เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โคทัตตสูตร พระโคทัตตะถามคฤหบดี อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญา.. สูญญตา.. อนิมิตตาเจโตวิมติ 2050
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

โคทัตตสูตร
พระโคทัตตะ ถาม จิตตคฤหบดี
ว่า
๑.อัปปมาณาเจโตวิมุติ
๒.อากิญจัญญาเจโตวิมุติ
๓.สูญญตาเจโตวิมุติ
๔.อนิมิตตาเจโตวิมุติ

มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่า
มีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก ๓๒๖-๓๒๘

โคทัตตสูตร

            [๕๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะ อยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้เข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระโคทัตตะ ได้ถามจิตตคฤหบดีว่า

            ดูกรคฤหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สูญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่า มีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

            จิตตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้ อาศัย แล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน มีอยู่ และปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรม เหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น มีอยู่

            [๕๗๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้ อาศัยแล้วเป็น ธรรมมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน เป็นไฉน  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน

            โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วย เมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่มีใจประกอบด้วยกรุณา ...ประกอบด้วยมุทิตา... ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน

            โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วย อุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุติ

            [๕๗๓] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้อยู่ นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติ

            [๕๗๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สูญญตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นี้ว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องในตน นี้เรียกว่า สูญญตาเจโตวิมุติ

            [๕๗๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อนิมิตตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึง อนิมิตตาเจโตสมาธิ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้คือปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้ อาศัยแล้ว มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน

            [๕๗๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้ อาศัยแล้ว มีอรรถ เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ เท่านั้นเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสกระทำประมาณ กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลราก ขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก ต่อไปเป็นธรรมดา

            อัปปมาณาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้น ว่างเปล่าจาก ราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลส เครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุ ผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

            อากิญจัญญาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญา เจโตวิมุติ เหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้น ว่างเปล่าจาก ราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลส เครื่องกระทำนิมิต (เครื่องหมาย) กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

            อนิมิตตาเจโตวิมุติมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้น ว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายนี้เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้ อาศัยแล้ว มีอรรถ เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

            ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่าน หยั่งทราบ ในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่านท่านได้ดีแล้ว



 

 

 

 

 

 

 

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์