เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก 898
 
เปรียบเทียบวรรณ ๒ อย่าง
- เปรียบแก้วไพทูรย์ กับ แสงหิงห้อย...อย่างไนงามกว่าปราณีตกว่า
- แสงหิงห้อย กับ ประทีปน้ำมัน...อย่างไนงามกว่าปราณีตกว่า
- ประทีปน้ำมัน กับ กองไฟใหญ่...อย่างไนงามกว่าปราณีตกว่า
- กองไฟใหญ่ กับ ดาวพระศุกร์ ...อย่างไนงามกว่าปราณีตกว่า
- ดาวพระศุกร์ กับ ดวงจันทร์...อย่างไนงามกว่าปราณีตกว่า
- ดวงจันทร์ กับ ดวงอาทิตย์...อย่างไนงามกว่าปราณีตกว่า
-
ดวงอาทิตย์ งามกว่าและปราณีตกว่าทั้งหมด

สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม
ปริพาชกมีทิฏฐิที่ว่ากามสุขคือที่สุด คือยังพอใจของต่ำ เพราะไม่รู้เบื้องต้นเบื้องปลาย แต่ปฏิญาณ ว่าเรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว..ขอจงมาเถิดเราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามแล้วไม่นาน ก็รู้จักเองเห็นเอง จะหลุดพ้นไปได้จากเครื่องผูก คือ อวิชชา

เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๒-๒๘๗

๑๐. เวขณสสูตร
เรื่องเวขณสปริพาชก

             [๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิก เศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไป แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เปรียบเทียบวรรณ ๒ อย่าง

             [๓๙๐] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่งอุทาน ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้

             พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรกัจจานะ ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ ว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่งนั้นเป็นไฉน

             เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง

             ภ. ดูกรกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้น เป็นวรรณอย่างยิ่ง

             [๓๙๑] ดูกรกัจจานะ ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าวรรณนั้น เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ วาจานั้นของ ท่าน พึงขยายออกอย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้(กัจจานะไม่บอกว่าวรรณะใดที่ยิ่งกว่า)

ทรงอุปมาเปรียบเทียบทีละคู่ว่าอย่างไหนงามกว่าปราณีตกว่า

             ดูกรกัจจานะ เปรียบเหมือนบุรุษ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารักใคร่นาง ชนปทกัลยาณี ในชนบทนี้

             คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณี ที่พ่อปรารถนา รักใคร่ นั้น พ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ พรามหณี แพศย์ หรือศูทร. เมื่อเขาถูกถาม ดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้

             คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณี ที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึง ตอบว่า หามิได้

             คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อนางชนปทกัลยาณี ที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ำ หรือพอสันทัด ดำ ขาว หรือมีผิวคล้ำ อยู่ในบ้าน นิคม หรือ นครโน้น. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้

             คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่าพ่อ ปรารถนารักใคร่หญิงที่พ่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น นั้นหรือ. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ถูกแล้ว

             ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของ บุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้ มิใช่หรือ? แน่นอน พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้

             ดูกรกัจจานะ ข้อนี้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่พระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้ วรรณนั้น (รู้แต่ไม่ชี้ว่าอย่างไหนยิ่งกว่า)

             ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยมนายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสวส่องแสงเรือง อยู่ฉันใด ตัวตนก็ฉันนั้น เมื่อตายไป ย่อมเป็นของมีวรรณ ไม่มีโรค

             [๓๙๒] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสวส่องแสงเรืองอยู่ ๑ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณ ทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? (เปรียบแก้วไพทูรย์ กับ แสงหิงห้อย)

              ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืด ในราตรีนี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย

             [๓๙๓] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลงหิ่งห้อย ในเดือนมืด ในราตรี ๑ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? (แสงหิงห้อย กับ ประทีปน้ำมัน)

              ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืด ในราตรีนี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย

             [๓๙๔] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ประทีปน้ำมัน ในเวลา เดือนมืดในราตรี ๑ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืด ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? (ประทีปน้ำมัน กับ กองไฟใหญ่)

             ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืด ในราตรีงามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย

             [๓๙๕] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กองไฟใหญ่ในเวลา เดือนมืดในราตรี ๑ ดาวพระศุกร์ในอากาศ อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่ง ราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้ง ๒ นี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? (กองไฟใหญ่ กับ ดาวพระศุกร์ )

             ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดาวพระศุกร์ในอากาศ อันกระจ่าง ปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย

             [๓๙๖] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดาวพระศุกร์ ในอากาศ อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ ดวงจันทร์ ในเวลาเที่ยง คืนตรง ในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน) ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน? (ดาวพระศุกร์ กับ ดวงจันทร์)

             ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่า งปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน) นี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย

             [๓๙๗] ดูกรกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดวงจันทร์ในเวลา เที่ยงคืน ตรงในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ (เพ็ญกลางเดือน) ๑ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือน ท้ายฤดูฝน ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่า และประณีตกว่ากัน? (ดวงจันทร์ กับ ดวงอาทิตย์)

             ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝนนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย (ดวงอาทิตย์ งามกว่าและปราณีตกว่าทั้งหมด)

(สรุป)

             [๓๙๘] ดูกรกัจจานะ เทวดาเหล่าใด ย่อมสู้แสงพระจันทร์ และแสงพระ อาทิตย์ไม่ได้ เทวดาเหล่านั้น มีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์ และแสง พระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้นดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่าวรรณใดไม่มี วรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็ชื่อว่ากล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่า และ เศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้น เท่านั้น (เทวดาไม่รู้ธรรม มีมากกว่าเทวดาที่รู้ธรรม เท่าเศษดินปลายเล็บ)

(กามสุขเลิศกว่ากามทั้งหลาย ซึ่งเป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของอริยะ)

             ดูกรกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วย จักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักเกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ...รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักเกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

             ดูกรกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข. (สุขเกิดแต่กาม) ด้วยประการ ฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุข ว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าวสุขอันเป็นที่สุดของกาม ว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุข อันเป็นที่สุดของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ

สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม
(ปริพาชกมีทิฏฐิที่ว่ากามสุขคือที่สุด คือยังพอใจของต่ำ เพราะไม่รู้เบื้องต้น เบื้องปลาย แต่ ปฏิญาณว่าเรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว..ขอจงมาเถิดเราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติ ตามแล้วไม่นานก็รู้จักเองเห็นเอง จะหลุดพ้นไปได้จากเครื่องผูก คือ อวิชชา)

             [๓๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมผู้เจริญ ตรัสกามสุข ว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย ตรัสความสุข อันเป็นที่สุดของกาม ว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุข อันเป็นที่สุดของกาม นั้น ตรัสว่าเป็นเลิศนี้ ตรัสดีน่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา

             ดูกรกัจจานะ ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของกามก็ดี นี้ยาก ที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์เป็นประการอื่น จะพึงรู้ได้

              ดูกรกัจจานะ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกรณียะ ได้ทำเสร็จ แล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตน อันถึงแล้วตามลำดับ มีสังโยชน์ในภพ สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็นที่สุดของกามนี้ได้

             [๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกโกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่า ติเตียนพระผู้มีพระภาค คิดว่าเราจักให้พระสมณโคดม ได้รับความ เสียหาย ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวก ในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อน เบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย แต่ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีดังนี้ ภาษิตของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะทีเดียว ถึงความเป็นคำ ต่ำช้า อย่างเดียว ถึงความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ๆ

             [๔๐๑] ดูกรกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้ เงื่อนเบื้องปลาย มาปฏิญาณว่าเรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควร ถูกข่มขี่สมกับเหตุ

             ดูกรกัจจานะก็แต่ว่า เงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลาย จงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความ ไม่เป็นคนโอ้อวดไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้ โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูก คือ อวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น

             ดูกรกัจจานะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อน ยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูกไว้ด้วย เครื่องผูก ที่ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่องผูกเหล่านั้น จะพึงหลุดไปเพราะเด็กนั้น ถึงความเจริญ เพราะเด็กนั้น ถึงความแก่กล้า แห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย เขาพึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้น แล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจัก แสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบ จาก เครื่องผูก คือเครื่องผูก คือ อวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น

เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

             [๔๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป

จบ เวขณสสูตร ที่ ๑๐.

 

   

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์