เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

โฆฏมุขสูตร โฆฏมุขพราหมณ์ 1899
 


โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน


1 โฆฏมุขพราหมณ์
2 บุคคล ๔ จำพวก
3 บริษัท ๒ จำพวก
4 ติตถิยวัตร
5 ผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
6 ฌาน ๔
7 ญาณ ๓
8 การสร้างศาลาสงฆ์

 

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 
1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

๔. โฆฏมุขสูตร
โฆฏมุขพราหมณ์ (โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน ใกล้เมืองพาราณสี. ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะ ได้ไปถึงเมืองพาราณสี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อน ได้เข้าไปยังเขมิยอัมพวัน. ก็สมัยนั้น ท่านพระอุเทนเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง.

             โฆฏมุขพราหมณ์ เข้าไปหาท่านพระอุเทน ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอุเทน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้เดินตามพระอุเทน ผู้กำลัง เดินจงกรมอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า

             ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มีในเรื่องนี้ ข้าพเจ้า มีความเห็นอย่างนี้ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย เช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือไม่เห็นธรรม ในเรื่องนี้.

             [๖๓๑] เมื่อโฆฏมุขพราหมณ์ กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุเทนลงจากที่จงกรม เข้าไปยังวิหาร แล้วนั่งบนอาสนะที่จัดไว้. แม้โฆฏมุขพราหมณ์ ก็ลงจากที่จงกรม เข้าไป ยังวิหาร แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ท่านพระอุเทนได้กล่าวกะ โฆฏมุขพราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญนั่งเถิด.

             โฆ. ก็ข้าพเจ้ารอการเชื้อเชิญ ของท่านพระอุเทนนี้แล จึงยังไม่นั่ง เพราะว่า คนเช่นข้าพเจ้า อันใครไม่เชื้อเชิญก่อนแล้ว จะพึงสำคัญการที่จะพึงนั่งบนอาสนะ อย่างไร.

             ลำดับนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง.ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอุเทนว่า ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบ ธรรมย่อมไม่มี ในเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย เช่นท่าน ไม่เห็นข้อนั้น หรือไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้. ท่านพระอุเทนกล่าวว่า

              ดูกรพราหมณ์ ถ้าท่านพึงยอมคำที่ควรยอม และพึงคัดค้านคำ ที่ควรคัดค้าน ของเรา อนึ่ง ท่านไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตใด พึงซักถามเราในภาษิตนั้น ให้ยิ่งไปว่า ดูกรท่านอุเทน ภาษิตนี้อย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน เพราะทำได้อย่างนี้ เราทั้งสอง พึงมีการเจรจาปราศรัยในเรื่องนี้กันได้.

             โฆ. ข้าพเจ้าจักยอมคำที่ควรยอม และจักคัดค้านคำที่ควรคัดค้าน ของท่าน อุเทน อนึ่งข้าพเจ้าจักไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิต ของท่านอุเทนข้อใด ข้าพเจ้าจักซักถาม ท่านอุเทนในภาษิตข้อนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรท่านอุเทน ภาษิตนี้อย่างไร เนื้อความแห่ง ภาษิตนี้เป็นไฉน เพราะทำได้อย่างนี้ เราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.


2
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

บุคคล ๔ จำพวก
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๓๒] อ. ดูกรพราหมณ์ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก เป็นไฉนดูกรพราหมณ์
             บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการ ทำตน ให้เดือดร้อน ๑

             บางคนเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ๑

             บางคนเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้ เดือดร้อน ทั้งเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน ๑

             บางคนไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย ในการทำตน ให้เดือดร้อน ทั้งไม่เป็นผู้ทำอื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อนและไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่มี ความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุขมีตนเป็นดังพรหมอยู่ ในปัจจุบัน ๑

             ดูกรพราหมณ์ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลไหนย่อมยังจิตของท่านให้ยินดี.

             โฆ. ดูกรท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการ ทำตน ให้เดือดร้อนนี้ ย่อมไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนี้ ก็ไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี ถึง บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนี้ ก็ไม่ยังจิตของ ข้าพเจ้า ให้ยินดี

             ส่วนบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อนไม่ประกอบความขวนขวาย ในการทำตนให้ เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน ผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว บุคคลนี้ย่อม ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี.

             อุ. ดูกรพราหมณ์ ก็เพราะเหตุไร บุคคล ๓ จำพวกนี้ จึงไม่ยังจิตของท่าน ให้ยินดี?

             โฆ. ดูกรท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวาย ในการทำตน ให้เดือดร้อน เขาย่อมทำตนผู้รักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน

             เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ย่อมทำผู้อื่น ซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน

             เพราะเหตุนี้บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี ถึงบุคคลผู้ทำตนให้ เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ทำตน และผู้อื่นซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน

             เพราะเหตุนี้บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี ส่วนบุคคลผู้ไม่ทำตน ให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้ เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิวดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เขาย่อมไม่ทำตน และผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ ให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี.


3
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

บริษัท ๒ จำพวก
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๓๓] อุ. ดูกรพราหมณ์ บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
บริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ย่อมแสวงหาบุตร และ ภรรยา ทาสีและทาสนาและที่ดิน ทองและเงิน

ส่วนบริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณี และกุณฑลละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต

             ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำตนให้ เดือดร้อนไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย ในการทำ ผู้อื่นให้ เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มี ความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ ในปัจจุบันเทียว ท่านเห็น บุคคลนี้ ในบริษัทไหนมาก คือ ในบริษัทผู้กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล แสวงหา บุตรและ ภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงินและในบริษัท ผู้ไม่กำหนัด ยินดี ในแก้วมณี และกุณฑล ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต?

             โฆ. ดูกรท่านอุเทน บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย ในการทำ ผู้อื่นให้เดือดร้อนเขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม อยู่ในปัจจุบันเทียว ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้ มีมากในบริษัทไม่กำหนัดยินดี ในแก้วมณีและกุณฑล ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงินแล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

             อุ. ดูกรพราหมณ์ ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ดูกรสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

             โฆ. ดูกรท่านอุเทน วาจาที่ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้านั้น เป็นวาจามีเหตุสนับสนุน โดยแท้การบวชอันชอบธรรมมีจริง ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ และขอท่าน อุเทน โปรดจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ อนึ่ง บุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านอุเทนกล่าวแล้วโดยย่อ ไม่จำแนกโดยพิสดาร ขอโอกาสเถิดท่าน ขอท่านอุเทน ช่วยอนุเคราะห์จำแนกบุคคล ๔ จำพวกนี้โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

             อุ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
โฆฏมุขพราหมณ์ รับคำท่านพระอุเทนว่า อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.


4
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

ติตถิยวัตร
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๓๔] ท่านพระอุเทนได้กล่าวว่า ดูกรพราหมณ์ (๑) ก็บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบ ความขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อนเป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับ ภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญ ให้หยุด ก็ไม่หยุด

             ไม่ยินดีรับภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีรับ ภิกษา ที่เขา ทำเฉพาะ ไม่ยินดีรับ นิมนต์ ไม่รับ ภิกษา ปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปาก กระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษา คร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษา ของคนสองคน กำลัง บริโภคอยู่ ไม่รับ ภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษา ของหญิง ผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิง ผู้คลอเคลียชาย

             ไม่รับภิกษาที่แนะนำทำกันไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษา ในที่มี แมลงวันตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมัก ดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยา อัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ

             รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพ ด้วยภิกษา ในถาดน้อย ใบเดียวบ้าง ๒ บ้าง ฯลฯ ๗ บ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง

             เป็นผู้ประกอบความขวนขวาย ในการบริโภคภัตที่เวียนมา ตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ ด้วยประการ ฉะนี้ เป็นผู้ มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือย เป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษา บ้าง มีข้าวไหม้เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษา บ้าง มีโคมัย เป็นภักษาบ้าง มีเหง้ามัน และ ผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ หล่นเยียวยา อัตภาพบ้าง

             เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือก ไม้ บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกไม้ กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรอง บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วย ขนปีก นกเค้า บ้าง เป็นผู้ถือการถอนผม และหนวด คือ ประกอบความขวนขวาย ในการถอนผมและ หนวด บ้าง

             เป็นผู้ถือการยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้ถือกระโหย่ง คือ ประกอบความเพียร ในการ เดิน กระโหย่งบ้าง เป็นผู้ถือการนอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ถือ การอาบน้ำ วันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวาย ในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ ขวนขวาย ในการประกอบเหตุ เครื่องทำกายให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อน ด้วยวิธีเป็นอันมาก เช่นนี้อยู่

             ดูกรพราหมณ์ บุคคลนี้ เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน.

             [๖๓๕] ดูกรพราหมณ์ (๒) ก็บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวาย ในการ ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน

              ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าแกะขายเลี้ยงชีพ เป็นคนฆ่า หมู ขายเลี้ยงชีพ เป็นคนฆ่านกขายเลี้ยงชีพ เป็นคนฆ่าเนื้อขายเลี้ยงชีพ เป็นพรานเป็นคน ฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนรับจ้างฆ่าโจร เป็นใหญ่ในเรือนจำ หรือแม้ใครๆ อื่นผู้มีการงาน อันหยาบช้า

              ดูกรพราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

             [๖๓๖] ดูกรพราหมณ์ (๓) ก็บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อนเป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว หรือ เป็นพราหมณ์มหาศาล

             เขาสั่งให้สร้างสันถาคารใหม่ ไว้ด้านตะวันออกแห่งนคร แล้วปลงผมและหนวด นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ เอาน้ำมันเจือเนยใสทากาย เกาหลังด้วยเขาสัตว์ เข้าไปยังสันถาคาร พร้อมด้วยมเหสี และพราหมณ์ปุโรหิต เขานอนบนพื้นดิน อันไม่มีเครื่องลาด ซึ่งไล้ทา
ด้วย ของเขียวสด พระราชาเยียวยาอัตภาพ ด้วยน้ำนมในเต้าที่หนึ่ง พระมเหสีเยียวยา อัตภาพด้วยน้ำนมในเต้าที่ ๒ พราหมณ์ปุโรหิต เยียวยาอัตภาพ ด้วยน้ำนมในเต้าที่ ๓ บูชาไฟด้วยน้ำนมในเต้าที่ ๔ ลูกโคเยียวยาอัตภาพ ด้วยน้ำนมที่เหลือ แห่งแม่โค ลูกอ่อนตัวเดียว

             เขาสั่งอย่างนี้ว่าจงฆ่าโคผู้เท่านี้ ลูกโคผู้เท่านี้ ลูกโคเมียเท่านี้ แพะเท่านี้ แกะเท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ จงตัดต้นไม้เท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่การทำ โรงบูชายัญ จงถอนหญ้าเท่านี้เพื่อลาดพื้นชนเหล่าใดเป็นทาสก็ดี เป็นคนใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชา หรือพราหมณ์มหาศาลนั้นชนเหล่านั้น ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม ร้องไห้น้ำตานองหน้า ทำการงานตามกำหนดสั่งดูกรพราหมณ์ บุคคลนี้ เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวาย ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

             [๖๓๗] ดูกรพราหมณ์ (๔) ก็บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวน ขวายในการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิทเป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน เทียว เป็นไฉน

             ดูกรพราหมณ์พระตถาคต เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ... เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.

             คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี หรือบุคคลผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้ฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วย ศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลสธุลี บรรพชา เป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัดแล้ว ไม่ใช้ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่ม ผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

             สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต.


5
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

ผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๓๘] เมื่อเขาบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขา และอาชีพเสมอ ด้วยภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอายมีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย มีตนสะอาดอยู่

             ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์พูดเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาดจาก คำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจาก ข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าว สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง

             ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้ พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกันกล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน

             ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำไม่มีโทษเพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำ เพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

             เธอเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว เว้นการ ฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาลเป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม ดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล

             เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอน บนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับ ช้าง โค ม้าและลา เว้นขาดจากการรับนาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้

             เว้นขาดจากการซื้อ และการขาย เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกง ด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ ตีชิง การปล้น และกรรโชก.

             เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่อง บริหาร ท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือเอาไปได้เอง. เปรียบเหมือนนก จะบินไปทาง ทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉะนั้น.

             เธอประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่มีโทษ เฉพาะตน.

             เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง ด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์.

             เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นของพระอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ เฉพาะตน. เธอเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความ รู้สึกตัว ในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในเหยียดออก ย่อมทำ ความรู้สึก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉันในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความ รู้สึกตัว ในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง.

             [๖๓๙] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะ ด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นของพระอริยะ และด้วยสติสัมปชัญญะ อันเป็นของพระอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพ เสนาสนะ อันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ หน้า เธอละความโลภ คืออภิชฌา มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย คือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวัง ประโยชน์ เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่

             ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากความประทุษร้าย คือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจาก ถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิต ให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัย ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากวิจิกิจฉา.


6
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

ฌาน ๔
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๔๐] ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ ทุรพลเหล่านี้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่ สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.


7
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

ญาณ ๓
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๔๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมาก บ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า

             ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

             [๖๔๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เธอเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต ฯลฯ ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วย อำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายสุจริต ฯลฯ ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.

             [๖๔๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิต ไปเพื่อญาณ เป็นเหตุสิ้นอาสวะ. เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัยนี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เหล่าอาสวะ นี้เหตุเกิด อาสวะ นี้ความดับอาสวะนี้ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี

             ดูกรพราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ ขวนขวาย ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม อยู่ในปัจจุบันเทียว.


8
โฆฏมุขสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๔

การสร้างศาลาสงฆ์
(โฆฏมุขพราหมณ์ สนทนากับพระอุเทน)

             [๖๔๔] เมื่อท่านพระอุเทน กล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ ได้กล่าวกะ ท่านพระอุเทนว่า ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิต ของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านอุเทนประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของ ที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้นข้าพเจ้านี้ ขอถึงท่านอุเทนกับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรงจำ ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป

             อุ. ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่าได้ถึงอาตมาเป็นสรณะเลย เชิญท่านถึงพระผู้มี พระภาค ที่อาตมาถึงเป็นสรณะ เป็นสรณะเถิด

             โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน เดี๋ยวนี้ ท่านพระโคดมอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้นประทับอยู่ที่ไหน?

             อุ. ดูกรพราหมณ์ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว

             โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าท่านพระโคดม อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นหนทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดม พระองค์นั้น ประทับอยู่ในหนทาง ๒๐ โยชน์ ... ๓๐ โยชน์ ... ๔๐ โยชน์ ... ๕๐ โยชน์ ... แม้ ๑๐๐ โยชน์

             ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าท่านพระโคดม อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น แม้สิ้นหนทาง ๑๐๐ โยชน์ แต่ว่าท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว กับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ

              ขอท่านอุเทนทรงจำข้าพเจ้า ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป อนึ่ง มีเบี้ยเลี้ยงประจำ ที่พระเจ้าอังคราช โปรดพระราชทานแก่ข้าพเจ้าทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่ง จากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน

             [๖๔๕] อุ. ดูกรพราหมณ์ ก็พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทาน อะไรเป็น เบี้ยเลี้ยง ประจำทุกวันแก่ท่าน?

             โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานกหาปณะ ๕๐๐ เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า

             อุ. ดูกรพราหมณ์ การรับทองและเงิน ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย

             โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร ถวายท่านอุเทน

             อุ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าแลท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวายอาตมา ก็ขอให้ สร้าง โรงเลี้ยงถวาย แก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด

             โฆ. ด้วยข้อที่ท่านอุเทน ชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้ ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดี เหลือประมาณ ข้าแต่ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวาย แก่สงฆ์ในเมือง ปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ด้วย ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นด้วย

             ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ ให้จัดสร้างโรงเลี้ยง ถวายแก่สงฆ์ในเมือง ปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และส่วนอื่น โรงเลี้ยงนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่าโฆฏมุขี ฉะนี้แล

จบ โฆฏมุขสูตร ที่ ๔.

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์