(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๖๐ /เทวธาวิตักกสูตร ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน P1308) หนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า 71-75 1) ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้ (อกุศลวิตก-กุศลวิตก) (อกุศลวิตก ๓ : กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก) ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว กามวิตก นั้น ย่อมเป็นไป เพื่อ (คิดอกุศล -คิดเรื่องกาม) - เบียดเบียนตนบ้าง - เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง - เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและ ผู้อื่น) บ้าง - เป็นไปเพื่อความดับแห่งป๎ญญา - เป็นฝักฝัายแห่งความคับแค้น - (แต่)ไม่เป็นไป พร้อมเพื่อนิพพาน ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่.... ฯลฯ....อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอัน ตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุ ท.! เราได้ละและ บรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทําให้สิ้นสุดได้แล้ว ----------------------------------------------------------------------------------- ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ พยาปาทวิตก เกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว พยาปาทวิตก นั้น ย่อมเป็นไป เพื่อ (คิดอกุศล -คิดพยาบาท) - เบียดเบียนตนบ้าง - เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง - เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง - เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา - เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น - (แต่) ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่...ฯลฯ... อย่างนี้ พยาปาทวิตก ย่อมถึงซึ่ง อันตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุ ท.! เราได้ละ และบรรเทา พยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและ บังเกิด แล้วกระทําให้สิ้นสุดได้แล้ว ----------------------------------------------------------------------------------- ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ วิหิงสาวิตก เกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว วิหิงสาวิตก นั้น ย่อมเป็นไป เพื่อ (คิดอกุศล- คิดเบียดเบียน) - เบียด เบียนตนบ้าง - เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง - เบียดเบียนทั้งสอง ฝ่ายบ้าง - เป็นไปเพื่อ ความดับแห่ง ปัญญา - เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น - (แต่) ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ....อย่างนี้ วิหิงสาวิตกย่อมถึง ซึ่งอัน ตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว และบังเกิดแล้ว กระทําให้สิ้นสุดได้แล้ว ----------------------------------------------------------------------------------- 2) (ใช้ความคิดที่เป็นกุศลเข้าไปแก้คือ เนกขัมมวิตก-อัพยาปาทวิตก-อวิหิงสาวิตก) ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดย อาการ อย่างนั้นๆ ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง กามวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละ เนกขัมมวิตก (ไม่คิดในกาม) เสีย กระทําแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก จิตของเธอนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในกาม. ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึง พยาปทวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละ อัพยาปาทวิตก (ไม่พยาบาท) เสีย กระทําแล้วอย่างมากซึ่งพยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อม น้อมไปเพื่อความตรึก ในการ พยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง วิหิงสาวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละ อวิหิงสาวิตก (ไม่คิดเบียดเบียน) เสีย กระทําแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก จิตของ เธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อ ความตรึก ในการ ทําสัตว์ให้ลําบาก ----------------------------------------------------------------------------------- 3) (อุปมาเหมือนต้อนโคในที่แคบที่เต็มไปด้วยข้าวกล้าจึงต้องคอยตีคอยไล่โค) ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน คน เลี้ยงโค ต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกัน ฝูงโคจาก ข้าวกล้านั้น ด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษ คือการถูกประหาร การถูก จับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ ฉันใด ภิกษุ ท.! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษ ความเลวทรามเศร้าหมอง แห่ง อกุศล ธรรมทั้งหลายเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝ๎กฝุายของความผ่อง แผ้ว แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็น ผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ - เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดขึ้น - อัพยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น - อวิหิงสาวิตกย่อม เกิดขึ้น เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็น ไป เพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย แต่เป็นไปพร้อม เพื่อความ เจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อ นิพพาน. แม้เราจะ ตรึกตาม ตรองตาม ถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่ เห็นภัย ที่จะเกิดขึ้น เพราะ อวิหิงสาวิตกนั้น เป็นเหตุ แม้เราจะตรึกตามตรองตาม ถึง อวิหิงสาวิตก นั้นตลอดวัน หรือ ตลอดทั้ง กลางคืน กลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอัน จะเกิดขึ้นเพราะ อวิหิงสาวิตก นั้นเป็นเหตุ ภิกษุ ท.! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กาย จะเมื่อยล้า เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ เราจึงได้ดํารงจิตให้ หยุดอยู่ในภายใน กระทําให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่น ไว้ ด้วย หวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้. ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดย อาการ อย่างนั้น ๆ ----------------------------------------------------------------------------------- 4) (ทางแก้เพื่อละ อกุศล วิตก ๓) ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละ กามวิตกเสีย กระทําแล้วอย่างมากซึ่ง เนกขัมมวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการ ออกจากกาม (ไม่คิดเรื่องกาม) ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพยาปาทวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละ พยาปาทวิตก เสีย กระทําแล้วอย่างมากในอัพยาปาทวิตก จิตของเธอนั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความตรึก ในการไม่พยาบาท ถ้าภิกษุตรึกตามตรอง ตามถึงอวิหิงสาวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละวิหิง สาวิตก เสีย กระทําแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อ ความตรึกในการ ไม่ยังสัตว์ให้ลําบาก ----------------------------------------------------------------------------------- 5) (ทรงอุปมาเหมือนขนข้าวกล้าเข้าบ้านเสร็จแล้ว จึงไม่ถูกโครบกวน) ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมดเขาขน นําไปในบ้านเสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไป กลางทุ่งแจ้งๆ พึงทําแต่ความกําหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด ภิกษุ ท.! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทําความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุ ท.! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดํารง ไว้แล้ว ไม่ฟันเฟือนกายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียว แล้ว ภิกษุ ท.! เรานั้น เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ เข้าถึง ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่