เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

มนสิการสูตร (กระทำไว้ในใจ) ฉบับหลวง และ ฉบับมหาจุฬา 1693
  (ย่อ)
มนสิการสูตร (กระทำไว้ในใจ) ฉบับหลวง และ ฉบับมหาจุฬา

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยไม่ต้องมนสิการ
  - ตา- รูป หู- เสียง จมูก- กลิ่น ลิ้น- รส กาย- โผฏฐัพพะ
  - ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
  - อากาสานัญจายตน  วิญญาณัญจายตน อากิญจัญญายตน  เนวสัญญานาสัญญายตน
  - โลกนี้ โลกหน้า
  - ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง
     ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ ..."

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

(ฉบับหลวง)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๙๗

มนสิการสูตร

          [๒๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตน
ไม่พึงกระทำ จักษุ ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ รูป ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ เสียง ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ หู ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ จมูก ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ กลิ่น ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ ลิ้น ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ รส ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ กาย ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ โผฏฐัพพะ ไว้ในใจ

ไม่พึงกระทำ ปฐวีธาตุ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ อาโปธาตุ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ เตโชธาตุ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ วาโยธาตุ ไว้ในใจ

ไม่พึงกระทำ อากาสานัญจายตนะ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ วิญญาณัญจายตนะ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ อากิญจัญญายตนะ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไว้ในใจ

ไม่พึงกระทำ โลกนี้ ไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำ โลกหน้า ไว้ในใจ

ไม่พึงกระทำ รูป ที่ได้เห็น
เสียง ที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ

          พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ... ไม่พึงกระทำ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยินอารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ

          อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ ที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยินอารมณ์ ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจไว้ในใจ ก็แต่ว่า พึงทำไว้ในใจ

          พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่น สงบธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหาความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

          ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล


(ฉบับมหาจุฬา)
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๐๑

๘. มนสิการสูตร
ว่าด้วยมนสิการ

          {๒๑๕} [๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยไม่ต้องมนสิการ

ตา- รูป หู- เสียง จมูก- กลิ่น ลิ้น- รส กาย- โผฏฐัพพะ

ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม

อากาสานัญจายตนฌาน (บาลีไม่มีคำว่า ฌาน)
วิญญาณัญจายตน
อากิญจัญญายตน
เนวสัญญานาสัญญายตน

โลกนี้ โลกหน้า

ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”

          พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยไม่ต้อง มนสิการตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาสานัญจายตน วิญญาณัญจายตน อากิญจัญญายตน เนวสัญญานาสัญญายตน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียง ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์