เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โจทนาสูตร คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์ โดยกาลอันควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ไม่เพ่งโทษ 2220
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

โจทนาสูตร คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจท(โจทก์)

๑ เราจักกล่าวโดยกาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร
๒ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
๓ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔ จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕ จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว


ภิกษุไม่พึงเดือดเนื้อร้อนใจ หากถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม
๑ ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน (อวิปปฏิสาร)
๒ ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ...
๓ ถูกโจทด้วยคำหยาบ ...
๔ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ...
๕ ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ (ถูกกล่าวหา)...


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๘-๒๐๑

๗. โจทนาสูตร
คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจท(โจทก์)

           [๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายในก่อน แล้วจึงโจท ผู้อื่น

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมว่า
๑ เราจักกล่าวโดยกาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร
๒ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
๓ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔ จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕ จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว

           ดูกรอาวุโสภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ ภายใน ก่อน แล้วจึงโจทผู้อื่น

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้
๑ ถูกผู้อื่นโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ
๒ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจท ด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ
๓ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ก็โกรธ
๔ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่อง ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่อง ที่ประกอบด้วย ประโยชน์ ก็โกรธ
๕ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

           ดูกรอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจท โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑ ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๒ ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๓ ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๔ ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วย ประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๕ ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

            ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจท โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์ โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลควร ท่านจึงควรเดือดร้อน
๒ ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านจึงควรเดือดร้อน
๓ ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงควรเดือดร้อน
๔ ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วย ประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน
๕ ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน

            ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์ โดย ไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึง เข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคน ในธรรมวินัยนี้
๑ ถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ
๒ ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ
๓ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบก็โกรธ
๔ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่อง ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ
๕ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษก็โกรธ

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจท โดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ
๑ ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน
๒ ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน
๓ ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงควรเดือดร้อน
๔ ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่อง ที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน
๕ ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน

            ดูกรอาวุโสทั้งหลายความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ ภิกษุผู้ถูกโจท โดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้น แก่ภิกษุผู้โจท โดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ
๑ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๒ ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๓ ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๔ ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่อง ที่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
๕ ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน


            ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อนภิกษุพึงให้เกิดขึ้น แก่ภิกษุผู้โจทก์ เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการคือ
๑ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร
๒ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง
๓ ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ
๔ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ


           แม้เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และ ความไม่โกรธ ถ้าเรา พึงทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่พร้อม ในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่าไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

           พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่า โมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอนย่อมไม่รับโดยเคารพ (หัวดื้อ)

           สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ ความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติ เลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้า น้ำลาย คนเหล่านั้น

           เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ ความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้าย คนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ

           พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต ... มีปัญญาทราม คล้าย คนบ้าน้ำลาย* จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ... มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย

           ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรมเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร

ข้อสังเกตุ จากเว็บไซต์อนาคามี
*คำว่าบ้าน้ำลาย ไม่น่าจะเป็นคำกล่าว หรือเป็นสำนวนการใช้ภาษาของพระศาสดา แม้จะกล่าวตาม พระสารีบุตรก็ตาม


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์