เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

1/5 อุบาลีเถระ.. รวมทุกพระสูตรเกี่ยวกับพระอุบาลี เอตทัคคะ ด้านผู้ทรงวินัย 1505
  P1505 P1506 P1507 P1508 P1509
รวมพระสูตร อุบาลี
 
รวมพระสูตรที่เป็นเรื่องราวของ อุบาลีเถระ
ชุด1

1. อุบาลี เอตทัคคะ ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย
2. ความร้าวราน ความไม่ลงรอยแห่งสงฆ์ (สังฆราชี)
3. วัตถุ ๑๘ ประการ เป็นไปเพื่อความแตกแยกแห่งสงฆ์ (สังฆเภท)
4. วัตถุ ๑๘ ประการ เป็นไปเพื่อความสามัคคีแห่งสงฆ์ (สังฆสามัคคี)
5. โทษ-การทำลายสงฆ์ให้แตกแยกความสามัคค (นิคมคาถา)
6. คุณ-การทำสงฆ์ให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียง (นิคมคาถา)
7. อุบาลีบวช (ตำแหน่ง ภูษามาลา เจ้าในราชสำนัก)
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)


(1)

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๔

เอตทัคคบาลี (เอตทัคะ ๗๔ ท่าน)
ผู้ยอดเยี่ยมทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษจำนวน ๗๔ ท่าน

วรรคที่ ๔
 (ภิกษุ จำนวน 12 ท่าน)
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นพหูสูต
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีสติ
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีคติ
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีความเพียร
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นอุปัฏฐาก
พระอุรุเวลกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีบริษัทมาก
พระกาฬุทายี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส
พระพักกุละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีอาพาธน้อย
พระโสภิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ระลึกชาติก่อนได้
พระอุบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย
พระนันทกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี
พระนันทะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
พระมหากัปปินะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนภิกษุ
พระสาคตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ
พระราธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง
พระโมฆราชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง



(2)

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก หน้าที่ ๑๖๙-๑๗๓

ความร้าวราน ความไม่ลงรอยแห่งสงฆ์
สังฆราชี 

             [๔๐๔] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอุบาลีนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุหนึ่งรูป ฝ่ายหนึ่งมี๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๒ รูป รูปที่ ๕ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท

ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท

ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท

ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท

ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท

ดูกรอุบาลี ภิกษุ ๙ รูป หรือเกินกว่า ๙ รูป เป็นทั้งสังฆราชี และ สังฆเภท

ดูกรอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้
สิกขมานา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
สามเณรก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
สามเณรีก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
อุบาสกก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
อุบาสิกาก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้

ดูกรอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน ย่อมทำลายสงฆ์ได้

-----------------------------------------------------------------------------------------------

(3)
สังฆเภท
(วัตถุ ๑๘ ประการ เป็นไปเพื่อความแตกแยกแห่งสงฆ์)

             [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่าสังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคต มิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา
๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคต ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

พวกเธอย่อมประกาศ ให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมแยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม

ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว

-----------------------------------------------------------------------------------------------

(4)

สังฆสามัคคี (วัตถุ ๑๘ ประการ เป็นไปเพื่อความสามัคคีแห่งสงฆ์)

             [๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรสงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม
๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม
๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคต มิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคต ประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว
๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

พวกเธอย่อมไม่ประกาศ ให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมไม่แยกทำ อุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม

ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน

             [๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับ ผล ชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป

-----------------------------------------------------------------------------------------------

(5)

นิคมคาถา โทษ-การทำลายสงฆ์ให้แตกแยกความสามัคคี

             [๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ภิกษุผู้ยินดี ในการแตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจาก ธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลายสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป


(6)
นิคมคาถา คุณ-การทำสงฆ์ให้เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียง

             [๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์ ที่แตกกันแล้ว ให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้ว ให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป

             [๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุน ผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน ความพร้อมเพรียง ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรม อันเกษมากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป



(7)
ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๐๖

อุบาลีบวช
(เจ้าศากยะทรงผนวช)


[๓๔๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ กิมพิละ และ เทวทัต เป็น ๗ ทั้ง อุบาลี ซึ่งเป็น ภูษามาลา* เสด็จออกโดยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประภาสราชอุทยานโดยเสนา ๔ เหล่า ในกาลก่อน ฉะนั้น กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์เสด็จไปไกลแล้ว สั่งเสนาให้กลับแล้วย่างเข้าพรมแดน ทรงเปลื้องเครื่องประดับ เอาภูษาห่อแล้ว ได้กล่าวกะอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาว่า เชิญพนาย อุบาลี กลับเถิด ทรัพย์เท่านี้พอเลี้ยงชีพท่านได้ละ ฯ
ภูษามาลา หมายถึง ข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่รักษาเครื่องราชอิสริยยศ และเครื่องแต่ง พระองค์ ของกษัตริย์

           [๓๔๒] ครั้งนั้น อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเมื่อจะกลับ คิดว่าเจ้าศากยะ ทั้งหลาย เหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระกุมาร ทั้งหลาย ออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจักบวชไม่ได้เล่าเขา แก้ห่อ เครื่องประดับเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้ว แล ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเข้าไปเฝ้าศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมาร เหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา กำลังเดินมาแต่ไกล  ครั้นแล้วจึงรับสั่งถามว่า พนายอุบาลี กลับมาทำไม

อ. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าจะกลับมา ณ ที่นี้ คิดว่าเจ้า ศากยะ ทั้งหลาย เหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระกุมาร ทั้งหลาย ออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉน เราจักบวช ไม่ได้เล่า  ข้าพระพุทธเจ้า นั้นแก้ห่อเครื่องประดับแล้ว เอาเครื่องประดับนั้นแขวน ไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล ผู้ใดเห็นผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้ว จึงกลับมาจากที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า

ศ. พนาย อุบาลี ท่านได้ทำถูกต้องแล้ว เพราะท่านกลับไป เจ้าศากยะ ทั้งหลาย เหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าท่านเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระกุมาร  ทั้งหลายออกบวช ฯ

[๓๔๓] ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น พาอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วถวายบังคมประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ อุบาลีผู้เป็น  ภูษามาลานี้เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลี ผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉัน ผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง

           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้ อุบาลีผู้เป็น ภูษามาลา* บวชก่อน ให้  ศากยกุมาร เหล่านั้น ผนวชต่อภายหลัง
* ภูษามาลา หมายถึง ข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่รักษาเครื่องราชอิสริยยศ และเครื่องแต่ง พระองค์ ของกษัตริย์

[๓๔๔] ครั้นต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะ ได้ทำให้ แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ท่านพระอนุรุทธะ ได้ยังทิพยจักษุให้เกิด ท่านพระอานนท์ ได้ทำให้  แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระเทวทัต ได้สำเร็จฤทธิ์ชั้นปุถุชน
 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์