เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สีหสูตร : ว่าด้วยอุปมาพระพุทธเจ้ากับพญาราชสีห์ 1596
  (ย่อ)

สีหสูตร : ว่าด้วยอุปมาพระพุทธเจ้ากับพญาราชสีห์

พญาสีหมฤคราช ออกจากที่อาศัยแล้วเหยียดกาย เหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ แล้วบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกเดินไปเพื่อหากิน พวกสัตว์ทุกหมู่เหล่า ได้ยินเสียง ย่อมตกใจกลัว
- พวกที่อาศัยอยู่ในรูย่อมเข้ารู
- พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำย่อมดำน้ำ
- พวกที่อาศัยอยู่ในป่าย่อมเข้าป่า
- พวกปักษีย่อมบินขึ้นสู่อากาศ

ภิกษุท. ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตฯ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งซึ่ง โลก เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงแสดงธรรมว่า รูปเป็นดังนี้ เหตุเกิด ความดับแห่งรูป เป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้.. แม้เทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะมาก ได้สดับธรรมของ ตถาคตแล้วก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้งว่า เทวดาทั้งหลายไม่ยั่งยืนเลยแต่เข้าใจว่ายั่งยืน

ภิกษุท. ตถาคต มีฤทธิ์ศักดานุภาพ ยิ่งใหญ่กว่าโลก กับทั้งเทวโลก เช่นนี้แล

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๕

สีหสูตร : ว่าด้วยอุปมาพระพุทธเจ้ากับพญาราชสีห์

            [๑๕๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราช เวลาเย็นออกจากที่อาศัยแล้ว เหยียดกายแล้ว. เหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบแล้ว บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออกเดินไปเพื่อหากิน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกสัตว์
ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่า ได้ยินเสียง พญาสีหมฤคราช บันลือสีหนาทอยู่ โดยมากย่อมถึง ความกลัว ความตกใจ และความสะดุ้ง จำพวกที่อาศัยอยู่ในรู ย่อมเข้ารู จำพวกที่ อาศัยอยู่ในน้ำ ย่อมดำน้ำ จำพวกที่อาศัย อยู่ในป่า ย่อมเข้าป่าจำพวกปักษี ย่อมบิน ขึ้นสู่อากาศ.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงพระยาช้างทั้งหลายของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกผูก ด้วยเครื่องผูก คือ เชือกหนังอันมั่นคง ในคามนิคมและราชธานี ก็สลัดทำลาย เครื่องผูก เหล่านั้นจนขาด กลัวจนมูตรคูถไหล หนีเตลิดไป.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราช มีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ ดิรัจฉานทั้งหลาย เช่นนี้แล.

            [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง ซึ่งโลก ทรงเป็น สารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ทรงเป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูปเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูป เป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ วิญญาณ เป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่าง ก็ถึงความกลัว ความสังเวชความสะดุ้งว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ แต่ได้เข้าใจว่าเที่ยงเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ยั่งยืนเลย แต่ได้เข้าใจว่า ยั่งยืน เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่แน่นอนเลย แต่ได้เข้าใจว่าแน่นอน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนไม่แน่นอน นับเนื่องแล้วในกายตน.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต มีฤทธิ์ศักดานุภาพ ยิ่งใหญ่กว่าโลก กับทั้ง เทวโลก เช่นนี้แล.

            พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

            [๑๕๗] เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา หาบุคคลเปรียบมิได้ตรัสรู้ ด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร คือ ความเกิดพร้อม แห่งกายตน ความดับ แห่งกายตน และอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ อันให้ถึงความสงบทุกข์ แก่โลกกับทั้งเทวโลก.

            เมื่อนั้น แม้ถึงเทวดาทั้งหลาย ผู้มีอายุยืน มีวรรณะ มียศก็กลัว ถึงความ สะดุ้งว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ไม่ล่วงพ้น กายตนไปได้ ดังนี้เพราะได้สดับถ้อยคำของพระอรหันต์ผู้หลุดพ้น ผู้คงที่ เหมือนหมู่ มฤค สะดุ้ง ต่อ พญาสีหมฤคราช ฉะนั้น.

 

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์