เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
นันทกสูตร อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ๕ ประการ เป็นไฉน 1436
 

(โดยย่อ)

ท่านพระนันทกะ เอกทัคคะ(ลำดับที่ 36) ด้านผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิในภายใน ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่าอย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและได้ เจโตสมาธิ ในภายใน

เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เปรียบเหมือนสัตว์ ๒ เท้าหรือ ๔ เท้า แต่เท้าข้างหนึ่ง ของมันเสียพิการไป อย่างนี้มัน ชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

ผู้บริบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๔ ประการ
1) เป็นผู้มีศรัทธา
2) เป็นผู้มีศีล
3) เป็นผู้ได้เจโตสมาธิในภายใน
4) เป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น
--------------------------------------------------------------------------------------

อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล และการสนทนาธรรมตามกาล ๕ ประการ เป็นไฉน

ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย

อานิสงส์
1) เธอย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพระศาสดานั้นๆ เป็นที่เคารพ สรรเสริญ
2) เธอย่อมซาบซึ้งอรรถ และซาบซึ้งธรรมในธรรมนั้น
3) เธอย่อมแทงตลอดบทแห่งอรรถอันลึกซึ้งในธรรมนั้น เห็นด้วยปัญญา
4) เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญยิ่งขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้ว หรือกำลังบรรลุเป็นแน่
5) ภิกษุผู้พระเสขะ(ยังไม่บรรลุ) เมื่อฟังธรรมแล้วย่อมปรารภความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
ภิกษอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ฟังธรรมนั้นแล้วย่อมประกอบธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
(ข้อสังเกตุ : ภิกษุอรหันต์ ก็ยังต้องฟังธรรม เพื่ออยู่เป็นสุขในทิฐธรรม)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๒๙-๓๓๓.

นันทกสูตร

             [๒๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระนันทกะ ชี้แจงภิกษุทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ใน อุปัฏฐานศาลา

             ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้า ไปยัง อุปัฏฐานศาลา ประทับยืนรอจนจบกถาอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้น ทรงทราบว่ากถาจบแล้ว ทรงกระแอม และเคาะที่ลิ่มประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตู ให้พระผู้มีพระภาค

             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะ ท่านพระนันทกะ* ว่า
*เอกทัคคะ(ลำดับที่ 36) ด้านผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี

            ดูกรนันทกะ ธรรมบรรยาย ของเธอนี่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืนรอฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก ย่อมเมื่อยหลัง

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะรู้สึกเสียใจ สะดุ้ง กลัว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ไม่ทราบเกล้า เลยว่าพระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์ พึงทราบเกล้า ว่า พระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่ ที่ซุ้มประตูด้านนอกแล้ว แม้คำประมาณเท่านี้ ก็ไม่พึงแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์เลย

             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ท่านพระนันทกะ เสียใจ จึงตรัส กะท่าน พระนันทกะว่า ดีแล้วๆนันทกะ ข้อที่เธอทั้งหลายพึงสนทนา ด้วยธรรมีกถานี้ สมควรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

             ดูกรนันทกะ เธอทั้งหลายผู้ประชุมกันพึงทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา หรือดุษณีภาพ ของพระอริยะ ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้ เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

             ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิ ในภายใน อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและได้เจโตสมาธิ ในภายใน เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

             ดูกรนันทกะภิกษุ เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน แต่ยัง ไม่ได้การเห็นแจ้ง ซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น

             ดูกรนันทกะ เปรียบเหมือนสัตว์ ๒ เท้าหรือ ๔ เท้า แต่เท้าข้างหนึ่ง ของมันเสียพิการไป อย่างนี้มันชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ฉันใด

             ดูกรนันทกะภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และได้ เจโตสมาธิ ในภายใน แต่ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ ยังไม่ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงมีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การ เห็นแจ้ง ซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

             ดูกรนันทกะ เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้ การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุก จากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระนันทกะ กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคทรงประกาศ พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ด้วยบท ๔ แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยัง พระวิหาร ด้วยพระดำรัสว่า

             ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล อย่างนี้เธอชื่อว่า เป็นผู้ยังไม่ บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะ พึง เป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล เมื่อใดแลภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อ ว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

             ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิ ในภายใน ฯลฯ อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น ให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิ ในภายใน และ ได้การ เห็นแจ้ง ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

             ดูกรนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลได้ เจโตสมาธิในภายใน และได้การ เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
--------------------------------------------------------------------


(อานิสงส์ในการฟังธรรม และการสนทนาธรรม ตามกาล)

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนา ธรรมตามกาล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย ประการใดๆ เธอย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพระศาสดานั้นๆ เป็นที่เคารพ สรรเสริญ ด้วยประการนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนา ธรรมตามกาล

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการใดๆ เธอย่อม ซาบซึ้งอรรถ และซาบซึ้งธรรมในธรรมนั้น ด้วยประการนั้นๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรม ตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ เธอย่อมแทง ตลอดบทแห่งอรรถอันลึกซึ้งในธรรมนั้น เห็นด้วยปัญญา ด้วยประการนั้นๆ นี้เป็น อานิสงส์ ประการที่ ๓ ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ เพื่อน พรหมจรรย์ ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญด้วยประการนั้นๆ ยิ่งขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้บรรลุ แล้ว หรือ กำลังบรรลุเป็นแน่ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการใดๆ ในภิกษุเหล่านั้น
    
ภิกษุเหล่าใดเป็น พระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ปรารถนาธรรม อันเกษมจาก โยคะ อันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
     ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสเครื่อง ประกอบสัตว์ ไว้ในภพ สิ้นสุดแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้น ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมประกอบธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้เป็นอานิสงส์ ประการที่ ๕ ในการฟังธรรม ตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนา ธรรมตามกาล ๕ ประการนี้แล

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์