เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภิกขุสูตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึง ชรามรณะว่าเป็นไฉน รู้เหตุเกิด ความดับ ข้อปฏิบัติ.. 1874
  ภิกขุสูตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึง ชรามรณะว่าเป็นไฉน เหตุเกิด ความดับ ข้อปฏิบัติ..
ย่อมรู้ทั่งถึง ชาติว่าเป็นไฉน อุปาทานเป็นไฉน ตัณหา ภพ เวทนา ..สังขารทั้งหลายเป็นไฉน

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อ ปฏิบัติให้ถึงธรรม เป็นที่ดับแห่งชรามรณะ เป็นที่ดับแห่งชาติ แห่งอุปาทาน ..แห่งสังขารทั้งหลาย

ในกาลนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึง สัทธรรมนี้บ้าง
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๔-๔๕

๘. ภิกขุสูตร (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

             [๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ
ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะ
ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ
ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ


ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ

ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย
ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร
ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร
ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งสังขาร

             [๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความ แก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตายกาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอด ทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะ ดังพรรณนามานี้ เรียกว่าชรามรณะ เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม เป็นที่ดับชรามรณะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติ เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพ เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทาน เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหา เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะ เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะ เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูป เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณ เป็นไฉน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร เป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิดเพราะอวิชชาดับ สังขาร จึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ ๑ เป็นข้อ ปฏิบัติให้ถึงธรรม เป็นที่ดับสังขาร

             [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล
ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ อย่างนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะอย่างนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรา มรณะ อย่างนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับแห่งชรามรณะอย่างนี้


ย่อมรู้ทั่วถึงชาติอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงภพอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทานอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหาอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูปอย่างนี้ ฯลฯ
ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณอย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลายอย่างนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขารอย่างนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบ ด้วยญาณ อันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา อันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุ กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตู อมตนิพพานบ้าง

จบสูตรที่ ๘

 



หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์