เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  กุลบุตรเล่าเรียนธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน 892
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อลคัททูปมสูตร
5. กุลบุตรเรียนธรรม
กุลบุตร เล่าเรียนธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี ความต้องการ งูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้นไว้มั่น ด้วยไม้ มีสัณฐาน ถึงแม้งูพิษนั้น พึงรัดมือ แขน หรือ อวัยวะใหญ่น้อย ถึงอย่างนั้น เขาไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย ..ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวก ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น นั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถาอุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้น แล้ว ย่อมไตร่ตรอง เนื้อความแห่งธรรม เหล่านั้นด้วยปัญญาธรรม
อลคัททูปมสูตร กุลบุตรเรียนธรรม

1-888 ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ  [๒๗๔]
2-889 อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา [๒๗๕]
3-890 ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ ๒๗๖]
4-891 บุรุษเปล่าเรียนธรรม [๒๗๘]
5-892 กุลบุตรเรียนธรรม [๒๗๙]
6-893 ธรรมเปรียบเหมือนแพ [๒๘๐]
7-894 เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ [๒๘๑]
8-895 ความสะดุ้ง ๒ [๒๘๒]
9-896 พาลธรรม [๒๘๔]
10-897 สมัญญาผู้หมดกิเลส [๒๘๕]
11-898 การวางใจเป็นกลางในลาภสักการะ [๒๘๖]
12-899 ผลแห่งการละกิเลส [๒๘๘]


 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๘๖


5
กุลบุตรเรียนธรรม

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือสุตตะ เคยยะ ... อัมภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา

ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความ ด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และไม่มีการเปลื้อง เสีย ซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวย ประโยชน์นั้น แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน

ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร

เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้นไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐาน เหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่น ด้วยไม้ มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแ ล้วจับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรือ อวัยวะใหญ่น้อย แห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้น ด้วยขนด ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร

เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวก ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น นั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถาอุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรอง เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาธรรม เหล่านั้น ย่อมควร ซึ่งการเพ่ง แก่กุลบุตร เหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่น เป็นอานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทา เป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรม เพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้น แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้น เรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร

เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิต ของเรา อย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แลท่านทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิต ของเรา พึงสอบถามเรา หรือ ถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้เราจักแสดงธรรม มีอุปมาด้วยแพ แก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือ ท่านทั้งหลาย จงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์