เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค 1858
 
สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าเฝ้าฯ

ปมาทสูตรที่ ๖
ปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗
ติสสกสูตรที่ ๘
ตุทุพรหมสูตรที่ ๙
ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๖

ปมาทสูตรที่ ๖

           [๕๘๖] สาวัตถีนิทาน ฯ
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ประทับพักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้นแล สุพรหม ปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าไปใกล้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง

           ลำดับนั้นแลเปิดได้กล่าวกะสุทธาวาสปัจเจกพรหม ว่าแน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่ กาลอันควร ที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน พระผู้มีพระภาค ทรงประทับพัก กลางวัน หลีกเร้นอยู่ ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์และเบิกบานแล้ว แต่พรหม ในพรหมโลกนั้น ย่อมอยู่ด้วยความประมาท แน่ะท่านผู้นิรทุกข์มาไปด้วยกัน เราทั้งหลาย จักเข้าไปยัง พรหมโลกนั้น ครั้นแล้ว พึงยังพรหมนั้นให้สลดใจ สุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้รับคำของ สุพรหมปัจเจกพรหมแล้ว

           ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หายไปจาก เบื้องพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาค ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น

           พรหมนั้นได้เห็นแล้วแล ซึ่งพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มาอยู่แต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะพรหมเหล่านั้นว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เชิญเถิด พวกท่านมากันแต่ที่ไหนหนอ

           พรหมเหล่านั้นกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาแต่สำนักของพระผู้มี พระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ก็ท่าน จะไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง หรือ

           [๕๘๗] เมื่อพรหมเหล่านั้น กล่าวแล้วเช่นนี้แล พรหมนั้นอดกลั้นคำนั้นไม่ได้ จึงนิรมิตตนเป็นพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้ กะสุพรหมปัจเจกพรหมว่า

           "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพเห็นปานดังนี้ของเราหรือไม่"

           สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แล ซึ่งอิทธานุภาพ เห็นปานดั่งนี้ของท่าน"

           พรหมนั้นกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เรานั้นแลเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ จักไปสู่ที่บำรุงของสมณะ หรือพราหมณ์อื่นทำไม"

           [๕๘๘] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมนิรมิตตน เป็นสองพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหมว่า"แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพ เห็นปานดังนี้ ของเราหรือไม่"

           พรหมนั้นกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่งอิทธานุภาพ เห็นปาน ดั่งนี้ ของท่าน

           สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เท่านั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มากกว่า และมีอานุภาพใหญ่กว่าท่านและเราด้วย

           "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพึงไปสู่ที่บำรุง ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า"

           [๕๘๙] ครั้งนั้นแล พรหมนั้นได้กล่าวกะสุพรหม ปัจเจกพรหมด้วยคาถาว่า
"แน่ะพรหม ครุฑ ๓๐๐ หงส์ ๔๐๐ เหยี่ยวตะไกร - ๕๐๐ และวิมานของเราผู้มีฌานนี้นั้น ย่อมรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศอุดร"

           [๕๙๐] สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "วิมานของท่านนั้น ถึงจะรุ่งโรจน์ส่อง สว่างอยู่ ในทิศอุดรก็จริง ถึงเช่นนั้นเพราะเห็นโทษในรูป [และ] เพราะเห็นรูปอันหวั่นไห วด้วยความหนาวเป็นต้นอยู่เป็นนิจ ฉะนั้นพระศาสดาผู้มีเมธาดีจึงไม่ยินดีในรูป"

           [๕๙๑] ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม ยังพรหม นั้น ให้สลดใจ แล้วหายไปในที่นั้นเอง

           ก็พรหมนั้น โดยสมัยต่อมาได้ไปสู่ที่บำรุง ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล

@๑. พยคฺฆีนิสา น่าจะแปลว่า มฤค มีรูปคล้ายพยัคฆ์ (ตามอรรถกถา) ที่อ้างถึง
@สัตว์เหล่านี้ น่าจะเป็นรูปสัตว์ประดับวิมาน หรือจะมีสัตว์เหล่านั้นห้อมล้อมเป็น
@บริวารอยู่

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๖

ปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗

           [๕๙๒] สาวัตถีนิทาน ฯ
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่แล้ว ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าไปใกล้ที่ประทับของ พระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง

           [๕๙๓] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม ปรารภพระโกกาลิกภิกษุ ได้กล่าว คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า "ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึงกำหนดวัดซึ่ง พระขีณาสพ ผู้มีคุณอันใครๆ ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุตธรรม เป็นปุถุชน วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพ ผู้มีคุณ อันใครๆ ประมาณ มิได้"
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๗

ติสสกสูตรที่ ๘

           [๕๙๔] สาวัตถีนิทาน ฯ
ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่แล้ว ครั้งนั้น แล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหม เข้าไปใกล้ที่ประทับ ของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง

           [๕๙๕] ลำดับนั้นแล สุทธาวาสปัจเจกพรหม ปรารภกตโมรกติสสกภิกษุ ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึงกำหนดวัด ซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณ อันใครๆ ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุตธรรม เป็นคนไม่มีปัญญา วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพ ผู้มีคุณอันใครๆ ประมาณมิได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๖ - ๒๐๙

ตุทุพรหมสูตรที่ ๙

           [๕๙๖] สาวัตถีนิทาน ฯ
ก็โดยสมัยนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุ เป็นผู้อาพาธ ถึงความลำบากเป็นไข้หนัก

           ครั้งนั้นแล ตุทุปัจเจกพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาพระโกกาลิกภิกษุ จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ยืน ในเวหาส กล่าวคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า "ข้าแต่ท่านโกกาลิก ท่านจงทำจิต ให้เลื่อมใส ในพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก"

           พระโกกาลิกภิกษุถามว่า "ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร"

           ตุทุปัจเจกพรหมตอบว่า "เราคือตุทุปัจเจกพรหม"

           พระโกกาลิกภิกษุกล่าวว่า "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท่านแล้ว ว่าเป็นพระอนาคามี มิใช่หรือ ไฉนเล่า ท่านจึงยังมาเที่ยวอยู่ในที่นี้ จงเห็นเถิดว่า ก็นี่เป็นความผิดของท่านเพียงไร"

           [๕๙๗] ตุทุปัจเจกพรหมได้กล่าวว่า ชนพาลเมื่อกล่าวคำเป็น ทุพภาษิต ชื่อว่าย่อมตัดตนด้วย ศัสตราใด ก็ศัสตรานั้นย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว

           ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสม โทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ ประสบความสุข

           ความปราชัยด้วยทรัพย์ ในเพราะการพนันทั้งหลาย พร้อม ด้วยสิ่งของของตน ทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็นโทษ เพียงเล็กน้อย

           บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้าย ในท่านผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย ความ ประทุษร้าย แห่งใจของบุคคลนั้นเป็นโทษใหญ่กว่า

           บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีปริมาณแห่งอายุถึงแสนสามสิบหก นิรัพพุท กัปห้าอัพพุท ๑-
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๙ - ๒๑๓

ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐

           [๕๙๘] สาวัตถีนิทาน ฯ
ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

           พระโกกาลิกภิกษุนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีความปรารถนา ลามกไปแล้ว สู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก"

           [๕๙๙] เมื่อพระโกกาลิกภิกษุ กล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส คำนี้ กะพระโกกาลิกภิกษุว่า "โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธอ อย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุ ชื่อว่าสารีบุตร และโมคคัลลานะ ภิกษุชื่อว่าสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก"

           แม้ครั้งที่สองแล พระโกกาลิกภิกษุ ก็ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า บุคคลผู้มีวาจา ควรเชื่อได้ควรไว้ใจได้ของข้าพระองค์จะมีอยู่ก็จริง ถึงเช่นนั้นแล พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาลามก ไปแล้ว สู่อำนาจ แห่งความปรารถนาลามก"

           แม้ครั้งที่สองแล พระผู้มีพระภาค ก็ได้ตรัสคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า @๑. อัพพุท เป็นสังขยา ซึ่งมีจำนวนสูญ ๖๑ สูญ "โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสใน ภิกษุชื่อว่าสารีบุตร และ โมคคัลลานะ ภิกษุชื่อว่าสารีบุตร และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก"

           แม้ครั้งที่สามแล พระโกกาลิกภิกษุ ก็ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า "ฯลฯ ไปแล้ว สู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก"

แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาค ก็ตรัสคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า "ฯลฯ ภิกษุชื่อว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก"

           [๖๐๐] ลำดับนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุ ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว

           ก็เมื่อพระโกกาลิกภิกษุ หลีกไปแล้วไม่นาน ต่อมทั้งหลายขนาดเมล็ดพรรณ ผักกาด ได้ผุดขึ้นทั่วกายของเธอ ต่อมเหล่านั้นได้โตขึ้น เป็นขนาดถั่วเขียวแล้ว ก็โตขึ้นเป็นขนาดถั่วดำ แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดเมล็ดพุดซา แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาด ลูกพุดซา แล้วก็โตขึ้น เป็นขนาดผลมะขามป้อม แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาด ผลมะตูมอ่อน แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะตูม ต่อจากนั้นก็แตกทั่ว แล้วหนองและเลือดหลั่งไหล ออกแล้ว

           ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุ ได้กระทำกาละแล้ว เพราะอาพาธอันนั้นเอง ครั้นกระทำ กาละแล้ว ก็เข้าถึงปทุมนรก ๑- เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ

           [๖๐๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงแล้ว มีรัศมีงาม ยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่-*ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

           ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลคำนี้กะ พระผู้มีพระภาคว่า @๑. ปทุมนรก เป็นส่วนหนึ่ง แห่งมหานรกอเวจี ผู้ที่เกิดในมหา นรกอเวจี @ส่วนนี้จะต้องหมกไหม้อยู่สิ้นกาลปทุมหนึ่ง ปทุมนั้น เป็นสังขยา ซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ @สูญพระเจ้าข้า พระโกกาลิกภิกษุ ได้กระทำกาละแล้ว และเข้าถึงแล้วซึ่งปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

           ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้วถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นแล

           [๖๐๒] ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีล่วงปฐมยามไปแล้วมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้วไหว้เราแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคำนี้กะเราว่าพระเจ้าข้า พระโกกาลิกภิกษุ ได้กระทำกาละแล้ว และเข้าถึงแล้ว ซึ่งปทุมนรก เพราะจิตอาฆาต ในพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหม ได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้วไหว้เรากระทำ ประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง

           [๖๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลคำนี้กะ พระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า ประมาณแห่งอายุในปทุมนรก นานเท่าไรหนอ"

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรภิกษุ ประมาณแห่งอายุในปทุมนรกนานแล อันใครๆ ไม่กระทำได้โดยง่าย เพื่ออันนับว่าเท่านี้ปี หรือว่าเท่านี้ร้อยปี หรือว่าเท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี"

           ภิกษุนั้นทูลถามว่า พระเจ้าข้า พระองค์อาจที่จะทรงกระทำอุปมาได้หรือ ฯ

           [๖๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรภิกษุ เราอาจอยู่" แล้วตรัสว่าดูกรภิกษุ เปรียบเหมือน เกวียนบรรทุกงา แห่งชาวโกศล ซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารี ๑-บุรุษพึง เก็บงา ขึ้นจากเกวียนนั้น โดยล่วงร้อยปีๆ ต่อเมล็ดหนึ่งๆ

@๑. ๒๐ ขารีเท่า ๑ เกวียน คือ ๔ แล่งโดยแล่งที่เป็นของชาวมคธ เป็นหนึ่งแล่งใน
@แคว้นโกศล ๔ แล่งโดยแล่งนั้นเป็นหนึ่งอาฬหก ๔ อาฬหกเป็นหนึ่งทะนาน ๔ ทะนาน
@เป็นหนึ่งมาฌิกา ๔ มานิกาเป็นหนึ่งขารี ๒๐ ขารีเป็นหนึ่งเกวียน

           "ดูกรภิกษุ เกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศล ซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารีนั้น พึงถึง ความ สิ้นไปหมดไป เพราะความเพียรนี้เร็วกว่า ส่วนอัพพุทนรกหนึ่ง ยังไม่ถึงความสิ้น หมดไปเลย"

           "ดูกรภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรก เป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรกเป็นหนึ่ง อพพนรก ๒๐ อพพนรกเป็นหนึ่งอฏฏนรก ดูกรภิกษุ ๒๐ อฏฏนรกเป็นหนึ่งอหหนรก ๒๐ อหหนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรกเป็นหนึ่งโสคันธิกนรก ดูกรภิกษุ ๒๐ โสคันธิกนรก เป็นหนึ่งอุปปลกนรก ๒๐ อุปปลกนรกเป็นหนึ่งปุณฑริกนรก ๒๐ ปุณฑริกนรกเป็นหนึ่งปทุมนรก

            ดูกรภิกษุ ก็ภิกษุโกกาลิก เข้าถึงปทุมนรกแล้วแล เพราะจิตอาฆาตในภิกษุ ชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ"

           [๖๐๕] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ชนพาลเมื่อกล่าวคำเป็นทุพภาษิต ชื่อว่าย่อมตัดตน ด้วยศัสตรา ใดก็ศัสตรานั้นย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว

           ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสม โทษ ด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ ประสบความสุข ฯ

           ความปราชัยด้วยทรัพย์ ในเพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมด้วย สิ่งของๆ ตน ทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็นโทษเพียง เล็กน้อยๆ

           บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้าย ในท่านผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย ความ ประทุษร้าย แห่ง ใจของบุคคลนั้นเป็นโทษใหญ่กว่า

           บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีปริมาณ แห่งอายุถึงแสนสามสิบหกนิรัพ- พุท กับห้าอัพพุทะ

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์