เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อเจลสูตร อเจลกัสสป(นักบวชเปลือย) สนทนากับ จิตตคฤหบดี ต่อมาได้พา อเจล.เข้าหาพระเถระเพื่ออุปสมบท 2052
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ เล่มที่ ๑๘

อเจลสูตร อเจลกัสสป สนทนากับ จิตตคฤหบดี
จิตต. ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก

อเจล.(นักบวชชีเปลือย) ดูกรคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณ ทัสสนะวิเศษ ชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ อันเราบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการ ประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่น ครั้งนั้นจิตตคฤหบดี ได้พาอเจลกัสสป ไปหาภิกษุ ผู้เถระ เพื่อบวชในพุทธศาสนา

คิลานสูตร
จิตตคฤหบดีป่วยหนัก เทวดาขอให้ตั้งจิตให้ไปเกิดเป็นจักรพรรดิ จิตต.บอกเทวดาว่า การเป็น พระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นของไม่เที่ยง เวลานั้นญาติสาโลหิตที่อยู่ใกล้ได้ยิน จิตต.พูดออกมา ก็บอกเตือนว่า ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป ...

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๒

อเจลสูตร
(อเจลกัสสปกับจิตตคฤหบดีผู้ศรัทธาพระพุทธเจ้า)

            [๕๘๐] ก็สมัยนั้นแล อเจลกัสสป ได้เคยเป็นสหายของ จิตตคฤหบดี เมื่อครั้ง ยัง เป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่า อเจลกัสสป ผู้เคย เป็นสหายของเรา เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาถึงราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้น แล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาอเจลกัสสปแล้ว ได้ปราศรัยกับอเจลกัสสป ครั้น ผ่านการ ปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถาม อเจลกัสสปว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านบวชมานานเท่าไร อเจลกัสสปตอบว่า ดูกรคฤหบดี เราบวชมาได้ประมาณ ๓๐ ปี

            จิตต. ท่านผู้เจริญ ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณ ทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ

            อ. ดูกรคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณ ทัสสนะวิเศษ ชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ อันเราบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่น

            [๕๘๑] เมื่ออเจลกัสสป(บักบวชลัทธิอื่น) กล่าวอย่างนี้ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา แล้วหนอ เพราะใน อเจลบรรพชาตลอดเวลา ๓๐ ปี อุตตริมนุสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณ ทัสสนะ วิเศษ ชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ เป็นธรรมอันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัดฝุ่น

            อ. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้วนานเท่าไร

            จิตต. ท่านผู้เจริญ สำหรับข้าพเจ้าได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้ว ๓๐ ปี

            อ. ดูกรคฤหบดี ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรม อะไรๆที่เป็นญาณ ทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ

            จิตต. ท่านผู้เจริญ แม้คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะข้าพเจ้าย่อมจำนง หวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน ... ก็แหละข้าพเจ้าพึงพยากรณ์ ก่อนพระผู้มีพระภาคไซร้ ก็จะไม่เป็นการน่าอัศจรรย์ สำหรับข้อที่ พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงพยากรณ์ ข้าพเจ้า ว่าไม่มีสังโยชน์ที่จิตตคฤหบดี ประกอบแล้ว (มีแล้ว) จะพึงเป็นเหตุให้กลับมาสู่โลกนี้อีก

            [๕๘๒] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ อเจลกัสสปได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะใน พระธรรมวินัย มีคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาว จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นญาณ ทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ เป็นเครื่องอยู่ผาสุกเช่นนั้น ดูกรคฤหบดี ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้

            ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้พาเอาอเจลกัสสป เข้าไปหาภิกษุผู้เถระ ถึงที่อยู่ แล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปผู้นี้ เคยเป็นสหายของข้าพเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ขอพระเถระทั้งหลายจงให้อเจลกัสสปผู้นี้ บรรพชาอุปสมบทเถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อเจลกัสสป ได้บรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัยแล้ว

            ท่านพระกัสสป อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียรมีใจแน่วแน่ กระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน พระอรหันต์ทั้งหลาย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๒ - ๓๓๔

คิลานสูตร
จิตตคฤหบดีป่วยหนัก เทวดาขอให้ตั้งจิตให้ไปเกิดเป็นจักรพรรดิ)

            [๕๘๓] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีป่วย เป็นทุกข์ มีไข้หนัก ครั้งนั้นแล อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและ พญาไม้ มาร่วมประชุมกันแล้วกล่าวกับ จิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิดเมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคฤหบดี จึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะ ต้องละไป

            [๕๘๔] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตรสหายญาติสาโลหิต ของ จิตตคฤหบดี ได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป

            จิตต. ฉันได้พูดอะไรออกไปบ้างหรือ ที่เป็นเหตุให้พวกท่านทั้งหลาย กล่าว กะฉันอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป

            มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านได้พูดอย่างนี้ว่า แม้การเป็นเช่นนั้น ก็เป็น ของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป

            จิตต. จริงอย่างนั้น อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ)เทวดาที่สิงสถิต อยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้ ได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดีท่านจงตั้ง ปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรวรรดิราช ในอนาคตกาล ฉันจึงได้กล่าวกะ
เทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป

            มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ก็อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา(และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น เห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ในอนาคตเถิด

            จิตต. อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า จิตตคฤหบดีผู้นี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเธอจักปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ในอนาคต ไซร้ การปรารถนาด้วยใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้เพราะศีลบริสุทธิ์ ผู้ประกอบด้วย ธรรม ย่อมเพิ่มกำลังให้ผู้ที่ประกอบด้วยธรรมอารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยาหญ้าและพญาไม้เหล่านั้น เห็นอำนาจประโยชน์ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กล่าวว่า

            ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ในอนาคต เถิด ฉันจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้น ก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป

            มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวกข้าพเจ้า บ้าง

            [๕๘๕] จิตต. ฉะนั้น พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักประกอบด้วย ศรัทธา อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้ง โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

            พวกเราจักประกอบด้วยศรัทธา อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน

            พวกเราจักประกอบด้วยศรัทธา อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี่คือคู่แห่ง บุรุษ ๔ได้แก่บุรุษบุคคล ๘ นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า

            อนึ่ง ไทยธรรมทุกชนิดในตระกูล จักเป็นของควรแบ่งกับท่านผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ครั้นแนะนำมิตร สหาย ญาติสาโลหิต ให้เลื่อมใสใน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และจาคะแล้ว ได้กระทำกาละ (ตาย)



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์