เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

3/4 พระอนุรุทธะ เรื่องราวและพระสูตรที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวมอรรถกถา) 1503
  P1501 P1502 P1503 P1504  
รวมพระสูตร พระอนุรุทธะ  
  (หัวเรื่อง)

14. อนุรุทธสูตร (2) ธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้ เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เมื่อกายแตก
   14.1 อนุปนาหีสูตร ธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ...
   14.2 อนิสสุกีสูตร-ธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ..
   14.3 อมัจฉรีสูตร - ธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ..
   14.4 ปัญจสีลสูตร ธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ..

15. พระเสขะบุคคล เป็นเช่นไร เพราะเพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ (ปเทสสูตร )
16. พระอเสขะบุคคล เป็นเช่นไร เพราะเพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์ (สมัตตสูตร)
17. ผู้รู้โลกผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ (โลกสูตร)
18. พระโมครู้ความปริวิตกของพระอนุรุทธะ จึงไปปรากฎ (รโหคตสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔)
19. พระโมคคัลลานะ ถามท่านอนุรุธะ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔ (รโหคตวรรคที่ ๒)
20. การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา ด้วยสติปัฏฐาน๔ (สุตนุสูตร)
21. ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง ด้วยสติปัฏฐาน๔ (กัณฏกีสูตรที่ ๑)
22. ธรรมที่พระอเสขะพึงเข้าถึง ด้วยสติปัฏฐาน๔ (กัณฏกีสูตรที่ ๒)
23. การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา ด้วยสติปัฏฐาน๔ (กัณฏกีสูตรที่ ๓)
24. เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา ด้วยสติปัฏฐาน๔ (ตัณหักขยสูตร)
25. ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ย่อมไม่ลาสิกขา เพราะจิตน้อมไปในวิเวก (สลฬาคารสูตร)
26. พระอนุรุทธะอินทรีย์ผ่องใส เพราะจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน๔ (อัมพปาลิสูตร ว่าด้วยวิหารธรรม)
27. จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ทุกขเวทนาไม่ครอบงำ (คิลลานสูตร)
28. การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ (สหัสสสูตร)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)
 


(14)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๘

อนุรุทธสูตร

ธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เมื่อกายแตก

           [๔๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ข้าพระองค์เห็นมาตุคาม เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคาม ผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑
มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑
ไม่มักโกรธ ๑
มีปัญญา ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์



(14.1)
อนุปนาหีสูตร

           [๔๘๐] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑
มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑
ไม่ผูกโกรธ ๑
มีปัญญา ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
------------------------------------------------------------------------------

(14.2)
อนิสสุกีสูตร

           [๔๘๑] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑
มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑
ไม่มีความริษยา ๑
มีปัญญา ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์



(14.3)

อมัจฉรีสูตร

           [๔๘๒] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑
มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑
ไม่มีความตระหนี่ ๑
มีปัญญา ๑ ฯลฯ

ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ
มีศีล ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ
มีสุตะมาก ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ
ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ฯลฯ
มีสติตั้งมั่น ๑ มีปัญญา ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์



(14.4)
ปัญจสีลสูตร

           [๔๘๓] ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกาย ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
มาตุคามเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
จากการลักทรัพย์ ๑
จากการประพฤติผิดในกาม ๑
จากการพูดเท็จ ๑
จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

           ดูกรอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

จบเปยยาลวรรค



(15)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๒

ปเทสสูตร (พระสารีบุตรกับพระโมค เข้าหาพระอนุรุทธะ)
ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ
(บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ)

           [๗๘๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่าน พระอนุรุทธะอยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร และท่าน มหาโมคคัลลานะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

           [๗๘๒] ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระเสขะ พระเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า

          ดูกรผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้เป็นส่วนๆ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

         ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

           ดูกรผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้เป็นส่วนๆ



(16)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๒

สมัตตสูตร
ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ
บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์


           [๗๘๓] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า:

           [๗๘๔] ดูกรท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่าพระอเสขะ พระอเสขะ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้บริบูรณ์

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
           ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

           ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้บริบูรณ์



(17)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๒

โลกสูตร
ว่าด้วยผู้รู้โลก
ผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔

           [๗๘๕] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตร นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า:

           [๗๘๖] ท่านพระอนุรุทธะถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน? ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า

          ดูกรผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
           ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสีย

           ดูกรผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล และเพราะได้เจริญ ได้ทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ผมจึงรู้โลกได้ตั้งพัน



(18)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๒

รโหคตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
พระโมคคัลลานะรู้ปริวิตกของพระอนุรุทธะ จึงไปปรากฎ

             [๑๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

            ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิด ความปริวิตก ขึ้นในใจ อย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่อ อริยมรรค ที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใด เหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึง ความสิ้นทุกข์ โดยชอบ

             [๑๒๕๔] ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ รู้ความปริวิตกในใจของท่าน พระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

(18.1)
พระโมคถาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔ ?

             ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้ถาม ท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียง เท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔ ?

(เห็นธรรมเกิดขึ้น-เสื่อมไป ในกายภายใน-ภายนอก)

             [๑๒๕๕] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในกายในภายใน อยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไป ในกายในภายในอยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป ในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในกายในภายนอก อยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไป ในกายในภายนอกอยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในกายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย ทั้งภายในและภายนอก อยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกาย ทั้งภายใน และภายนอกอยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในกาย ทั้งภายในและ ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้

             [๑๒๕๖] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญกว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล อยู่เถิด ก็ย่อม เป็นผู้มีความ สำคัญว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูล อยู่เถิด ก็ย่อม เป็นผู้มีความสำคัญ ว่า ปฏิกูลในสิ่ง ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความ สำคัญว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล และสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาด สิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูล ทั้งสองนั้น แล้วมี อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งทั้งสอง นั้นอยู่

(เห็นธรรมเกิดขึ้น-เสื่อมไป ในเวทนาภายใน และเวทนาภายนอก)
             [๑๒๕๗] ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในเวทนา ในภายใน อยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อม ไปในเวทนา ในภายในอยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในเวทนา ในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในเวทนา ในภายนอก อยู่
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมไป ในเวทนา ในภายนอกอยู่
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้น แลความเสื่อมไป ในเวทนา ในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้ในเวทนา ทั้งภายใน และภายนอก อยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไป ในเวทนาทั้งภายใน และภายนอก อยู่ พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในเวทนาทั้งภายในภายนอก อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลก เสียได้

             [๑๒๕๘] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูล ในสิ่ง ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่

(เห็นธรรมเกิดขึ้น-เสื่อมไป ในจิต ในภายใน และจิตในภายนอก)

             [๑๒๕๙] ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในจิตในภายใน ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในจิตทั้งภายในและ ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลก เสียได้

             [๑๒๖๐] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่ง ที่ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่

(เห็นธรรมเกิดขึ้น-เสื่อมไป ในธรรมทั้งหลาย ในภายใน และภายนอก)

             [๑๒๖๑] ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลาย ในภายใน ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกเสียได้

             [๑๒๖๒] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่ง ไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่

              ดูกรท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔

จบ สูตรที่ ๑

(หมายเหตุของผู้จัดทำเว็บไซต์ พระสูตรนี้ อ่านแล้วอาจไม่เข้าใจนัก เพราะมีการย่อโดยใช้ เครื่องหมาย ฯลฯ ในข้อความซ้ำกัน ดังนั้นจึงควรอ่านในหมวด "กาย" คือเห็นธรรมเกิดขึ้น-เสื่อมไป ในกายภายใน-ภายนอก ตามวงเล็บ [๑๒๕๕] และ [๑๒๕๖]) ให้เข้าใจโดยแจ้ง เสียก่อน



(19)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๔

รโหคตวรรคที่ ๒

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

             [๑๒๖๓] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า เบื่ออริยมรรค ที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารภแล้วชนเหล่านั้น ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ

             [๑๒๖๔] ลำดับนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ รู้ความปริวิตกในใจของท่าน อนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

             [๑๒๖๕] ครั้งนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔?

(กาย)
             [๑๒๖๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นกายในกาย ในภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

(เวทนา)

             [๑๒๖๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนาในภายในอยู่ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในและ ภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลก เสียได้

(จิต)

             [๑๒๖๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตในภายในอยู่ ... พิจารณาเห็นจิต ในจิตในภายนอกอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

(ธรรม)

             [๑๒๖๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ในภายในอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งภายใน และภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะ ชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔

จบ สูตรที่ ๒



(20)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๕

สุตนุสูตร

การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา ด้วยสติปัฏฐาน๔

             [๑๒๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุตนุ ใกล้พระนคร สาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงไปนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามว่าท่านอนุรุทธะ บรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้ เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน?

             [๑๒๗๑] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะ แห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.. เราพิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ ... เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะ แห่งมหาอภิชฌา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล

             อนึ่ง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เราจึง ได้รู้ธรรม อันเลว โดยความเป็นธรรมเลว รู้ธรรมปานกลาง โดยความเป็นธรรม ปานกลาง รู้ธรรมอันประณีต โดยความเป็นธรรมอันประณีต

จบ สูตรที่ ๓



(21)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๕

กัณฏกีสูตรที่ ๑

ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง ด้วยสติปัฏฐาน๔

             [๑๒๗๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหา โมคคัลลานะอยู่ ณ กันฏกีวัน (ป่าไม้มีหนาม) ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากที่พักผ่อน เข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ

             ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่?

             [๑๒๗๓] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... ย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิต ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงเข้าถึงอยู่

จบ สูตรที่ ๔



(22)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๖

กัณฏกีสูตรที่ ๒
ธรรมที่พระอเสขะพึงเข้าถึง ด้วยสติปัฏฐาน๔

             [๑๒๗๔] สาเกตนิทาน ... ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระ อนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็นอเสขะพึงเข้าถึงอยู่?

             [๑๒๗๕] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็นอเสขะ พึงเข้าถึงอยู่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็นอเสขะ พึง เข้าถึงอยู่

จบ สูตรที่ ๕



(23)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๖

กัณฏกีสูตรที่ ๓
การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา ด้วยสติปัฏฐาน๔

             [๑๒๗๖] สาเกตนิทาน. ... ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่าน พระอนุรุทธะ ว่าท่านอนุรุทธะ บรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน?

             [๑๒๗๗] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมบรรลุภาวะแห่ง มหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรท่านผู้มีอายุ ผมบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่งเพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ผมจึงรู้โลกพันหนึ่ง

จบ สูตรที่ ๖



(24)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๗


ตัณหักขยสูตร

เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา ด้วยสติปัฏฐาน๔

             [๑๒๗๘] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ เรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้วได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา

             สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกาย อยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...ย่อม พิจารณา เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด อภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสียได้

             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา

จบ สูตรที่ ๗



(25)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๘

สลฬาคารสูตร
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ย่อมไม่ลาสิกขา
เพราะจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ในวิเวกตลอดกาลนาน จักหวนสึกจึงมิใช่ฐานะ

             [๑๒๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้พระนครสาวัตถี ณที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศ ปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้นหมู่มหาชน ถือเอาจอบและตะกร้ามา ด้วยประสงค์ว่า จักทดแม่น้ำคงคา ให้ไหลกลับ หลั่งกลับบ่ากลับ ดังนี้ ท่านทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้น จะพึงทดน้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ได้บ้างหรือ?

ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไม่ได้ ขอรับ

อ. เพราะเหตุไร?

ภิ. เพราะการที่จะทดแม่น้ำคงคา อันไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ ทิศปราจีน ให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ มิใช่กระทำให้ง่าย หมู่มหาชนนั้น จะพึง เป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย ลำบากเปล่าแน่นอน

อ. ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ ให้ยินดีด้วยโภคะว่า

             ดูกรบุรุษผู้เจริญ จงมาเถิด ท่านจะครองผ้ากาสาวะเหล่านี้อยู่ทำไม ท่านจะเป็นผู้มีศีรษะโล้น มือถือกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาตอยู่ทำไม นิมนต์ท่านสึกมา บริโภค สมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ จักลาสิกขาออกมานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตที่น้อมไป ในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนาน จักหวนสึก มิใช่ฐานะที่จะมีได้

             [๑๒๘๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มาก ซึ่ง สติปัฏฐาน ๔อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ... ย่อมพิจารณาเห็น เวทนา ในเวทนาอยู่ ...ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ .. ย่อม พิจารณา เห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก เสียได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๘



(26)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่
๓๐๙

อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม
พระอนุรุทธะอินทรีย์ผ่องใส เพราะจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน๔

             [๑๒๘๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระสารีบุตร อยู่ใน อัมพปาลีวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่พัก เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ในเวลานี้ ท่านอนุรุทธะ อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก?

             [๑๒๘๒] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เวลานี้ผมมีจิตตั้งมั่นอยู่ ในสติปัฏฐาน ๔ มาก

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรท่านผู้มีอายุเวลานี้ ผมมีจิตตั้งมั่นอยู่ในวิหารธรรมเหล่านี้ เป็นอันมาก อยู่ ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ ลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ ภิกษุนั้นมีจิตตั้งมั่น ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่มาก

             สา. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว ที่ได้ฟังอาสภิวาจา ในที่เฉพาะหน้า ท่านพระอนุรุทธะผู้กล่าว

จบ สูตรที่ ๙



(27)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๓๐๙

คิลลานสูตร
จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ทุกขเวทนาไม่ครอบงำ

             [๑๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถี อาพาธได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหน ทุกขเวทนา ในสรีรกาย ที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต?

             [๑๒๘๔] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่น อยู่ใน สติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ทุกขเวทนา ในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต

จบ สูตรที่ ๑๐



(28)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑๑


สหัสสสูตร

การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา
(เพราะเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔)

 

             [๑๒๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ถามท่าน พระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะ บรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มาก ซึ่งธรรมเหล่าไหน?

             [๑๒๘๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะ แห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ .. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ .. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่ง เราย่อมระลึกได้ตลอดพันกัลป์ เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

จบ สูตรที่ ๑

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์