เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

1/3 รู้ชัดอุปาทานขันธ์โดยปริวัฏฏ์ (หนังสือ จิต มโน วิญญาณ) 1516
เปรียบเทียบสำนวนแปลจาก 3 แหล่ง ที่มีความแตกต่างกัน
(P1516) (P1517) (P1518)
     
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 


หนังสือ จิต มโน วิญญาณ (วัดนาป่าพง) หน้า 255

2516
รู้ชัดอุปาทานขันธ์โดยปริวัฏฏ์ 
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒/๑๑๒.

             ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ประการนี้
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
  อุปาทานขันธ์ คือ รูป
  อุปาทานขันธ์คือ เวทนา
  อุปาทานขันธ์คือ สัญญา
  อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
  อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงใด ที่เรายัง ไม่รู้ชัด (อพฺภญฺญาสึ) ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์ ๔ ตามความเป็นจริง ตลอดกาลเพียงนั้น เราก็จะยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่ง ซึ่ง อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

             ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ โดยปริวัฏฏ์ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่ง อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ปริวัฏฏ์ ๔ เป็นอย่างไร คือ
เราได้รู้ชัดซึ่ง รูป (รู้ทุกข์)
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งรูป (รู้สมุทัย)
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป (รู้นิโรธ)
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป (รู้มรรค)

เราได้รู้ชัดซึ่ง เวทนา
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งเวทนา
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งเวทนา
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา

เราได้รู้ชัดซึ่ง สัญญา
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสัญญา
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสัญญา
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญา

เราได้รู้ชัดซึ่ง สังขาร
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งสังขาร
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งสังขาร
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร

เราได้รู้ชัดซึ่ง วิญญาณ
ได้รู้ชัดซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณ
ได้รู้ชัดซึ่งความดับแห่งวิญญาณ
ได้รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ

---------------------------------------------------------------------------------------------------

(รูป-เกิดเพราะอาหาร)

ภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
  (๑) มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป
  (๒) ความเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร
  (๓) ความดับแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร
  (๔) อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งรูปอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้
แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับแห่งรูป สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งรูปอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะ เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นในรูป สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเกพลี (อรหันต์)
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นเกพลี
วัฏฏะ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

---------------------------------------------------------------------------------------------------

(เวทนา-เกิดเพราะผัสสะ)

ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
  (๑) หมู่แห่งเวทนา ๖ เหล่านี้ คือ วทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสเวทนา อันเกิดจาก โสตสัมผัส เวทนาอันเกิดจากฆานสัมผัส เวทนาอันเกิดจากชิวหาสัมผัส เวทนา อันเกิดจากกายสัมผัสเวทนา อันเกิดจากมโนสัมผัส ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา
  (๒) ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
  (๓) ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ

  (๔) อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง เวทนา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งเวทนา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลง ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งเวทนาอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะ เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ ถือมั่นในเวทนา สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเกพลี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นเกพลี
วัฏฏะ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

---------------------------------------------------------------------------------------------------

(สัญญา-เกิดเพราะผัสสะ)

ภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
  (๑) หมู่แห่งสัญญา ๖ เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียงสัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา
  (๒) ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
  (๓) ความดับแห่งสัญญาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
  (๔) อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง สัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสัญญาอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งสัญญาอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้
แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสัญญา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งสัญญาอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสัญญาอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งสัญญาอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ ถือมั่นในสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเกพลี
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นเกพลี
วัฏฏะ ย่อมไม่มีแก่สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------

(สังขาร-เกิดเพราะผัสสะ)

ภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
  (๑) หมู่แห่งเจตนา ๖ เหล่านี้ คือ สัญเจตนาในรูปสัญเจตนาในเสียง สัญเจตนา ในกลิ่น สัญเจตนาในรสสัญเจตนาในโผฏฐัพพะ สัญเจตนาในธรรม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย
  (๒) ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ
  (๓) ความดับแห่งสังขารย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
  (๔) อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง สังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสังขารอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วปฏิบัติเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งสังขาร สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมหยั่ง ลงในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งสังขารอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสังขารอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งสังขารอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นในสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเกพลี
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นเกพลี
วัฏฏะ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------

(วิญญาณ-เกิดเพราะนามรูป )

ภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย
  (๑) หมู่แห่งวิญญาณ ๖ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ
  (๒) ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป
  (๓) ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป
  (๑) อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ นี้ นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่ง วิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ.

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับแห่งวิญญาณ
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
  (๑) รู้ชัดแล้วซึ่งวิญญาณอย่างนี้
  (๒) รู้ชัดแล้วซึ่งความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้
  (๓) รู้ชัดแล้วซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
  (๔) รู้ชัดแล้วซึ่งข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้
แล้วเป็นผู้หลุดพ้น เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับเพราะไม่ถือ มั่นในวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเกพลี
สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นเกพลี
วัฏฏะ ย่อมไม่มีแก่สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น

(หนังสือ จิต มโน วิญญาณ วัดนาป่าพง หน้า 255)

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์