เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ ก็อกุศลเป็นไฉน..รากเหง้าของอกุศลเป็นไฉน.. 1814
 

ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ (อกุศลกรรมบถ๑๐) ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด

รากเหง้าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ (โลภ โกรธ หลง)

กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ (กุศลกรรมบถ๑๐) เว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ

รากเหง้าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

เมื่อใดอริยสาวก
รู้ชัด ซึ่งอกุศลและรากเหง้า ของอกุศล อย่างนี้ๆ
รู้ชัด ซึ่งกุศลและรากเหง้า ของกุศล อย่างนี้ๆ
เมื่อนั้น ท่านละ ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัย ว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ (พระสุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๖๓

ว่าด้วยความเห็นชอบ (๙.สัมมาทิฏฐิสูตร)
(แสดงธรรมโดยท่านพระสารีบุตร)

           [๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วย ความเลื่อมใส อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่าน พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง ต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ถ้าอย่างนั้นจงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

           [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวก รู้ชัด ซึ่งอกุศล และ รากเหง้า อกุศล รู้ชัดซึ่งกุศล และ รากเหง้าของกุศล แม้ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็น ดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

           ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จพูด ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า อกุศลแต่ละอย่างๆ (อกุลกรรมบถ๑๐)

           รากเหง้าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่า รากเหง้าของอกุศลแต่ละอย่างๆ

           กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ (กศุลกรรมบถ๑๐)

           รากเหง้าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเหง้าของกุศลแต่ละอย่างๆ

           ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด ซึ่งอกุศลและรากเหง้า ของอกุศล อย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเหง้า ของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทา ปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ เลื่อมใส อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

           [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุแล้วได้ถามปัญหา กะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่ หรือปริยาย แม้อย่างอื่นที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป ตรงแล้ว ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์