(8)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ ๑๗๒
อุปาลีสูตร
ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
พ. ดูกรอุบาลี ก็พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึก บุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมพระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
ทรงแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรแห่งคฤหบดี หรือผู้เกิดมาในภายหลัง ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้นแล้วได้ศรัทธา ในตถาคต ประกอบด้วยการได้ศรัทธาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าฆราวาส คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม และหนวดครองผ้า กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติ น้อยใหญ่ แล้วปลงผม และหนวดครองผ้ากาสายะออกบวช เป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขา และอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย
...........................................................................................................................................
(9)
ตรัสกับอุบาลลีภิกษุ ตถาคตเว้นขาดจากสิ่งเหล่านี้
(กุศลกรรมบถ10 ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 )
ละปาณา ติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางทัณฑะวางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
เว้นจากเมถุนธรรม อันเป็นกิจของชาวบ้าน
ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก
ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจาก วาจาส่อเสียด ฟังข้างนี้ แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้น แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้ พร้อมเพรียงกันกล่าว แต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน
ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรมพูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิงมีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
.........................................................................................................................................
(10)
ตรัสกับอุบาลลีภิกษุ ศีลของภิกษุ- จุลศีล
ภิกษุนั้น
เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม
ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉัน ในเวลาวิกาล
เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง การประโคมดนตรี และการดูการเล่น อันเป็นข้าศึก แก่กุศล
เว้นขาดจากการทัด ทรงประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะ แห่งการแต่งตัว
เว้นขาดจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
เว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้
เว้นขาดจากการซื้อการขาย
เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การฉ้อโกงด้วยของปลอมและการฉ้อโกงด้วยเครื่อง ตวงวัด
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง
เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำการตีชิง การปล้น และกรรโชก
.........................................................................................................................................
(11)
ตรัสกับอุบาลลีภิกษุ การสำรวมอินทรีย์ -มัชฌิมศีล
ภิกษุนั้น
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหาร ท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศา ภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใดภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง บริหารท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ฉันนั้นเหมือนกันภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุข อันไม่มีโทษเฉพาะตน ฯ
ภิกษุนั้น
เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม แล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก
คือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษา มนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความ สำรวม ในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคน ด้วยกิเลสเฉพาะตน ฯ
ภิกษุนั้น
ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการแลไป ข้างหน้า ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้น
ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้ และ ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรือ อยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
ภิกษุนั้น
ละความโลภในโลกแล้ว มีจิตปราศจากความโลภ อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความโลภ ละความประทุษร้ายคือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาทมีความกรุณา หวังประโยชน์ เกื้อกูลสัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความประทุษร้ายคือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว
เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสง สว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์ จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจจ กุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยใน กุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ
...........................................................................................................................................
(12)
ตรัสกับอุบาลลีภิกษุ ฌาน ๑ ฌาน๒ ฌาน๓ ฌาน๔
ภิกษุนั้น
ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ ประการ นี้ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่ วิเวกอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้าฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ
ดูกรอุบาลี
อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพ เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพ เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน มิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตนจึง ซ่องเสพเสนาสนะ คือป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ ของตน โดยลำดับก่อน ฯ
...........................................................................................................................................
(13)
ตรัสกับอุบาลลีภิกษุถึง สมาธิระดับอรูปสัญญา
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจ ถึงนานัตต สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ อากาสานัญจายตน ฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือ ฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตนจึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ฯ
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่าหน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ...
เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุเนว สัญญานา สัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตนจึงซ่องเสพ เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน ฯ
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ และอาสวะของภิกษุนั้น เป็นกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็น การอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมี ในก่อนมิใช่หรือ ฯ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี
จบสูตรที่ ๙
(14)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๖
อุปาลีสูตร
ตรัสกับอุบาลีว่า การอยู่ป่าผู้เดียวทำได้ยาก
[๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่า และราวป่า อันสงัด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียวป่าทั้งหลาย เห็นจะนำใจของภิกษุ ผู้ไม่ได้สมาธิ ไปเสีย
ดูกรอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่า และราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน
ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้ว พึงขัดถูหูเล่น บ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่มขึ้นมากลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ ห้วงน้ำนั้นแล้ว พึงขัดถูหูเล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง
ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ช้างนั้น เป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อมได้การลงในน้ำลึก ครั้นกระต่าย หรือเสือปลา มาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า กระต่ายหรือเสือปลา พึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไร และ ช้างใหญ่ เป็นอะไร ไฉนหนอ เราพึงลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้ว จึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลัง เล่นบ้าง
ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่มขึ้นมาแล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลานั้น ก็ลงสู่ ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทันได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักลอยขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ากระต่าย หรือเสือปลานั้น เป็นสัตว์ มีร่างกายเล็ก ย่อมไม่ได้การลงในห้วงน้ำลึก แม้ฉันใด
ดูกรอุบาลี ผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิ จักซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่า อันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้น เหมือนกัน
ดูกรอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อน นอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและคูถของตน ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้เป็นการเล่นของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่ สิ้นเชิงมิใช่หรือ ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลาย ที่เป็นของเล่นของพวกเด็กๆ คือเล่นไถน้อยๆ เล่นตี ไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้ เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ
ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้ นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นดียิ่งกว่า และ ประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อม ด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ด้วยรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ได้ ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ด้วยเสียง ทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ด้วยหู ... ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยจมูก ... ด้วยรส ทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ด้วยลิ้น ... ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด
ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นที่ดี ยิ่งกว่า และ ประณีตกว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี ก็พระตถาคต เสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
คฤหบดี บุตรแห่งคฤหบดี หรือผู้เกิดมาในภายหลัง ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น แล้วได้ศรัทธาในตถาคต ประกอบด้วยการได้ศรัทธาแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์ บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม และหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เขาละกองโภค สมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติ น้อยใหญ่แล้วปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขา และอาชีพเสมอด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทานรับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละ อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
เว้นจากเมถุนธรรม อันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าว กัน หรือฟังข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคน ที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกันกล่าวแต่คำ ที่ทำให้ คนพร้อมเพรียงกัน ละวาจาหยาบ
เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของ ชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
ภิกษุนั้นเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉัน ในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้องการประโคมดนตรี และการดู การเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตกแต่ง ร่างกาย ด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว
เว้นขาดจากการนั่ง การนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทอง และเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการ รับสตรี และกุมารีเว้นขาดจากการรับทาสี และทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการขาย เว้นขาด จากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การฉ้อโกงด้วยของปลอม และการฉ้อโกงด้วย เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง เว้นขาด จากการตัด การฆ่า การจองจำการตีชิง การปล้น และกรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่อง บริหารท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศา ภาคใดๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใดภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร เป็นเครื่อง บริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุข อันไม่มีโทษเฉพาะตน
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษามนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวม ในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคน ด้วยกิเลสเฉพาะตน
ภิกษุนั้น ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำ ความรู้สึกตัว ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความ รู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็น อริยะนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
ภิกษุนั้นละความโลภในโลกแล้ว มีจิตปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์ จากความโลภ ละความประทุษร้ายคือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความ กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความ ประทุษร้าย คือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนด หมาย อยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจ กุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์ จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัย ในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากวิจิกิจฉาภิกษุนั้น
ครั้นละนิวรณ์ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล ๕ประการนี้ ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่ วิเวกอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนการอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่ อันมีในก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติและสุข อันเกิดแต่ สมาธิอยู่ ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดี ยิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของต นโดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากาสานัญจา ยตนฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ ดูกรอุบาลีเธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อน มิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้าฯ
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากิญ จัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ... เพราะก้าวล่วงอากิญ จัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้
ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่า การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ ของตนโดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ และอาสวะของ ภิกษุนั้น เป็นกิเลส หมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
ดูกรอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และ ประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรอุบาลี สาวกทั้งหลายของเรา พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมแม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุ ประโยชน์ของตน โดยลำดับก่อน
ดูกรอุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี
จบสูตรที่ ๙
(15)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒ ภาค ๔ (หน้าที่ ๑๓๓๑- ๑๓๖๗)
อุปาลีสูตร
การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหรือป่าเปลี่ยว”.
อุบาลี ! เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ ยาก ความอยู่คนเดียว เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุ ผู้ไม่ได้ สมาธิอยู่.
อุบาลี ! ผู้ใดพูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัด คือป่า หรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้ เขานั้นพึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป
อุบาลี ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่. ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์ ๑ หรือ เจ็ดรัตน์ครึ่ง มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า “เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตาม ปรารถนา” ดังนี้
๑. (หนึ่งรัตน์เท่ากับ ๒ วิทัตถิ เท่าที่ทดสอบกันในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า หนึ่งวิทัตถิ ประมาณเท่ากับ ๑ ฟุต.)
ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น เพราะเหตุไร ?
อุบาลี ! เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้. ครั้งนั้น กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า “ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็น อะไรที่ไหนไป ดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลัง บ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำ แล้วหลีกไปตามปรารถนา” ดังนี้ กระต่าย หรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็ คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วง น้ำลึก นี้ฉันใด อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไป อยู่ ใน เสนาสนะ อันสงัดคือป่า หรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้ เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจัก จมลง หรือจิตจักปลิวไป.
(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่า มิได้เหมาะสำหรับทุกคน. ผู้ใด คิดว่า จักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ อันไม่มีอาสวะ ด้วยเหตุ เพียงสักว่าอยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้ เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ ตามถึง ประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ดังนั้นพระองค์จึง ตรัสกะ ภิกษุอุบาลีว่า)
อุบาลี ! เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์ ดังนี้.
- ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.
(16)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย และยกย่องพระอุบาลี
[๖๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัส วินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่อง โดยเฉพาะ ท่านอุบาลี เนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย
ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณ แห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่องโดยเฉพาะท่าน พระอุบาลี เนืองๆ โดยอเนกปริยาย อาวุโสทั้งหลาย ดั่งนั้น พวกเราพากันเล่าเรียน พระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลีเถิด ก็ภิกษุเหล่านั้นมากเหล่า เป็นเถระก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นนวกะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระวินัยใน สำนักท่านพระอุบาลี.
ส่วนพระฉัพพัคคีย์ได้หารือกันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุเป็นอันมาก ทั้งเถระมัชฌิมะ และนวกะ พากันเล่าเรียนพระวินัยใน สำนักท่านพระอุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้ จักเป็นผู้รู้พระบัญญัติในพระวินัย ท่านจักฉุดกระชากผลักไส พวกเรา ได้ตามใจชอบ อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงช่วยกันก่นพระวินัยเถิด เมื่อตกลงดั่งนั้น พระฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า จะประโยชน์อะไรด้วย สิกขาบท เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้พากันก่นพระวินัยเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
(17)
พระฉัพพัคคีย์ก่นพระวินัย ทรงติเตียนและบัญญัติสิกขาบท
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ ช่วยกัน ก่นวินัย จริงหรือ?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอ จึงได้พากันก่นวินัยเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใสหรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ (พระวินัย)
๑๒๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่าประโยชน์ อะไร ด้วยสิกขาบทเล็กน้อยเหล่านี้ที่สวดขึ้นแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๘๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
คำว่า เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ ความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงอยู่ก็ดี ให้ผู้อื่นยกขึ้นแสดงอยู่ก็ดี ท่องบ่นอยู่ก็ดี.
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ก่นพระวินัยแก่อุปสัมบันว่า ก็จะประโยชน์อะไร ด้วยสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร ความรำคาญ ความลำบาก ความยุ่งเหยิง ย่อมมีแก่พวกภิกษุจำพวกที่เล่าเรียนพระวินัยนี้ แต่จำพวกที่ไม่เล่าเรียนหามีไม่
สิกขาบทนี้พวกท่าน อย่ายกขึ้นแสดงดีกว่า
สิกขาบทนี้พวกท่าน ไม่สำเหนียกดีกว่า
สิกขาบทนี้พวกท่าน ไม่เรียนดีกว่า
สิกขาบทนี้พวกท่าน ไม่ทรงจำดีกว่า
พระวินัยจะได้สาบสูญ หรือภิกษุพวกนี้ จะได้ไม่รู้พระบัญญัติ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
(18)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร หน้าที่ ๔๒๓
การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
[๑๑๗๓] อุ. การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
พ. ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้นี้มี ๕ อย่าง.
๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:-
๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มี ๕ อย่าง นี้แล.
(19)
การรับประเคนที่ใช้ได้
ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้ มี ๕ อย่าง.
๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:-
๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย
ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้ ๕ อย่าง นี้แล.
(20)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๑๔
นาฬันทสูตร
เหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ไม่ปรินิพพาน และปรินิพพานในปัจจุบัน
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้เมือง นาฬันทา ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่อง ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
อนึ่งเหตุปัจจัยอะไรเป็นเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานใน ปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า ภิกษุเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพันรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพัน รูปนั้น อยู่ วิญญาณอันอาศัย ซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น ก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
ธรรมารมณ์ อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่ง ตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหา นั้น ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ ปรินิพพาน ดูกรคฤหบดีเหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่อง ให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ไม่ ปรินิพพาน ในปัจจุบัน ฯ
ดูกรคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน รูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย ซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์ นั้น เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอัน อาศัยซึ่งตัณหานั้น ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มี อุปาทานย่อมปรินิพพาน
ดูกรคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพาน ในปัจจุบัน
(21)
หนังสือ กรรม พุทธวจน
การทำกรรมทางใดมีโทษมากที่สุด
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม!พระองค์ เล่า ย่อมบัญญัติ ทัณฑะในการ ทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?
ทีฆตปัสสี ! ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้ เป็นอาจิณ.
ท่านพระโคดม! ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรมในการเป็นไป แห่ง บาปกรรมไว้เท่าไร ?
ทีฆตปัสสี ! เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่ง บาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑.
ท่านพระโคดม! ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง มิใช่หรือ ? ทีฆตปัสสี! กายกรรม อย่างหนึ่ง วจีกรรม อย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง.
ท่านพระโคดม! ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น ส่วนละ อย่าง ต่างกันเหล่านี้ กรรมไหนคือ กายกรรมวจีกรรม หรือมโนกรรม ที่พระองค์ บัญญัติ ว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่ง บาปกรรม ?
ทีฆตปัสสี! บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่าง ต่างกันเหล่านี้
เราบัญญัติ มโนกรรมว่ามีโทษมากกว่าในการทำบาปกรรม ในการเป็นไป แห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติ กายกรรม วจีกรรม ว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรม หามิได้
ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.
ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรม หรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.
ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่า มโนกรรมหรือ ?
ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่า มโนกรรม.
ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยัน ในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจาก อาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่.
(จากนั้นได้มี อุบาลีคหบดี เข้ามาเพื่อสนทนาในเรื่องนี้ ต่อจาก ฑีฆตปัสสีนิครณถ์ โดยยังมีความเห็นว่า กรรมทางกายมีโทษ มากกว่ากรรมทางใจ และพระผู้มี พระภาคได้ยกอุปมา เพื่อให้เห็น เปรียบเทียบได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น ดังนี้)
คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษ คนหนึ่ง เงื้อดาบมา เขาพึง กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำ สัตว์เท่าที่มีอยู่ใน บ้านนาลันทา นี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อ อันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง.
คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดย ขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี ไม่สามารถจะทำสัตว์ เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อ อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ได้ พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทราม คนเดียวจะเก่งกาจอะไรกันเล่า.
คหบดี! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็น ผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้น พึงกล่าว อย่างนี้ว่า เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้าย ครั้งเดียว.
คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็น ผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นเถ้า ด้วยใจ คิดประทุษร้ายครั้งเดียวได้หรือไม่หนอ ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือ พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น ยังสามารถทำให้เป็นเถ้าได้ด้วยใจคิดประทุษร้าย ครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทา ที่ทรุดโทรมหลังเดียว คณาอะไรเล่า.
คหบดี! ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำก่อนก็ดี คำก่อนกับ คำหลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย...
(22)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖
สุตตันตปิฎก หน้า ๑๕๒
จังกมสูตร
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว
[๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล
ท่านพระสารีบุตร จงกรม อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระมหากัสสป ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระอนุรุทธ ก็จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระอุบาลี ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ท่านพระอานนท์ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
แม้พระเทวทัตต์ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอเห็นสารีบุตร กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับ ภิกษุหลายรูปหรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก
พวกเธอเห็นมหาโมคคัลลานะ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก
พวกเธอเห็นมหากัสสป กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไมฯ
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท (เป็นเลิศด้านธุดงค์ )
พวกเธอเห็นอนุรุทธ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ
พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตร กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก
พวกเธอเห็น อุบาลี กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย
พวกเธอเห็นอานนท์ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต
พวกเธอเห็นเทวทัตต์กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า
พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก
[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว
คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก ที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์ จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว
คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวก ที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
คือสัตว์ จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก ที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากันจักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี
แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์ จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี อัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์ จำพวก ที่มีอัธยาศัยดี
(23)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ส่วนหนึ่งของการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 1
ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา
พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย
[๖๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย ญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี
ท่านพระอุบาลี ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่าน พระมหากัสสป ถามพระวินัย แล้วจะพึงวิสัชนา
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปได้ถามท่านพระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ปฐมปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในเมืองเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะเมถุนธรรม
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติอาบัติ อนาบัติ แห่งปฐมปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้วถามต่อไปว่า ทุติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในพระนครราชคฤห์ ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะอทินนาทาน
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติอาบัติ อนาบัติ แห่งทุติยปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้วถามต่อไปว่า ท่านพระอุบาลี ตติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะมนุสสวิคคหะ
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติอาบัติ อนาบัติ แห่งตติยปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้วถามต่อไปว่า จตุตถปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพวกภิกษุจำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะอุตตริมนุสสธรรม
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติอาบัติ อนาบัติ แห่งจตุตถปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้วถามอุภโตวินัย โดยอุบาย นั้นแล ท่านพระอุบาลีผู้อันท่านพระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้วได้วิสัชนาแล้ว ฯ
............................................................................................................................
(24)
พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม
[๖๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามธรรม กะท่านพระอานนท์
ท่านพระอานนท์ ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสป ถามธรรม แล้วจะพึงวิสัชนา
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน
อา. ตรัสในพระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาในระหว่างกรุงราชคฤห์ และ เมืองนาลันทาต่อกัน ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อา. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมาณพ
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสป ได้ถามนิทาน และบุคคลแห่งพรหมชาลสูตร
กะท่าน พระอานนท์ แล้วถามต่อไปว่า ท่านอานนท์สามัญญผลสูตร พระผู้มีพระภาค
ตรัสที่ไหน
อา. ที่วิหารชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ขอรับ
ม. ตรัสกับใคร
อา. กับพระเจ้าอชาตสัตตุ เวเทหิบุตร
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามนิทาน และบุคคลแห่งสามัญญผลสูตร
กะท่าน พระอานนท์ แล้วถามตลอดนิกาย ๕ โดยอุบายนั้นแล ท่านพระอานนท์ผู้อัน
ท่านพระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้ว ได้วิสัชนาแล้ว |