เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

บุรุษเลวทราม บุรุษประเสริฐ (โดยพระสารีบุตร) 1813
  บุรุษเลวทราม กับ บุรุษประเสริฐ

ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส (อนังคสูตร) โดยพระสารีบุตร
๑.บางคนมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน
๒.บางคนมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน
๓.บางคนไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน
๓.บางคนไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน

อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย
ที่เป็นเครื่องทำให้บุคคลสองพวก ผู้มีกิเลสเหมือนกันนี้
คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม
คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ

ในบุคคล ๔ พวกนั้น
(๑) บางคนมีกิเลส
แต่ไม่รู้ ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน คือ
เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด
จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย
เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมองทำกาละ
(บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษประเสริฐ)

(๒) บางคนมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน คือ

เขาจักยังความพอใจให้เกิด
จักพยายาม จักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย
เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ
(บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม)

(๓) บางคน
ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน คือ
เขาจักมนสิการสุภนิมิต
เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้
เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ
(บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษประเสริฐ)

(๔) บางคน
ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน คือ
เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต
เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจึงครอบงำจิตไม่ได้
เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ
(บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒ (พระสุตตันตปิฎก)

๕. อนังคณสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส
(แสดงธรรมโดยท่านพระสารีบุตร)


           [๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

           บุคคล ๔ จำพวก

           [๕๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ พวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ พวกนั้นเป็นไฉน?

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน. อนึ่ง
บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน.
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน อนึ่ง
บุคคลในโลกนี้ ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน.

           ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลส ในภายใน บุคคลสองพวก ที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม (พวก ๑)

           ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน บุคคลสองพวกที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษประเสริฐ (พวก ๒)

           ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลส ในภายใน บุคคลสองพวก ที่ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม(พวก ๓)

            ในบุคคล ๔ พวกนั้น บุคคลใดไม่มีกิเลสรู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลส ในภายใน บุคคลสองพวกที่ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ (พวก ๔)

           [๕๕] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรพระสารีบุตรผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้บุคคลสองพวก ผู้มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ ดูกรพระสารีบุตรผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้ บุคคลสองพวกผู้ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.

           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น (๑) บุคคลใดมีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริง ว่า เรามีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลส นั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมองทำกาละ เหมือนภาชนะ สัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละออง และสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของก็ไม่ใช้และไม่ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บมันไว้ในที่ มีละออง เมื่อเป็นอย่างนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิมจับยิ่งขึ้น ฉันใด.
           ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?

           สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น ยังมีกิเลส แต่ไม่รู้ตาม เป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยัง ความพอใจให้เกิด จักไม่พยายาม จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะมีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ

           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น (๒) บุคคลใดมีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลอันพึงหวังได้ คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายามจักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ เปรียบเหมือน ภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ เจ้าของใช้ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บมันไว้ ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่นภาชนะสัมฤทธิ์ จะเป็นของหมดจดผ่องใสฉันใด.
           ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?
           สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม จักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ.

           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น (๓) บุคคลใดไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจัก มนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ. เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันหมดจดผ่องใส แต่เจ้าของไม่ได้ ใช้สอย ไม่ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมองสนิมจับ ฉันใด.
           ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?
           สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ ก็ฉันนั้น ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตได้. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มีกิเลสมีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ.

           สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ในบุคคล ๔ พวกนั้น (๔) บุคคลใดไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่าเราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจึงครอบงำจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ เปรียบเหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็นของหมดจด ผ่องใส เจ้าของใช้ ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บมันไว้ ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์นั้น ก็พึงเป็นของหมดจดผ่องใส ยิ่งขึ้น ฉันใด.
           ม. อย่างนั้นหรือ ท่านผู้มีอายุ?
           สา. อย่างนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้ก็ฉันนั้น ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีกิเลสในภายใน ข้อนี้ อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลสมีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ.

           ดูกรท่านโมคคัลลานะ นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้บุคคล สองพวก ที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ

           อนึ่ง นี้แลเป็นเหตุ นี้แลเป็นปัจจัย ที่เป็นเครื่องทำให้ บุคคลสองพวก ที่ไม่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษประเสริฐ.

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์