เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะ ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา 894
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เหตุแห่งทิฏฐิ ๖  ประการ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็น พระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ ในธรรมของ พระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้ว ในธรรมของสัตบุรุษ
๑) ย่อมพิจารณา เห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๒) ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๓) ย่อมพิจารณา เห็นสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๔) ย่อมพิจารณา เห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๕) ย่อมพิจารณา เห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้วถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั้นเป็นอัตตาของเรา
๖) ย่อมพิจารณา เห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั่นจักเป็น ผู้เที่ยง ยั่งยืนคงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยง อย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.


อลคัททูปมสูตร เหตุแห่งทิฏฐิ ๖

1-888 ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ  [๒๗๔]
2-889 อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา [๒๗๕]
3-890 ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ ๒๗๖]
4-891 บุรุษเปล่าเรียนธรรม [๒๗๘]
5-892 กุลบุตรเรียนธรรม [๒๗๙
6-893 ธรรมเปรียบเหมือนแพ [๒๘๐]
7-894 เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ [๒๘๑]
8-895 ความสะดุ้ง ๒ [๒๘๒]
9-896 พาลธรรม [๒๘๔]
10-897 สมัญญาผู้หมดกิเลส [๒๘๕]
11-898 การวางใจเป็นกลางในลาภสักการะ [๒๘๖]
12-899 ผลแห่งการละกิเลส [๒๘๘]
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๘๘

7-894
อลคัททูปมสูตร

เหตุแห่งทิฏฐิ ๖

                [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฏฐิ ๖  ประการเหล่านี้.
๖ ประการ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็น พระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของ พระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของ พระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้ว ในธรรมของสัตบุรุษ

๑) ย่อมพิจารณา เห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๒) ย่อมพิจารณา เห็นเวทนว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๓) ย่อมพิจารณา เห็นสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น  นั่นเป็นอัตตาของเรา
๔) ย่อมพิจารณา เห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
๕) ย่อมพิจารณา เห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้วถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั้นเป็นอัตตาของเรา
๖) ย่อมพิจารณา เห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั่นจักเป็น ผู้เที่ยง ยั่งยืนคงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยง อย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมพิจารณา เห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา  เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณา เห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น  นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณา เห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น  นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณา เห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วแล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็น เหตุแห่งทิฏฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์