรรมทินนาภิกษุณี “ )
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(5) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ…ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควร
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันต หน้า ๓๙๙ “มหาธรรมสมาทานสูตร ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔ “)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(6) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ...ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูป ในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ... เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตรัสทำนองเดียวกัน อย่างนี้แลสักกายทิฐิจึงมีได้
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันต หน้า ๗๙ “มหาปุณณมสูตร” )
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(7) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ... เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ
  ความหมายรู้ ในพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะพยาปาทธาตุ
  ความดำริ ในพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท
  ความพอใจ ในพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความดำริในพยาบาท
  ความเร่าร้อน เพราะพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท
  การแสวงหา พยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๔๘ “สนิทานสูตร”)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(8) ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ... ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เห็นตนมี วิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ วิญญาณนั้นของ ปุถุชนนั้น ย่อมย่อยยับไป ปุถุชนนั้น ย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๓๒ “ นทีสูตร ว่าด้วยเหตุให้ถึงความพินาศ”)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

(9)
ผู้ได้สดับกับผู้ไม่ได้สดับ... มิคสาลาสูตร (บุคคล 10 จำพวก)
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๓๒ "มิคสาลาสูตร")

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๑

(1)
ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น

            [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนไม่ควรมนสิการ
เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน?
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการอยู่


(2)

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย ในกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชน ไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน?

            เมื่อปุถุชนนั้น มนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการ เหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรมที่ไม่ควร มนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรม ที่ควรมนสิการ

            ปุถุชนนั้น มนสิการอยู่ โดยไม่แยบคาย อย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
เราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ
ในอนาคตกาลเราจักไม่มีหรือหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ
หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้ มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน


(3)

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย ในบรรดาทิฏฐิ ๖

            เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการอยู่ โดยไม่แยบคาย อย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนนั้นว่า (1) ตนของเรามีอยู่ หรือว่า
(2) ตนของเราไม่มีอยู่ หรือว่า
(3) เราย่อมรู้ชัดตนด้วยตนเอง หรือว่า
(4) เราย่อมรู้ชัดสภาพมิใช่ตน ด้วยตนเอง หรือว่า
(5) เราย่อมรู้ตนด้วยสภาพมิใช่ตน

            อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชนนั้นอย่างนี้ว่า (6) ตนของเรานี้เป็นผู้ เสวย ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรม ทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้นๆ ก็ตนของเรานี้นั้น เป็นของ แน่นอน ยั่งยืน เที่ยงแท้ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วย สิ่งยั่งยืนแท้ ข้อนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรน คือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้ คือทิฏฐิ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ สังโยชน์ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของ พระอริยะ ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของพระอริยะ ผู้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับคำแนะนำด้วยดีในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ เมื่ออริยสาวกนั้น รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรม ที่ควรมนสิการ



(4)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๘๘

วิสาขอุบาสก ถามธรรมทินนาภิกษุณี

            [๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
            ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง
ตามเห็นตน ว่ามีรูปบ้าง
ตามเห็นรูป ในตนบ้าง
ตามเห็นตน ในรูปบ้าง
ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ...
ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แลสักกายทิฏฐิ จึงมีได้

            วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี
            ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่า มีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูป ในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตน ในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิ จึงจะไม่มี



(5)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๙๙

มหาธรรมสมาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔

(ตรัสกับ ภิกษถ ท. ที่วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี)

....................

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้ง แก่พระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้.

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

            [๕๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของ สัปบุรุษ ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรเสพไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรเสพ ไม่รู้จักธรรมที่ควรคบ ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรคบ เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควร



(6)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๗๙

๙. มหาปุณณมสูตร (๑๐๙)

(พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา วิสาขามิคารมารดา ใน พระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี

......................

            [๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร

            พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมเล็งเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง

ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่า มีเวทนาบ้าง
เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง

ย่อมเล็งเห็นสัญญา โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง

ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่า มีสังขารบ้าง
เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง

ย่อมเล็งเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

            ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลสักกายทิฐิจึงมีได้



(7)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๑๔๘

สนิทานสูตร

            [๓๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กามวิตก ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุ บังเกิดขึ้น
พยาบาทวิตก ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตก ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น

            [๓๕๖] ก็กามวิตก ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตก ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตก ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อย่างไร

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความหมายรู้ ในกาม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริ ในกาม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
ความพอใจ ในกาม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความดำริในกาม
ความเร่าร้อน เพราะกาม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในกาม
การแสวงหากาม บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม

            ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ
ความหมายรู้ ในพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะพยาปาทธาตุ
ความดำริ ในพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท
ความพอใจ ในพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความดำริในพยาบาท
ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาท บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท

            ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ
ความหมายรู้ ในวิหิงสา บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
ความดำริ ในวิหิงสา บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความหมายรู้ในวิหิงสา
ความพอใจ ในวิหิงสา บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา
ความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา
การแสวงหาวิหิงสา บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิด โดยฐานะ ๓ คือกายวาจา ใจ



(8)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๑๓๒

๑. นทีสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ถึงความพินาศ

            [๒๓๗] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลไปจากภูเขา พัดเอาหญ้า ใบไม้ และไม้เป็นต้นไปในภายใต้ ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสอันเชี่ยว

ถ้าแม้ต้นเลาทั้งหลาย พึงเกิดที่ฝั่งทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำนั้น ต้นเลาเหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น

ถ้าแม้หญ้าคาทั้งหลาย พึงเกิด หญ้าคาเหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น

ถ้าแม้หญ้ามุงกระต่ายทั้งหลาย
พึงเกิด หญ้ามุงกระต่ายเหล่านั้นพึงน้อมไปสู่ แม่น้ำนั้น

ถ้าแม้หญ้าคมบางทั้งหลาย
พึงเกิด หญ้าคมบางเหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่นั้น

ถ้าแม้ต้นไม้ทั้งหลาย
พึงเกิด ต้นไม้เหล่านั้น พึงน้อมไปสู่แม่น้ำนั้น บุรุษถูกกระแสน้ำพัดไปอยู่

ถ้าแม้พึงจับต้นเลาทั้งหลาย ต้นเลาเหล่านั้นพึงหลุดไป บุรุษนั้นพึงถึงความพินาศ มีการหลุดนั้นเป็นเหตุ

ถ้าแม้พึงจับหญ้าคา หญ้ามุงกระต่าย หญ้าคมบาง ต้นไม้ หญ้าคาเป็นต้นเหล่านั้น พึงหลุดไป บุรุษนั้นพึงถึงความพินาศ มีการหลุดนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่เห็น พระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความ เป็นตน เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป รูปนั้นของปุถุชนนั้นย่อยยับไป ปุถุชนนั้น ย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ

            ปุถุชนย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ วิญญาณนั้นของ ปุถุชนนั้น ย่อมย่อยยับไปปุถุชนนั้น ย่อมถึงความพินาศ มีข้อนั้นเป็นเหตุ.

            [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

            อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี



(9)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๑๓๒

ผู้ได้สดับกับผู้ไม่ได้สดับ... มิคสาลาสูตร (บุคคล 10 จำพวก)

(ย่อ)
ทุศีล
ไม่ฟังธรรมเนืองๆ ไม่แทงตลอด ไม่รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ (ไม่ได้สดับ) ย่อมไปในทางเสื่อม
ฟังธรรมเนืองๆ แทงตลอดด้วยทิฐิ รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ (ผู้ได้สดับ) ย่อมไปในทางเจริญ
  
มีศีล
ไม่ฟังธรรมเนืองๆ ไม่แทงตลอด ไม่รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเสื่อม
ฟังธรรมเนืองๆ แทงตลอดด้วยทิฐิ รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเจริญ

ราคะกล้า
ไม่ฟังธรรมเนืองๆ ไม่แทงตลอด ไม่รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเสื่อม
ฟังธรรมเนืองๆ แทงตลอดด้วยทิฐิ รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเจริญ

มักโกรธ

ไม่ฟังธรรมเนืองๆ ไม่แทงตลอด ไม่รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเสื่อม
ฟังธรรมเนืองๆ แทงตลอดด้วยทิฐิ รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเจริญ

ฟุ้งซ่าน

ไม่ฟังธรรมเนืองๆ ไม่แทงตลอด ไม่รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเสื่อม
ฟังธรรมเนืองๆ แทงตลอดด้วยทิฐิ รู้ชัดเจโต-ปัญญาวิมุตติ ย่อมไปในทางเจริญ

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล (อย่าดูถูก) และอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะ ผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษ ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้ (ยกเว้นตถาคต หรืออรหันตสัมพุทธเท่านั้นที่ทำได้)

ดูพระสูตรเต็ม P229


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์