เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สุวีรสูตรที่ ๑ และ สุสิมสูตรที่ ๒ พวกอสูรรบกับเทวดา 899
 
สุวีรสูตรที่ ๑
(อสูรรบกับเทวดา)

เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้พากันมารบกับพวกเทวดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสเรียก สุวีระ เทพบุตร มาบัญชาว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้ กำลังพากัน มารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ แต่สุสิมะมัวประมาทเสีย แม้ครั้งที่ ๑ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓


สุสิมสูตรที่ ๒ พวกอสูรรบกับเทวดา
เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้พากันมารบกับพวกเทวดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสเรียกสุสิมเทพบุตร มาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้ กำลังพากัน มารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ แต่สุสิมะมัวประมาทเสีย แม้ครั้งที่ ๑ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๐-๓๐๒

สุวีรสูตรที่ ๑ (อสูรรบกับเทวดา)


           [๘๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก มหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

           ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

           ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

           [๘๔๘] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสเรียก สุวีรเทพบุตร มาบัญชาว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้ กำลังพากันมารบพวก เทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุวีรเทพบุตรรับบัญชาของ ท้าวสักกะ จอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ แลท้าวสักกะจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียก สุวีรเทพบุตร มาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้ กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไป ป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ สุวีรเทพบุตร รับบัญชาของ ท้าวสักกะจอมเทวดา ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วมัวประมาทเสีย

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดา ก็ได้ตรัสเรียกสุวีรเทพบุตร มาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้ กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกัน พวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตร รับบัญชาของท้าวสักกะ จอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วมัวประมาทเสีย

           [๘๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสกะสุวีร เทพบุตร ด้วยคาถาว่า บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม จะประสพสุขได้ ณ ที่ใด ดูกร สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่ นั้นด้วยเถิด

           [๘๕๐] สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น และไม่ใช้ใครๆ ให้กระ ทำกิจทั้งหลายอีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้า แต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น แก่ข้าพระองค์

           [๘๕๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น ถึงความสุข ล่วงส่วนได้ สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้นและจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด

           [๘๕๒] สุวีรเทพบุตรทูลว่า ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ข้าพระองค์ ทั้งหลายจะ พึงได้ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์ จงตรัสบอกความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความ แห้งใจ ไม่มีความคับแค้น แก่ข้าพระองค์เถิด

           [๘๕๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน ไม่ว่าในที่ไหนๆ ใครๆ ย่อมทรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่ นั้นด้วยเถิด

           [๘๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น อาศัยผลบุญ ของ พระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติ อันมีความเป็นใหญ่ยิ่ง ด้วยความเป็นอิสระแห่ง เทวดา ชั้นดาวดึงส์ จึงจักพรรณนาคุณแห่งความเพียร คือความหมั่น

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชในธรรมวินัย ที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่น เพียรพยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล ที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้ โดยแท้



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๔

สุสิมสูตรที่ ๒ (อสูรรบกับเทวดา)

           [๘๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิก มหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

           [๘๕๖] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้พากันมารบกับพวกเทวดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะ จอมเทวดา ตรัสเรียก สุสิมเทพบุตร มาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้ กำลังพากัน มารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุสิมเทพบุตรรับ บัญชา ท้าวสักกะ จอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัส เรียกสุสิมเทพบุตร มาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้ในครั้งที่ ๓ สุสิมเทพบุตรรับบัญชา ท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย

           [๘๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสกะสุสิม เทพบุตร ด้วยคาถาว่า บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด ดูกรสุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด

           [๘๕๘] สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น และไม่ใช้ ใครๆ ให้ กระทำกิจทั้งหลายอีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐ นั้นแก่ข้าพระองค์

           [๘๕๙] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น ถึงความสุข ล่วงส่วนได้ สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด

           [๘๖๐] สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะพึงได้ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความ แห้งใจ ไม่มีความคับแค้น แก่ข้าพระองค์เถิด

           [๘๖๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน ไม่ว่าในที่ไหนๆ ใครๆ ย่อมยังชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด

           [๘๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น อาศัยผลบุญ ของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่ง ด้วยความเป็นอิสระแห่งเทวดา ชั้นดาวดึงส์ จึงจักพรรณนาคุณแห่งความเพียร คือความหมั่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ บวชแล้ว ในธรรมวินัยอันเรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่นเพียร พยายาม เพื่อบรรลุ มรรคผล ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง มรรคผล อันตนยังมิได้ทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงาม ในธรรมวินัยนี้โดยแท้

 

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์