เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ว่าด้วยอภิสัญญานิโรธ เหตุเกิดและเหตุดับสัญญา 1826
 
อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน?

พวกสมณพราหมณ์ต่างลัทธิ มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่อง ความดับของสัญญา (อภิสัญญานิโรธ)

1.บางพวกกล่าวว่า สัญญาของบุรุษไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเอง ดับไปเอง สมัยใดสัญญาเกิดขึ้น สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่ามีสัญญาสมัยใดสัญญาดับไป สมัยนั้นสัตว์ ก็ชื่อว่าไม่มีสัญญา

2.บางพวกกล่าวว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ และอัตตานั้นเข้ามาก็มี ไปปราศก็มี สมัยใด อัตตาเข้ามา สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่ามีสัญญา สมัยใดอัตตาไปปราศ สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่า ไม่มีสัญญา

3.บางพวกกล่าวว่า (สัญญาเกิดเพราะพราหมณ์บันดาล) เพราะว่าสมณพราหมณ์ ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีอยู่ ท่านเหล่านั้นบันดาลให้มีก็ได้ บันดาลให้พรากก็ได้ สมัยใด ...

4.บางพวกกล่าวว่า (สัญญาเกิดเพราะเทวดาบันดาล) เทวดาที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นบันดาลให้มีก็ได้ บันดาลให้พรากก็ได้ซึ่งสัญญาของบุรุษนี้ สมัยใด ...

เหตุเกิดและเหตุดับสัญญา
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปิติ
เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

บรรลุปฐมฌาน เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ภิกษุบรรลุตติยฌาน มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ

(ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน) ซึ่งมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่ง สัญญาต่างๆ โดยประการทั้งปวงอยู่

(บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน) ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด

(บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน) ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน ที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

           
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๓

(๙. โปฏฐปาทสูตร)

ว่าด้วยอภิสัญญานิโรธ

           [๒๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชก ถึงที่อยู่แล้ว. เธอจึงกราบทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคว่า ขอเชิญเสด็จพระเจ้าข้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว นานๆพระองค์จึงจะมีโอกาสเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญประทับนั่ง นี้อาสนะเขาแต่งตั้งไว้แล้ว. พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ซึ่งเขาแต่งตั้งไว้. ฝ่ายโปฏฐปาทปริพาชก ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง ณ ที่อันสมควรข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาครับสั่งถามเธอว่า

            ดูกรโปฏฐปาทะ บัดนี้อันพวกท่านนั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ และ เรื่องอะไรเล่า ที่พวกท่านสนทนาค้างอยู่?

           [๒๗๘] เมื่อพระผู้มีพระภาครับสั่งอย่างนี้แล้ว โปฏฐปาทปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่พวกข้าพระองค์สนทนากัน บัดนี้นั้นงดไว้ก่อน เรื่องเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคจะทรงสดับต่อภายหลังก็ได้ ไม่ยากนัก

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนๆ พวกสมณพราหมณ์ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน ประชุมกันในโกตุหลศาลา ได้สนทนากันใน อภิสัญญานิโรธว่า ท่านทั้งหลาย อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน? ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น

           (1) บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า สัญญาของบุรุษไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเอง ดับไปเอง สมัยใดสัญญาเกิดขึ้น สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่ามีสัญญาสมัยใดสัญญาดับไป สมัยนั้นสัตว์ ก็ชื่อว่าไม่มีสัญญา พวกหนึ่งบัญญัติ อภิสัญญานิโรธ ไว้ด้วยประการฉะนี้

           (2) อีกพวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นหามิได้ เพราะว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ และอัตตานั้นเข้ามาก็มี ไปปราศก็มี สมัยใด อัตตาเข้ามา สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่ามีสัญญา สมัยใดอัตตาไปปราศ สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่า ไม่มีสัญญา พวกหนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธด้วยประการฉะนี้

           (3) อีกพวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นก็หามิได้ เพราะว่าสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีอยู่ ท่านเหล่านั้นบันดาลให้มีก็ได้ บันดาลให้พรากก็ได้ ซึ่งสัญญาของบุรุษนี้ สมัยใดบันดาลให้มี สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่า มีสัญญา สมัยใดบันดาลให้พราก สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่าไม่มีสัญญา พวกหนึ่งบัญญัติ อภิสัญญานิโรธไว้ ด้วยประการฉะนี้

           (4) อีกพวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นก็หามิได้ เพราะว่าเทวดาที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นบันดาลให้มีก็ได้ บันดาลให้พรากก็ได้ซึ่งสัญญาของบุรุษนี้ สมัยใดบันดาลให้มี สมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่า มีสัญญา สมัยใด บันดาลให้พรากสมัยนั้นสัตว์ก็ชื่อว่าไม่มีสัญญา พวกหนึ่งบัญญัติ อภิสัญญานิโรธ ด้วยประการฉะนี้

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีสติ ปรารภเฉพาะพระผู้มีพระภาคเกิดขึ้นว่า ท่านผู้ฉลาดในธรรมเหล่านี้ เป็นอย่างดีนั้น ต้องเป็นพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ต้องเป็นพระองค์ พระสุคตแน่แท้ พระองค์ทรงฉลาด ทรงรู้ช่ำชองในอภิสัญญานิโรธ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน?

           [๒๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรโปฏฐปาทะ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัญญาของบุรุษ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเองดับไปเอง ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกนั้นผิดแต่ต้นทีเดียว.

           เพราะเหตุไร เพราะสัญญาของบุรุษมีเหตุ มีปัจจัยเกิดขึ้นก็มี ดับไปก็มี สัญญา อย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษาก็มี สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ก็มี ก็ข้อที่จะพึงศึกษาเป็นไฉน

           ดูกรโปฏฐปาทะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้วทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ของพระองค์เองแล้ว

           ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงคฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือ ผู้เกิดเฉพาะ ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น

           ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต

           สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผม และ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังใน พระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัย ในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วย กายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะเป็นผู้สันโดษ

...........................................................................

จุลศีล

           ดูกรโปฏฐปาทะ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

           ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

           ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง ... ฯลฯ

มัชฌิมศีล

           ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม เห็นปานนี้คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิด แต่เมล็ด เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง..... ฯลฯ

มหาศีล

           ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วย ติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนย บูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ...ฯลฯ

อินทรียสังวร

           ดูกรโปฏฐปาทะ อย่างไรภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความ สำรวมใน จักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้ อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วย อินทรียสังวร อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุข อันไม่ระคนด้วยกิเลส ในภายใน ดูกรโปฏฐปาทะ ด้วยประการดังกล่าว มานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย.

สติสัมปชัญญะ

           ดูกรโปฏฐปาทะ อย่างไรภิกษ ุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ?
ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรง สังฆาฏิบาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำ ความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรโปฏฐปาทะ ด้วยประการ ดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ.

สันโดษ

           ดูกรโปฏฐปาทะ อย่างไรภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ?
ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรโปฏฐปาทะ นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่อง บริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรโปฏฐปาทะ ด้วยประการดังกล่าว มานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ...ฯลฯ

อุปมานิวรณ์ ๕

           ดูกรโปฏฐปาทะ เปรียบเหมือนบุรุษ จะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขา จะพึง สำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไร ของเขา จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เรากู้หนี้ ไปประกอบการงานบัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็น ต้นทุนเดิม ให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรา ยังมีเหลืออยู่ สำหรับเลี้ยง ภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด....ฯลฯ

เหตุเกิดและเหตุดับสัญญา

           เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น.

           เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ สัญญาเกี่ยวด้วยกาม ที่มีในก่อนของเธอ ย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมี ในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มี สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง

           [๒๘๐] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก มีในก่อนของเธอ ย่อมดับ สัจจสัญญา อันละเอียด มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มี สัจจสัญญา อันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

           [๒๘๑] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิในก่อน ของเธอ ย่อมดับไป สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุข เกิดแต่อุเบกขา ย่อมมี ในสมัยนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้มี สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุข เกิดแต่อุเบกขา ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

           [๒๘๒] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขา มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย อทุกขมสุข ย่อมมีในสมัยนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้มี สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอทุกขมสุข ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

           [๒๘๓] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่ง สัญญาต่างๆ โดยประการทั้งปวงอยู่ รูปสัญญามีในก่อนของเธอ ย่อมดับ สัจจสัญญา อันละเอียด ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มี สัจจสัญญา อันละเอียด ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

           [๒๘๔] ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วง อากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้อยู่ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน มีในก่อนของเธอ ย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มี สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นเพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

           [๒๘๕] ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการ ทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน ที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนฌาน ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มี สัจจสัญญา อันละเอียด ประกอบด้วย อากิญจัญญายตนฌาน ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

 

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์