เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความสะดุ้ง เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้หรือหนอแล? 895
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เมื่อความพินาศแห่งบริขาร(เครื่องใช้ของภิกษุ)ในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้ หรือหนอแล?

ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้ง ย่อมมีได้ ภิกษุบุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้ว แก่เราหนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความ ลุ่มหลง


อลคัททูปมสูตร ความสะดุ้ง ๒

1-888 ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ  [๒๗๔]
2-889 อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา [๒๗๕]
3-890 ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ ๒๗๖]
4-891 บุรุษเปล่าเรียนธรรม [๒๗๘]
5-892 กุลบุตรเรียนธรรม [๒๗๙
6-893 ธรรมเปรียบเหมือนแพ [๒๘๐]
7-894 เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ [๒๘๑]
8-895 ความสะดุ้ง ๒ [๒๘๒]
9-896 พาลธรรม [๒๘๔]
10-897 สมัญญาผู้หมดกิเลส [๒๘๕]
11-898 การวางใจเป็นกลางในลาภสักการะ [๒๘๖]
12-899 ผลแห่งการละกิเลส [๒๘๘]


 
 


8-895
อลคัททูปมสูตร

ความสะดุ้ง ๒

[๒๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขาร(เครื่องใช้ของภิกษุ) ในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้หรือหนอแล?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมีได้ ภิกษุบุคคลบางคนในโลกนี้  มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้ว แก่เราหนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความ ลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้ง ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุนั้นทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อความพินาศ แห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีหรือ?

(ในทางกลับกัน)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมี ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้ว แก่เรา หนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราจะไม่ได้สิ่งนั้นหนอบุคคลนั้น ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญ ตีอก ไม่ถึงความลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขาร ในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้งพึงมี หรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมี ภิกษุ บุคคลบางคนในโลก นี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลเหล่านั้น ย่อมฟังต่อตถาคต หรือสาวกของตถาคต ผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้น ซึ่งทิฏฐิ เหตุแห่งทิฏฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลัดกลุ้มด้วยทิฏฐิ และเชื้อแห่ง ความยึดมั่น ทั้งหมดเพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้น แห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน.

บุคคล มีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้น ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญตีอก ถึงความลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการ อย่างนี้แล.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภิกษุนั้นทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีได้หรือ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมี ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยง อยู่อย่างนั้น บุคคลนั้น ย่อมฟังต่อตถาคต หรือต่อสาวกของตถาคต ผู้แสดงธรรมอยู่เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิ เหตุแห่งทิฏฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลัดกลุ้มด้วยทิฏฐิ และเชื้อแห่งความยึดมั่น ทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อความสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้น แห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน.

บุคคลนั้น ไม่มี ความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้น ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญตีอก ไม่ถึงความลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงกำหนดถือเอาเครื่องบริขาร ที่ควรกำหนดถือเอา ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น เธอทั้งหลาย ย่อมเห็นเครื่องบริขาร ที่ควรกำหนด ถือเอา ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืนคงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอ ด้วยความเที่ยงอย่างนั้นหรือไม่? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เห็นเครื่องบริขารที่ควรกำหนดถือเอานั้นเลย.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นเครื่องบริขาร ที่ควรกำหนดถือเอา ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. เธอทั้งหลาย พึงเข้าไปยึดถืออัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็น อัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่? ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสเลย พระเจ้าข้า.

     ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็น อัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็น ที่บังเกิด ความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส. เธอทั้งหลาย พึงอาศัย ทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่ เป็นที่งเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส เธอทั้งหลาย เห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส หรือไม่?

     ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสเลย พระเจ้าข้า?

     ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิด ความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์