เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อุปมากาม ๗ ข้อ.. กามทั้งหลาย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง 900
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่ง
อุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้ว เจริญอุเบกขา ที่มีความเป็นอารมณ์เดียว
อาศัยความ เป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่น โลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือ มิได้.


อุปมากาม ๗ ข้อ
1 มีอุปมาด้วยท่อนกระดูก
2 มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ
3 มีอุปมาด้วยคบหญ้าแห้ง
4 มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง
5 มีอุปมาด้วยของในความฝัน
6 มีอุปมาด้วยของยืม
7 มีอุปมาด้วยผลไม้


 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๖


อุปมากาม ๗ ข้อ


     [๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี
เปรียบเหมือนสุนัข อันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืน อยู่ใกล้เขียงของ นายโคฆาต นายโคฆาต หรือลูกมือ ของนายโคฆาต ผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูกที่เชือด ชำแหละออก จนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือด ไปยังสุนัข ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้นแทะร่างกระดูกที่เชือด ชำแหละออกจดหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลีย เพราะความหิวได้ บ้างหรือ?  ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นร่างกระดูกที่เชือด ชำแหละออก จนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่งความ เหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.

     ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า (1) เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่ง อุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความ เป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือ มิได้.
...............................................................................................

     [๔๘] ดูกรคฤหบดีเปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อ บินไป แร้งทั้งหลาย นกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย จะพึงโผเข้ารุมจิก แย่งชิ้นเนื้อ นั้น ฉันใดดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือ เหยี่ยว ตัวนั้น ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันจะถึงตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะชิ้นเนื้อ นั้นเป็นเหตุ? อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

     ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (2) เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษ แห่งกามนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มี ความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความ เป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

...............................................................................................

     [๔๙] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้า อันไฟติด ทั่วแล้ว เดินทวนลมไป ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าบุรุษนั้น ไม่รีบปล่อย คบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้นเสีย คบเพลิงหญ้าอันไฟติด ทั่วนั้น พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นจะถึง ตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้นเป็นเหตุ?

     อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

     ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า(3) เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกข าที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือ มิได้.
...............................................................................................

     [๕๐] ดูกรคฤหบดีเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วย ถ่านเพลิง อันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไป ยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใดดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึง น้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่าอย่างนี้ๆ บ้างหรือ?

     ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า เราจักตกลง ยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิง เป็นเหตุ.

     ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (4) เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ อย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญา อันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับ ความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

...............................................................................................

     [๕๑] ดูกรคฤหบดีเปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวน อันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้น ตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใดดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า(5) เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญา อันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความ เป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับ ความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวงหาส่วนเหลือ มิได้.

...............................................................................................

     [๕๒] ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ คือ แก้วมณี และกุณฑล อย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไป ภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภค สมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติ อย่างนี้ ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใดๆพึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้นๆ ฉันใด ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษ นั้น จะเป็นอย่างอื่นไป?

     ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเจ้าของย่อม จะนำเอา ของของตน คืนไปได้.

     ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (6) เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้ มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญ อุเบกขา ที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความ ถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.
...............................................................................................

 

     [๕๓] ดูกรคฤหบดีเปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ ในที่ไม่ไกลบ้าน หรือนิคม ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้น สัก ผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผล รสอร่อยมีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก  แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไป บ้างเขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้ ลำดับนั้น บุรุษคนที่สอง ต้องการผลไม้ถือขวานอันคม เที่ยวมาเสาะ แสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้ มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้นเขา พึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้น สักผลเดียวและเราก็ไม่รู้ เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้น ฉันใด

     ดูกรคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น ถ้าแลเขาไม่รีบลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือ หักเท้า หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใด แห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นล้ม เป็นเหตุ?

     เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

     ดูกรคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า (7) เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้ มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษ แห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยความเป็นต่างๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

 



นิยามและข้อเปรียบเทียบแห่งกาม

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น ดังนั้น
ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

(ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.)

1 ( กามเปรียบด้วยท่อนกระดูก)
คฤหบดี เปรียบเหมือนสุนัข ที่หมดกำลังเพราะหิวจัด จะพึงเข้าไปยืนชะเง้ออยู่ ในที่ที่ฆ่าโค. คนฆ่าโคหรือลูกมือของเขา ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะพึง เอาท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่ แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง โยนไปให้สุนัขตัวนั้นแทะ.

คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สุนัขตัวนั้นแทะท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อ ออกหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือด อยู่บ้างนั้นอยู่ จะพึงบรรเทาความหมดกำลัง เพราะหิวจัดได้ละหรือ ?

“หามิได้ พระเจ้าข้า”

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

“เพราะว่าท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อออกหมดแล้วนั้น ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อน เหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียวเพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง เท่านั้น.
สุนัขตัวนั้น ก็จะได้รับแต่ความเหนื่อยใจ และความแค้นใจโดยแท้ พระเจ้าข้า”

2. (กามเปรียบด้วยชิ้นเนื้อคาปาก)
คฤหบดี เปรียบเหมือนแร้ง หรือเหยี่ยว หรือนกตะกรุม ก็ตาม ตัวหนึ่ง คาบชิ้นเนื้อพาบินไป. ฝูงแร้งบ้าง ฝูงเหยี่ยวบ้าง ฝูงนกตะกรุมบ้าง ตามโฉบ ตอมโฉบ นกตัวนั้น เพื่อให้ทิ้งชิ้นเนื้อนั้น ยังนกตัวนั้นให้ปล่อย ให้คาย.

คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ?
ถ้าแร้ง หรือเหยี่ยว หรือนกตะกรุมนั้น ไม่รีบสลัดทิ้งชิ้นเนื้อนั้นเสียไซร้ มันก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ ?

“อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

3. (กามเปรียบด้วยคบเพลิงทวนลม)
คฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถือเอาคบหญ้าแห้ง ที่ติดไฟโพลงอยู่ พาทวนลมไป
คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ถ้าบุรุษผู้นั้น ไม่รีบทิ้งคบหญ้าแห้ง นั้นเสียโดยเร็วไซร้, คบไฟนั้น ก็จะพึงลามไหม้มือ ไหม้แขน หรือไหม้อวัยวะน้อยใหญ่ ส่วนใดส่วนหนึ่งของบุรุษนั้น, เขาก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ ?

“อย่างนั้น พระเจ้าข้า”


4. (กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง)

คฤหบดีเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิง ที่ปราศจากเปลว และปราศจากควัน. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้นที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าพาไปยังหลุมถ่านเพลิง.

คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ?
บุรุษนั้น จะไม่บิดตัวดิ้นไปทางโน้นที ทางนี้ที บ้างแลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า”

เพราะเหตุไร ?
“เพราะเหตุว่า บุรุษนั้น รู้อยู่ว่าถ้าเราจะตกลงไปสู่หลุมถ่านเพลิงนี้ไซร้ เราก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตายเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ พระเจ้าข้า”

5. (กามเปรียบด้วยของในความฝัน)
คฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ฝันเห็นสวนอันรื่นรมย์ใจบ้าง ป่าไม้อันรื่นรมย์ใจบ้าง ภูมิภาคอันรื่นรมย์ใจบ้าง หรือสระโบกขรณีอันรื่นรมย์ใจบ้าง ครั้นบุรุษนั้นตื่นขึ้นมา ก็ไม่ได้พบเห็นอะไรเลย.

6. (กามเปรียบด้วยของยืม)
คฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ขอยืมทรัพย์จากผู้อื่นได้แล้ว เอาลงใส่เกวียนน้อย มีตุ้มหูแก้วมณีอันล้ำค่า เป็นต้น. บุรุษผู้นั้น วางของยืมเหล่านั้น ไว้ข้างหน้าตัวบ้าง รอบ ๆ ตัวบ้าง ขับผ่านไปตามหมู่ชาวร้าน. หมู่ชนเห็นบุรุษผู้นั้นแล้ว ก็จะพึงกล่าวกัน แซ่ว่า 'ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย บุรุษผู้นี้ร่ำรวยจริงหนอ ดูซิ, พวกคนรวย เขาใช้สอย โภคะกันอย่างนี้เอง' ดังนี้, ครั้นเจ้าของทรัพย์ พบบุรุษซึ่งทำอยู่ดังนั้น ในที่ใด ๆ เขาก็จะทวงเอาทรัพย์ของเขาคืนไปเสีย ณ ที่นั้น ๆ นั่นเอง.

คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? คือ ควรจะทำอย่างอื่นแก่บุรุษนั้นไหมหนอ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า”

เพราะเหตุไร ?
“เพราะเหตุว่า ธรรมดาเจ้าของทรัพย์ ก็ต้องทวงเอาทรัพย์ของเขาคืนไป” ดังนี้.

7. (กามเปรียบด้วยผลไม้)
คฤหบดี เปรียบเหมือนป่าใหญ่ ตั้งอยู่ไม่ไกลหมู่บ้านหรือนิคมนัก. ในป่าใหญ่นั้น มีต้นไม้ ซึ่งมีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย. ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งผ่านมา เป็นผู้ต้องการด้วยผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่ เขาเข้าไปยังป่า นั้นแล้ว พบต้นไม้ต้นนั้นแล้วคิดว่า 'ต้นไม้นี้มีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดิน ไม่มีเลย และเราก็รู้จักวิธีขึ้นต้นไม้อยู่, ถ้าไฉน เราขึ้นสู่ต้นไม้นี้แล้ว จะพึงกินผลไม้ตามความพอใจ ด้วย จะพึงยังห่อให้เต็มด้วย' ดังนี้แล้ว เขาก็ขึ้นสู่ต้นไม้นั้น เก็บกินตามความพอใจด้วย ห่อจนเต็มห่อด้วย.

ในลำดับนั้นเอง บุรุษคนที่สอง ซึ่งเป็นผู้ต้องการด้วยผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้ อย่างเดียวกัน ถือขวานคมผ่านมาที่นั้น เขาเข้าไปยังป่านั้นแล้วก็พบต้นไม้ต้นเดียว นั้น ซึ่งมีผลน่ากินด้วย ดกด้วย เขาจึง คิดว่า 'ต้นไม้นี้ มีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย และเราก็ไม่รู้จักวิธีขึ้นต้นไม้ ถ้าไฉน เราจะโค่นมันที่โคน แล้วจะพึงกินผลไม้ตามความพอใจด้วย จะพึงยังห่อให้เต็มด้วย' ดังนี้แล้ว เขาจึงโค่นต้นไม้นั้นที่โคน.

คฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? บุรุษผู้ขึ้นอยู่บนต้นไม้คนแรก ถ้าเขาไม่รีบลงมาโดยเร็วไซร้ เมื่อต้นไม้นั้นล้มลง เขาก็จะต้องมือหักบ้าง เท้าหักบ้าง หรืออวัยวะน้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งหักบ้าง โดยแท้. บุรุษผู้นั้น ก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ มิใช่หรือ ?

“อย่างนั้น พระเจ้าข้า”

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

( สรุป.)
คฤหบดี ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็น โดยประจักษ์ดังนี้ว่า กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า
1 มีอุปมาด้วยท่อนกระดูก
2 มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ
3 มีอุปมาด้วยคบหญ้าแห้ง
4 มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง
5 มีอุปมาด้วยของในความฝัน
6 มีอุปมาด้วยของยืม
7 มีอุปมาด้วยผลไม้

เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง ดังนี้

ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ แล้วก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขา ที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือของอุปาทาน อันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.

( ม. ม. ๑๓/๔๑-๔๔/๔๗-๕๓.)

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์