เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สัทธรรมนิยาม ผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือความถูกในกุศลธรรม.พูดมาก พูดปรารภตน ปัญญาทราม...

2221
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

๑. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑
บุคคลแม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
๑ บุคคลพูดมาก
๒ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก
๓ พูดปรารภตน
๔ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม
๕ เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย

๒. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๒
บุคคลแม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
๑ บุคคลย่อมพูดมาก
๒ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก
๓ พูดปรารภตน
๔ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า
๕ เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

๓. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๓
๑ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม
๒ เป็นผู้อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม

๓ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง
๔ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า
๕ เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘

๑. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑

           [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟัง สัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ บุคคลย่อมพูดมาก
๒ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก
๓ พูดปรารภตน
๔ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม
๕ เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรม อยู่เป็นผู้ควร เพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉนคือ
๑ บุคคลย่อมไม่พูดมาก
๒ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก
๓ ไม่พูดปรารภตน
๔ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม
๕ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘-๑๗๙

๒. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๒

           [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกใน กุศลธรรมธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ บุคคลย่อมพูดมาก
๒ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก
๓ พูดปรารภตน
๔ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า
๕ เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ บุคคลย่อมไม่พูดมาก
๒ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก
๓ ไม่พูดปรารภตน
๔ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า
๕ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๙-๑๘๐

๓. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๓

           [๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม
๒ เป็นผู้อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม
๓ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง
๔ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า
๕ เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม
๒ เป็นผู้อันความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม
๓ เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง
๔ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า
๕ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์