เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กามภูสูตรที่ ๑ อุปมารถอันไม่มีโทษ หลังคาขาว ไม่มีทุกข์ กามภูสูตรที่ ๒ เรื่องสังขาร ๓ สัญญาเวทยิต 2049
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘

กามภูสูตรที่ ๑
ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสประพันธ์คาถาไว้ดังนี้ว่าเธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน
คำว่า รถ เป็นชื่อของร่างกายนี้ซึ่งประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔
คำว่า ไม่มีโทษ เป็นชื่อของศีล
คำว่า มีหลังคาขาว เป็นชื่อของวิมุตติ
คำว่า มีเพลาเดียว เป็นชื่อของสติ
คำว่า ไม่มีทุกข์ คือสิ้น ราคะ โทสะ โมหะ
คำว่า ย่อมแล่นไป เป็นชื่อของการก้าวไป และการถอยกลับ
คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์
คำว่า กระแส เป็นชื่อ ของตัณหา

กามภูสูตรที่ ๒
จิตตคฤหบดี ได้เข้าไปหาท่านพระกามภู
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไร หนอ แล
ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแล ชื่อว่า กายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขา
สัญญาและเวทนา ชื่อว่า จิตตสังขาร

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เป็นของเกิดที่กาย เนื่องด้วยกาย ลมหายใจเข้า-ออก จึงชื่อว่า กายสังขาร
บุคคลย่อมตรึกตรองก่อน แล้วจึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้นวิตกวิจาร
จึงชื่อว่า วจีสังขาร
สัญญาและเวทนา เป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น สัญญาและเวทนา
จึงชื่อว่า จิตตสังขาร

เรื่อง สัญญาเวทยิตนิโรธ (จิตตคฤหบดีถามพระกามภู)
๑.ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร
๒.ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตฯธรรมไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
๓.คนทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต ต่างกันอย่างไร
๔.ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร
๕.เมื่อภิกษุออกจาก สัญญาเวทยิต ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
๖.ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจาก สัญญาเวทยิต นิโรธสมาบัติ
๗.ก็จิตของภิกษุผู้ออกจาก สัญญาเวทยิตฯ เป็นธรรมชาติ น้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๓

กามภูสูตรที่ ๑
(เรื่องจิตตคฤหบดี)

             [๕๕๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภู อยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระกามภู ได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า

             ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสประพันธ์คาถาไว้ดังนี้ว่า

             เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึง ที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน

             [๕๕๙] ดูกรคฤหบดี ท่านพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยย่อ โดยพิสดารอย่างไรหนอ

             จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสหรือ
             กา. อย่างนั้น คฤหบดี

             จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอคอยอยู่ครู่หนึ่ง จนกว่ากระผม จักเพ่งเนื้อความ แห่งคาถาประพันธ์นั้นได้

             ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้ตอบท่านกามภูว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ
คำว่าไม่มีโทษนั้น
เป็นชื่อของศีล
คำว่ามีหลังคาขาวนั้น เป็นชื่อของวิมุตติ
คำว่ามีเพลาเดียวนั้น
เป็นชื่อของสติ
คำว่าย่อมแล่นไปนั้น
เป็นชื่อของการก้าวไป และการถอยกลับ

             คำว่า รถนั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ซึ่งประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดา เป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุก และขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้ นวดเฟ้น มีการแตกทำลาย และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา

             ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์ ทุกข์เหล่านั้น อันภิกษุผู้ ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพ พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ไม่มีทุกข์

             คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์ คำว่า กระแสนั้น เป็นชื่อ ของตัณหา ตัณหานั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาล ยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

             เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ตัดกระแสตัณหาขาด ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสเครื่องผูกพันกิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา

             เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง ผูกพัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า เธอจงดูรถอันไม่มี โทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มี ทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มี กิเลส เครื่องผูกพัน ดังนี้

             กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้

             กา. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่าน หยั่งทราบในพระพุทธพจน์ ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒๓-๓๒๖

กามภูสูตรที่ ๒
(เรื่องจิตตคฤหบดี)

(เรื่องสังขาร ๓)

             [๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภู อยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้เข้าไปหาท่านพระกามภู ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไร หนอ แล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขารวจีสังขาร จิตตสังขาร

             [๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชมอนุโมทนา ภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขาร เป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน

             กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแล ชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร

             [๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่า กายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงชื่อว่าจิตตสังขาร

             กา. ดูกรคฤหบดี
ลมหายใจ เข้าและลมหายใจออก เป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จึงชื่อว่ากายสังขาร
บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้นวิตกวิจาร
จึงชื่อว่าวจีสังขาร
สัญญาและเวทนา เป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น สัญญาและเวทนา
จึงชื่อว่าจิตตสังขาร

(เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ)

             [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ(๑) ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร

             กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญา เวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิต ที่จะน้อมไป เพื่อความ เป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม)
(หมายเหตุ จิตแท้ หรือจิตดั่งเดิม ไม่มีในความหมายของระบบของขันธ์๕ )

             [๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (๒) ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหน ดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อนต่อจาก นั้น กายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตต สังขาร จึงดับ

             [๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (๓) คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขาร ดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์แตกกระจาย ส่วนภิกษุ ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขารดับ สงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละ แล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันอย่างนี้

             [๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ(๔) ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิด อย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจาก สัญญา เวทยิตนิโรธ สมาบัติบ้าง เราออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไป เพื่อความเป็นจิตแท้

             [๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ(๕) ก็เมื่อภิกษุออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหน เกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขาร เกิดก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด

             [๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (๖) ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจาก สัญญา เวทยิต นิโรธสมาบัติ กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ ๑ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิต ผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

             [๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้น ไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ(๗) ก็จิตของภิกษุผู้ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อม เป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็น ธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก

             [๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชมอนุโมทนา ภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ธรรม เท่าไร ย่อมมีอุปการะมาก แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

             กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่า อาตมา จักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน

              ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมาก แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

 

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์