เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

คันธสูตร (ว่าด้วยกลิ่นหอม) กลิ่นที่ฟุ้งตามลมก็ได้ ทวนลมก็ได้ ฟุ้งไปทั้งตามลม และทวนลมก็ได้..มีอยู่ 1801
 
กลิ่นหอมชนิดที่
- ฟุ้งไปตามลมก็ได้
- ฟุ้งทวนลมไปก็ได้
- ฟุ้งไปทั้งตามลม และทวนลมก็ได้ มีอยู่..

อย่างไรเล่า

สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือนิคมใดในโลกนี้ (ปุถุชนผู้ครองเรือน)
1) ถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2) เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความตระหนี่ อันเป็นมลทิน (ถึงพร้อมด้วยศีล)
3) มีไทยธรรมเครื่องบริจาค อันปล่อยแล้ว มีมืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในทานและการแจก จ่ายทาน อยู่ครองเรือน (ถึงพร้อมด้วยการให้)
สมณพราหมณ์ทุกทิศ ย่อมกล่าวสรรเสริญ แม้เทวดาทั้งหลายก็กล่าวสรรเสริญ
(โดยย่อ เป็นผู้มีสัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา)

กลิ่นหอมนี้นั้นแล ฟุ้งไปตามลมก็ได้ ฟุ้งไปทวนลมก็ได้ ฟุ้งไปทั้ง ตามลม และทวนลมก็ได้
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๔-๒๕๖

คันธสูตร (ว่าด้วยกลิ่นหอม)
(เป็นผู้มีสัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา)

           [๕๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอม ๓ อย่างนี้ ฟุ้งไปแต่ตามลม อย่างเดียว ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้

กลิ่นหอม ๓ อย่างนั้นเป็นไฉน
คือ กลิ่นที่ราก ๑ กลิ่นที่แก่น ๑ กลิ่นที่ดอก ๑ กลิ่นหอม ๓ อย่างนี้แล ฟุ้งไปแต่ตามลม อย่างเดียว ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ พระเจ้าข้า

           กลิ่นหอมชนิดที่ ฟุ้งไปตามลมก็ได้ ฟุ้งทวนลมไปก็ได้ ฟุ้งไปทั้งตามลม และทวนลมก็ได้ ยังจะมีอยู่หรือ

           พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ กลิ่นหอมที่ฟุ้งไปตามลมก็ได้ ฟุ้งไป ทวนลม ก็ได้ ฟุ้งทั้งไปตามลมและทวนลมก็ได้ มีอยู่

           อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ฟุ้งไปตามลมก็ได้ ฟุ้งไปทวนลมก็ได้ ฟุ้งไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ เป็นไฉน

           พ. ดูกรอานนท์ สตรีหรือบุรุษในบ้าน(ปุถุชน) หรือนิคมใดในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความประมาท เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีไทยธรรมเครื่องบริจาค อันปล่อยแล้ว มีมืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการแจก จ่ายทาน อยู่ครองเรือน

สมณพราหมณ์ทุกทิศ ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณของเขา
ว่าสตรีหรือบุรุษในบ้าน หรือ นิคมแห่งโน้น ถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก การประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและ เมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นคน มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจาก ความตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีไทยธรรมเครื่อง บริจาค อันปล่อยแล้ว มีมืออันชุ่ม ยินดี ในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทาน และการแจกจ่ายทาน อยู่ครองเรือน

แม้เทวดาทั้งหลาย ก็กล่าวสรรเสริญคุณของเขา
ว่า สตรีหรือบุรุษในบ้าน หรือนิคมแห่งโน้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการ แจกจ่ายทาน อยู่ครองเรือน

           ดูกรอานนท์ กลิ่นหอมนี้นั้นแล ฟุ้งไปตามลมก็ได้ ฟุ้งไปทวนลมก็ได้ ฟุ้งไปทั้ง ตามลม และทวนลมก็ได้

           กลิ่นดอกไม้ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นกระลำพัก ก็ฟุ้งทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัตบุรุษ ฟุ้งทวนลมไปได้ เพราะสัตบุรุษฟุ้งไปทุกทิศ

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์