เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มหาสาโรปมสูตร อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้ สะเก็ดพรหมจรรย์ เปลือก.. กระพี้. แก่นพรหมจรรย์ 1834
 
มหาสาโรปมสูตร อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้

1. อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์
- แต่เขายินดีในลาภ สักการะ สรรเสริญ เมื่อเป็นผู้ประมาทในลาภสักการะ ย่อมเป็นทุกข์
- เหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เมื่อเจอต้นไม้ใหญ่กลับละเลยแก่น กระพี้ เปลือก แต่เอากิ่งและใบ
-
ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากิ่ง และใบของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น

2. สะเก็ดพรหมจรรย์
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์
- เมื่อมีลาภสักการะ แต่เขาไม่ยินดี เมื่อไม่ประมาทในลาภสักการะ ไม่ยกตนด้วยลาภสักการะ
- เขาย่อมถึงพร้อมแห่งศีล เพราะถึงพร้อมแห่งศีล เขายกตนข่มผู้อื่นว่าเราเป็นผู้มีศีล (ภิกษุอื่นไม่มี)
- เมื่อมัวเมาประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีล ย่อมอยู่เป็นทุกข์
- เหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้ เมื่อต้นไม้ใหญ่กลับละเลย จึงถากเอาสะเก็ดไม้ไป
- ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น


3. เปลือกพรหมจรรย์
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์
- เขามีลาภสักการะสรรเสริญ แต่ไม่ยินดี ไม่ประมาท.. และไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะ
- เขาถึงพร้อมด้วยศีล ยินดีในศีล ไม่ประมาทในศีล... และไม่ยกตนข่มผู้อื่นด้วยศีล
- เขาถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่เขายกตนข่มผู้อื่นว่าเรามีจิตตั้งมั่น (ภิกษุอื่นจิตไม่ตั้งมั่น)
- เขามัวเมา ถึงความประมาทแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์
- เหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้ เมื่อพบต้นไม้ใหญ่มีแก่น กลับละเลยแก่น
จึงถากเอาเปลือกไป
- ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น


4. กระพี้พรหมจรรย์
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์
- เขามีลาภสักการะสรรเสริญ แต่ไม่ยินดี ไม่ประมาท.. และไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะ
- เขาถึงพร้อมด้วยศีล ยินดีในศีล ไม่ประมาทในศีล... และไม่ยกตนข่มผู้อื่นด้วยศีล
- เขาถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ยกตนข่มผู้อื่นว่าเราถึงพร้อมด้วยสมาธิ เรามีจิตตั้งมั่น
- เขายังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดี ว่าเรารู้เราเห็นอยู่ แต่เขาจึงยกตนข่มผู้อื่น
- เขามัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์
- เหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้ เมื่อพบต้นไม้มีแก่น กลับละเลย จึงถากเอากระพี้ไป สำคัญว่าแก่น
- ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากระพี้ แห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล

5. แก่นพรหมจรรย์
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์
- เขามีลาภสักการะสรรเสริญ แต่ไม่ยินดี ไม่ประมาท.. และไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะ
- เขาถึงพร้อมด้วยศีล ยินดีในศีล ไม่ประมาทในศีล... และไม่ยกตนข่มผู้อื่นด้วยศีล
- เขาถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ยกตนข่มผู้อื่นว่าเราถึงพร้อมด้วยสมาธิ เรามีจิตตั้งมั่น
- เขายังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดี ว่าเรารู้เราเห็นอยู่ แต่เขาไม่ยกตนข่มผู้อื่น
- เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ
- ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจาก สมยวิมุติ (ทำความหลุดพ้นให้สำเร็จ) เป็นฐานะที่จะมีได้


กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ตั้งใจจะกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์

1. ลาภสักการะและสรรเสริญ ที่เกิดขึ้น เขาไม่ยินดี ... และไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะนั้น
2. เขาถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ มีความยินดีในศีล...และไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะศีลนั้น
3. เขาถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ ยินดีในสมาธิ...และไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะสมาธินั้น
4. เขายังญาณทัสสนะให้สำเร็จ ยินดีในญาณทัสสนะ...และไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นในญาณทัสนะนั้น
5. เขายังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ...ข้อที่ภิกษุจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตินั้น ไมใช่ฐานะ ไม่ใช่โอาส
6.เหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้..เมื่อพบต้นไม้ใหญ่มีแก่น จึงถากเอาแก่นไป
7.บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ ..และสำเร็จประโยชน์
8. เขาเป็นผู้ไม่ประมาทในญาณทัสสนะนั้น ย่อม ให้สำเร็จ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูตยังิ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

           
1)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๖-๒๖๓

๙. มหาสาโรปมสูตร
อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้

(ภิกษุถือเอากิ่งและใบไม่เอาแก่น จึงถึงที่สุดแค่กิ่งและใบ ไม่อาจเข้าถึงพรหมจรรย์ได้)

           [๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์. เมื่อพระเทวทัตต์ หลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภพระเทวทัตต์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

            เขาบวชอย่างนั้นแล้ว
ยังลาภ สักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมด้วย ลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เพราะ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย.เขาย่อมมัวเมา ถึงความ ประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไปสำคัญว่าแก่น

           บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือกไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ละเลยแก่นละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่ง และ ใบ ถือไป สำคัญว่าแก่นและกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

            กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ.

           เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วย ลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้น เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากิ่ง และใบ ของพรหมจรรย์และ ถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น


2)

สะเก็ดพรหมจรรย์
(ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล แต่ยกตนข่มผู่อื่น เรียกว่าได้ถือเอาสะเก็ดไม้ จึงไม่อาจเข้าถึง พรหมจรรย์ได้)

           [๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

            เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญ ให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความ สรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญ อันนั้น.

           เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญ นั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.(2) เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่าเรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลย เปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น.

           บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบจริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

            กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอความ กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

           เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญ นั้น.เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท แล้ว ย่อมยังความถึงพร้อม แห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น.

           เพราะความถึงพร้อม แห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม เขาย่อมมัวเมาถึงความ ประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์และถึงที่สุด แค่ สะเก็ดนั้น.


3

เปลือกพรหมจรรย์
(ภิกษุถึงจิตตั้งมั่น แต่ยกตนข่มผู้อื่นว่าจิตไม่ตั้งมั่น เหมือนเจอไม้แก่นแต่กลับถากเอา เปลือกไป .. จึงไม่อาจเข้าถึง พรหมจรรย์ได้)

           [๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าไฉนหนอ ความกระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

           เขาบวชอย่างนั้นแล้วยังลาภ สักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.
เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท แล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีล ให้สำเร็จ.

            เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้นเขาย่อมไม่ มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อม แห่งสมาธิให้สำเร็จ.

          เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว. เขาย่อม มัวเมา ถึง ความประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาท แล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าว อย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จัก กิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหา แก่นไม้ อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่น ตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือก ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะ พึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์ แก่เขา ฉันใด

            กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้วถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอความกระทำ ที่สุด แห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

            เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และ ความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดีมีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และความ สรรเสริญอันนั้น.

            เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความ สรรเสริญ อันนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อม แห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

            เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ ประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึง พร้อม แห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น.

           เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่น ว่าเรามีจิต ตั้งมั่น มีจิต มีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไป ผิดแล้ว. เขาย่อม มัวเมาถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็น ผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น


4)

กระพี้พรหมจรรย์
(เขายังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เรารู้เราเห็นอยู่ แต่เขาจึงยกตนข่มผู้อื่น เขามัวเมาถึง ความประมาทเพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์ เหมือนบุรุษ ต้องการแก่นไม้ เมื่อพบต้นไม้มีแก่นกลับละเลย จึงถากเอากระพี้ไปเพราะสำคัญว่าแก่น จึงไม่อาจเข้าถึงพรหมจรรย์ได้)

           [๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

           เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญ ให้บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท แล้ว ย่อมยังความถึงพร้อม แห่งศีลให้สำเร็จ.

            เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ ประมาท เพราะเพราะความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความ ถึงพร้อม แห่งสมาธิให้สำเร็จ

            เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อม แห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยัง ไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เขาย่อมไม่ มัวเมา ไม่ถึง ความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาท แล้ว ย่อมยัง ญาณทัสสนะ ให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้ว ด้วยญาณทัสสนะนั้น

            เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่น นอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ ถือไป สำคัญว่าแก่น.

           บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้นบุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้อยู่ เสาะหาแก่นไม้อยู่ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำ ด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่าเราเป็นอันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับ แล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

            เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น.

            เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เขาย่อมไม่ มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อม แห่งศีลให้สำเร็จ

            เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ ประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยังความ ถึงพร้อม แห่งสมาธิให้สำเร็จ.

            เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม แห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อม แห่งสมาธินั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึง ความประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง ญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วย ญาณทัสสนะนั้น

           เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วน ภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ เขาย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะญาณทัสสนะ นั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากระพี้ แห่งพรหมจรรย์ และถึง ที่สุดแค่กระพี้นั้นแล


5)

แก่นพรหมจรรย์
(บุรุษต้องการแก่นไม้..เมื่อพบต้นไม้ใหญ่มีแก่น จึงถากเอาแก่นไป บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จึงสำเร็จประโยชน์
เขาเป็นผู้ไม่ประมาทในญาณทัสสนะ ย่อมเข้าถึง
อสยวิมุติ -หลุดพ้น )

           [๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

            เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่มี ความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยมด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เขาไม่ ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น

            เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญ นั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น

           เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่ง สมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อม แห่งสมาธิอันนั้น

           เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อ เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะ นั้น แต่มีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น

            เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยัง สมยวิโมกข์* ให้สำเร็จ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึง เสื่อมจากสมยวิมุตินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

(* สมยวิโมกข์ คือกาล คือสมัย ที่พ้นจากกิเลส หรือ เข้าถึงการหลุดพ้น)

           ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น


           บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น รู้จัก กระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการ แก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอา แก่น ถือไป รู้จักว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์ แก่เขา ฉันใด

            กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือน บวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้วถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอความกระทำ ที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เขาบวชอย่างนี้แล้ว ยังลาภสักการะและความ สรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ อันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ

            เขามีความยินดี ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อม แห่งสมาธิให้สำเร็จ

            เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึง ความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยัง ญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริ ยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง อสมยวิโมกข์ ให้สำเร็จ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจาก อสมยวิมุติ* นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้
(*อสยวิมุติ คือความหลุดพ้นที่ไม่กลับกำเริบ)

           [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนั้น พรหมจรรย์นี้ จึงมิใช่มีลาภ สักการะและความสรรเสริญ เป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีล เป็นอานิสงส์ มิใช่มี ความถึงพร้อมแห่งสมาธิ เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้ มี เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด

           พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วแล

จบ มหาสาโรปมสูตร ที่ ๙

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์