เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กัตถีสูตร (การโอ้อวดคุณวิเศษในสมาธิ ภิกษสามารถกระทำได้) 1692
  (ย่อ)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวด ในการ บรรลุคุณวิเศษ (อวดได้)
เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าตติยฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าอากาสานัญจายตน (สมาธิ) ก็ได้ ออกก็ได้
เข้าวิญญานัญจายตนก็ได้ ออกก็ได้
เข้าอากิญจัญญายตนก็ได้ ออกก็ได้
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนก็ได้ ออกก็ได้
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้
------------------------------------------------------------------
ความเสื่อมในธรรมวินัยของภิกษุที่ตถาคตประกาศไว้ดีแล้ว
(๑) เป็นผู้กระทำศีลให้ขาด กระทำให้พร้อย ไม่กระทำความเพียรติดต่อ
(๒) เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ประพฤติไม่สมควร นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๓) เป็นผู้มีการสดับน้อย นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๔) ก็ความเป็นผู้ว่ายาก นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๕) ก็ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๖) ก็ความเป็นผู้เกียจคร้าน นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๗) ก็ความเป็นผู้มีสติหลงลืม นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๘) ก็ความเป็นผู้หลอกลวง นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๙) ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยาก นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
(๑๐) ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทราม นี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๘

กัตถีสูตร (การโอ้อวดคุณวิเศษ การไม่ประพฤติในธรรมวินัยของภิกษุ)

            [๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะ อยู่ที่สหชาติวัน ในแคว้นเจตีณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคำ ท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวคำนี้ว่า

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวด ในการ บรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าตติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌาน (สมาธิ) ก็ได้ ออกก็ได้ เข้าวิญญานัญจายตนก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนก็ได้ออกก็ได้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตน ก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้
(สมาธิระดับ อากาสาขึ้นไป ในบาลีจะไม่เรียกฌาน เพราะฌานหมายการการเพ่งในสมาธิ ระดับรูปสัญญา หรือฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ เท่านั้น ดูภาพประกอบ)

            พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่นฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียง สอบถาม ซักถาม ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นอันพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน.. ไล่เลียงสอบถาม ซักถาม ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่าไม่มีคุณ ไม่เจริญ ถึงความพินาศถึง ความไม่เจริญ และความพินาศ

            พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาด ในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นกำหนดใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ ในใจ ซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอท่านผู้นี้จึงเป็นผู้มีปกติ กล่าวโอ้อวด ในการ บรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เราเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ได้ ออกก็ได้

            พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... กำหนดใจด้วยใจอย่างนี้ แล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า

(๑) ท่านผู้นี้เป็นผู้กระทำศีลให้ขาด กระทำศีลให้ทะลุกระทำ ศีล ให้ด่างกระทำศีล ให้พร้อย ไม่กระทำความเพียรติดต่อ ไม่ประพฤติติดต่อในศีล ทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ ทุศีลตลอดกาลนาน ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมใน ธรรมวินัย ที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว

(๒) ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความประพฤติ ไม่สมควร ก็ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง ประกาศแล้ว

(๓) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีการสดับน้อย มีความประพฤติไม่สมควร ก็ความเป็นผู้ มีการ สดับน้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านผู้นี้เป็น ผู้ว่ายาก มีความประพฤติไม่สมควร

(๔) ก็ความเป็นผู้ว่ายากนี้แลเป็นความ เสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศ แล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมิตรชั่วก็

(๕)ความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง ประกาศ แล้ว ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน

(๖) ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อมใน ธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง ประกาศแล้ว

(๗) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติหลงลืม ก็ความเป็นผู้มีสติ หลงลืมนี้แล เป็นความเสื่อมในธรรม วินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว

(๘) ท่านผู้นี้เป็นผู้ หลอกลวง ก็ความเป็นผู้หลอกลวงนี้แลเป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรง ประกาศแล้ว

(๙) ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อม ในธรรม วินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว

(๑๐) ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาทราม ก็ความเป็นผู้ มีปัญญา ทรามนี้แล เป็นความเสื่อม ในธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหาย พึงกล่าวกะสหายอย่างนี้ว่า ดูกรสหายเมื่อใด กิจที่ควรกระทำด้วยทรัพย์มีอยู่แก่ท่าน ท่านพึงบอกเราให้ทราบ เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านสหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อมีกิจที่ควรกระทำ ด้วยทรัพย์บางอย่าง เกิดขึ้นแล้ว จึงบอกกับสหายอย่างนี้ว่า

            ดูกรสหาย เราต้องการทรัพย์ ขอท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา สหายนั้นก็ตอบ อย่างนี้ว่าดูกรสหาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปในที่นั้น ไม่พึงพบทรัพย์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า

            ดูกรสหาย ท่านได้พูดพล่อยๆ กะเรา ได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า ท่านจงขุดลงไป ในที่นี้ สหายนั้นจึงพูดอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราหาได้พูดพล่อยๆไม่ หาได้กล่าว คำเท็จไม่ ท่านจงขุดลงไปในที่นี้เถิด สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปแม้ในที่นั้น ก็ยังไม่พบทรัพย์ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านได้พูดพล่อยๆ กะเราได้กล่าวคำเท็จกะเราว่า จงขุดลงไปในที่นี้

            สหายนั้นตอบอย่างนี้ว่า เราหาได้พูดพล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ ถ้าเช่นนั้นท่านจงขุดลงไปในที่นี้ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อขุดลงไปแม้ในที่นั้น ก็ไม่พบทรัพย์ จึงพูดอย่างนี้ว่า ดูกรสหายท่านพูดพล่อยๆ แก่เรา ท่านได้กล่าวคำเท็จ กะเราว่า จงขุดลงไปในที่นี้ สหายนั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ดูกรสหาย เราหาได้พูดพล่อยๆ ไม่ หาได้กล่าวคำเท็จไม่ แต่ว่าเราถึงความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านไป ซึ่งมิใช่กำหนดรู้ด้วยใจ แม้ฉันใด

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปกติกล่าวโอ้อวด ในคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ... เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็ได้ ออกก็ได้พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาด ในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมไล่เลียงสอบถาม ซักถามภิกษุ นั้น

            ภิกษุนั้นอันพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ... ไล่เลียง สอบถาม ซักถามอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้เปล่า ไม่มีคุณ ไม่เจริญ พินาศ ความไม่เจริญ และ ความพินาศ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาดในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในอันกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว กระทำไว้ในใจซึ่งภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้มีปกติกล่าว โอ้อวด ในการบรรลุคุณวิเศษทั้งหลายว่า เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้

            พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ผู้ฉลาดในสมาบัติ ผู้ฉลาด ในจิตของผู้อื่น ผู้ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำให้ขาดทำให้ทะลุ ทำให้ด่าง ทำให้พร้อย ไม่กระทำ ความเพียรติดต่อ ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีล ตลอดกาลนาน ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แลเป็นความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ... ท่านผู้นี้ เป็นผู้มีปัญญทราม ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แลเป็น ความเสื่อมในธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลไม่ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จักถึง ความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

คลิก เพื่อขยาย





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์