เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

2/3 ปริวัฏฏสูตร ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔ (ฉบับหลวง) 1517
เปรียบเทียบสำนวนแปลจาก 3 แหล่ง ที่มีความแตกต่างกัน
(P1516) (P1517) (P1518)
     
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๗

๔. ปริวัฏฏสูตร
ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔

             [๑๑๒] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์คือรูป
อุปาทานขันธ์คือเวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขาร
อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่ง ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่ง อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่ง สัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

เวียนรอบ ๔ อย่างไร? คือ
เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป
รู้ยิ่งซึ่งเวทนา ความเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาอันให้ถึง..
รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ความเกิดแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาอันให้ถึง...
รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ความเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึง...
รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ ความเกิด แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งวิญญาณ.

----------------------------------------------------------------------------------
(รูป)

             [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็รูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูป ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔. นี้เรียกว่ารูป.
ความเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร
ความดับแห่งรูปย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
นี้แลเป็น
ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง ข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

             เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นแล้วดี สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อ ปรากฏย่อมไม่มี แก่สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น.

----------------------------------------------------------------------------------
(เวทนา)

             [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เวทนาเป็นไฉน? เวทนา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาเกิดแต่ โสตสัมผัส เวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กาย สัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งเวทนา
ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง เวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนา อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง ข้อปฏิบัติ อันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

             เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น เวทนา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้วสมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถ เป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

----------------------------------------------------------------------------------
(สัญญา)

             [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สัญญาเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้คือ ความสำคัญในรูป ความสำคัญในเสียง ความสำคัญในกลิ่น ความสำคัญในรส ความสำคัญในโผฏ ฐัพพะ ความสำคัญในธรรมารมณ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา.
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสัญญา
ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่งสัญญา อย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น

----------------------------------------------------------------------------------
(สังขาร)

             [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สังขารเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร.
ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
ความดับแห่งสังขาร
ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง สังขาร อย่างนี้ ฯลฯ ความวนเวียนเพื่อปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น

----------------------------------------------------------------------------------
(วิญญาณ)

             [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.

ความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ
ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
ความดับ แห่งวิญญาณ
ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่ง วิญญาณ อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติ อันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความ หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าย่อมหยั่งลง ในธรรมวินัยนี้.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่ง วิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณ อย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติ อันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว

             สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้น ดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถ เป็นของตน ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น

จบ สูตรที่ ๔.

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๗)

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์